จากกระทู้ของวีวี่ http://www.pantip.com/cafe/chalermthai/topic/A4639816/A4639816.html
เรื่องการแปล ถึงกับทำให้นักอ่านหลายคนออกมาประนาม SIC กันเป็นการใหญ่ ถึงขนาดว่า กลายเป็นสนพ.ที่ไม่พร้อมจะทำการ์ตูน หรือใช้ซอฟแวร์แปลนั่นเลยทีเดียว มันให้เรานึกสะท้อนใจนะ ว่า ทำไม SIC ถึงกลายเป็นแบบนี้ไปได้ ทั้งๆที่สมัยก่อนลิขสิทธิ์ จนกระทั่งถึงยุคลิขสิทธิ์แรกๆนั้น SIC เป็นสนพ.ที่แปลการ์ตูนผู้หญิงได้ดีที่สุดในวงการเลยทีเดียว (ในความเห็นของเรา)
สงสัยจริงๆค่ะว่า นักแปลมือฉมัง อย่าง พี่เหมียว พี่วรรณ คุณอนุสรณ์ พี่แมว พี่ลูกชิ้น ฯลฯ เค้าไปอยู่ที่ไหนกันหมดแล้วน้อ
เลยขอตั้งกระทู้นี้ขึ้นมาด้วยความคิดถึง ถ้ามีใครทราบข้อมูลเพิ่มเติม เล่าสู่กันฟังบ้างก็ดีนะคะ
ขอท้าวความกันนิดก่อน
จริงๆ สยามอินเตอร์คอมิกส์เป็นสนพ.ที่เก๋ามากๆในวงการ และน่าจะเป็นสนพ.ที่เปลี่ยนชื่อบ่อยที่สุดในวงการด้วย แรกสุดนั้นใช้ชื่อว่า สยามสปอร์ตพับลิชชิ่ง แต่บางเล่มก็ใช้ "สยามตูนส์" บนหัวหนังสือแทน เน้นทำหนังสือการ์ตูนผู้หญิงเป็นหลัก เป็นเจ้าการ์ตูนโชโจในสมัยนั้น คู่คี่มากับ สนพ.ยอดธิดา โดยมีมิตรไมตรีแจมบ้างนิดหน่อย ยุคที่รุ่งเรืองสุดขีดนั่น สยามฯมีนิตยสารการ์ตูนรายสัปดาห์อย่าง "แกรนด์แม็กกาซีน" ที่กลายมาเป็น "เลมอน" เป็นลงสมรภูมิฟาดฟันกับ กิฟท์แม็กกาซีนของวิบูลย์กิจ (เหมือน เดอะทาเลนท์ แข่งกับ zero สมัยนั้น) และมี "หวาน" ออกมาชนกับ เฟรนด์ และนอนโน
พอหนังสือการ์ตูนราคาจะเขยิบขึ้นจากหลักหน่วยมาเป็นหลักสิบ ก็เปลี่ยนชื่อเป็น สยามสปอร์ต พริ้นติ้ง ปรับปรุงโฉมหนังสือใหม่ ช่วงนี้เริ่มมี หมึกจีน ขึ้นมาเป็นคู่แข่งสำคัญในวงการโชโจ เป็นสยามสปอร์ตพริ้นติ้งอยู่ได้นานพอสมควร จึงเปลี่ยนชื่อเป็น สยามอินเตอร์คอมิกส์ หรือ SIC อย่างที่เรารู้จักในปัจจุบัน
จะเห็นเลยว่า ไม่ใช่สนพ.ที่จู่ๆก็โผล่มาจับงานการ์ตูน แต่ตรงกันข้าม เป็นสนพ.ที่ผ่านประสบการณ์มาอย่างโชกโชนเลยทีเดียว
แก้ไขเมื่อ 24 ส.ค. 49 13:37:56