Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com | Torakhong.org | GameRoom


    "ตะบองพลำ" ตะขาบยักษ์ ในตำนานที่มีอยู่จริง ?

    ตะบองพลำใหญ่ยง อยู่ในป่าดงตัวดุจตะขาบไฟแดง มีฤทธิ์มีพิษเรียวแรง
    พบช้างกลางแปลง เข้าปล้ำเข้ารัดกัดกิน..............

            ไม่ทราบว่ามีใครยังจำโคลงบทนี้ได้บ้าง เป็นโคลงฉันท์กาพกลอนที่เราๆท่านๆ
    ร่ำเรียนกันมาตั้งแต่เล็กแต่น้อย ชื่อของมันก็คือ "สัตวาภิธาน"สัตว์พหุบาทา(สัตว์มีเท้ามาก)
    ซึ่งแต่งขึ้นโดยพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ท่านเป็นพระอาจารย์
    ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โดยท่านมีมีชีวิตอยู่ระหว่างปี
    พ.ศ. 2346-2434 (ก่อนเพชรพระอุมาจะถือกำเนิดนานมาก)

      เป็นโคลงสี่สุภาพที่เอาไว้สอนวิทยาศาสตร์(ชีววิทยา)ในยุคแรกๆเลยก็ว่าได้
    โดยมีการแบ่งจำแนก สัตว์ที่มีขามากกว่าสี่ขาเอาไว้อย่างเป็นระบบระเบียบมากมาย
    แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ไอ้ตัวที่ปรากฏอยู่ในโคลงบทนี้ เราส่วนมากก็รู้จักกันดีอยู่แล้ว จะมีก็แต่เพียง
    เจ้า"ตะบองพลำ"ที่ผมจ่าหัวไว้เท่านั้นกระมัง ที่ปัจจุบันหาคนรู้จักได้น้อยเต็มที่(ผมก็ไม่รู้)

            กระผมขอสารภาพตามตรงว่าครั้งแรกที่ได้อ่านไม่เคยได้คิดสะกิดใจกับคำว่า
    "ตะบองพลำ"(อ่านว่า ตะ-บอง-พะ-ลำ)แม้แต่น้อย ทั้งๆที่ในเนื้อความมันก็ช่างน่าสนใจอยู่มากโข

    "ตะบองพลำใหญ่ยงอยู่ในป่า พบช้างกลางแปลง เข้าปล้ำรัดกัดกิน" เข้าปล้ำรัดกัดกินช้างเนี่ยนะ ?
    ช้างตัวนึงสูงจากพื้นขึ้นไปอย่างต่ำก็ร่วมสามเมตรแล้ว น้ำหนักเป็นตันๆ แล้วไอ้ตัวที่มันปล้ำรัดกินกิน
    สัตว์ยักษ์อย่างช้างได้เนี่ย มันจะต้องตัวโตขนาดไหน ถ้ากะคร่าว(อย่างผู้ไม่ใคร่มีความรู้อย่างกระผม)
    อย่างต่ำก็ต้องตัวยาวร่วมสิบเมตรขึ้นไปโน่นแหละ ถึงจะเอาเจ้าสัตว์บกที่ใหญ่ที่สุดในโลกอยู่

    หูย...............  ตัวบะเริ่มเทิ่มเลยเนอะ !!

    "ตะบองพลำ"เป็นตะขาบป่าชนิดหนึ่ง  มีขนาดค่อนข้างใหญ่มาก (โดยทั่วไปที่พบเห็นยาวประมาณ ๑ ฟุต
    คงประมาณไอ้ตัวที่ไปกัดตาไชยยันต์เข้านั่นแหละ) ตัวของมันจะมีสีออกแดง ค่อนไปทางแดงเพลิง
    ผิดกว่าตะขาบทั่ว ๆ ไป(คงคล้ายๆตะขาบไฟกระมัง)  แล้วก็มีพิษร้ายแรงมาก  ขนาดที่สามารถกัดช้างล้มได้  
    โดยส่วนตัวของผมเองไม่เคยเห็นแม้กระทั่งรูปของมัน แต่แรกเข้าใจว่าคงสูญพันธุ์สิ้นไปแล้ว
    แต่ที่ไหนได้ กลับมีรายงานการพบเห็นเจ้าร้อยขาเหล่านี้อยู่อย่างสม่ำเสมอ แม้จะเป็นเพียงขนาดเล็ก
    (ราวๆ1ฟุต เล็กที่ไหน(ว่ะ))เท่านั้น แต่มันก็ยังคงอยู่ มิได้สูญพันธุ์ไป

       เคยอ่านเจอเรื่องเล่าของนักเดินป่าบางคนได้ไปเจอ "ปล้อง"ของมันแขวนอยู่ในหมู่บ้านแถวๆภาคใต้
    ว่ากันกัน ปล้องนั้นใหญ่เท่ากระด้งฝัดข้าวเลยทีเดียว ชาวเขาเล่าว่า แค่แขวนปล้องของมันไว้หน้าบ้านเท่านั้น
    เสือก็เสือเหอะ ยังไม่กล้าย่างกรายเข้ามาแหยมเลย    นั่นแค่ปล้องเดียวนะ

    1ปล้องใหญ่เท่ากับ 1 กระด้ง

    1กระด้ง มีเส้นผ่าสูญกลางประมาณ  2ฟุต

    ตะขาบหนึ่งตัว มีปล้องราวๆ 30 - 40 ปล้อง (อันนี้ผมกะเองคร่าวๆ ถูกผิดยังไงไม่รุ ไม่รับผิดชอบ)

    30 คุณ 2 = 60 ฟุต

    60 = 18.28800 เมตร


    อุแม่เจ้า ตะขาบบ้านป้าไรอ่ะ ตัวยาวร่วมยี่สิบเมตร จะเท่าๆกับไอ้ร้อยขาที่คณะเดินทางเจอเลยกระมังเนี่ย
    ถ้าอีตะบองพลำมันตัวใหญ่ปานนั้นจริง กะอีแค่ล้มช้าง คงไม่มีปัญหาแล้วหล่ะ แล้วถ้าว่ากันตามยุคสมัยที่
    ท่านน้อย อาจารยางกูรยังดำรงชีวิตอยู่เนี่ย (กว่าร้อยปีมาแล้ว) ในยุคนั้นอาจจะมีตะขาบตัวโต
    ขนาดปล้ำรัด หรือล้มช้างได้ อยู่จริงๆก็เป็นได้ ใครจะรู้ ไม่เช่นนั้นท่านน้อย อาจารยางกูรจะนำเอาชื่อมันมาใส่
    ไว้ในบทเรียนให้เราร่ำเรียนกันทำไมล่ะ  จริงมั๊ยขอรับ ???



    ก็เหมือนเคยครับ แค่เอามาเล่าสู่กันฟัง

    แก้ไขเมื่อ 02 มี.ค. 50 10:33:48

    จากคุณ : ฟาฬ - [ 2 มี.ค. 50 10:25:08 ]

 
 


ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com | Torakhong.org | GameRoom