ทุกวันนี้เมื่อเราเอ่ยถึงดิสนีย์ สิ่งหนึ่งที่เราคิดถึงก็คือ คณะเจ้าหญิงของดิสนีย์ ซึ่งเป็นแพคเกจที่บริษัทดิสนีย์ในชั้นหลังจัดให้รวมกัน ที่ประกอบด้วย สโนไวท์, ออโรร่า (เจ้าหญิงนิทรา), ซินเดอเรร่า, จัสมิน (อะลาดิน), แอเรียล (เงือกน้อย), เบล (โฉมงามกับสัตว์ร้าย)
ถ้าสังเกตให้ดีในเจ้าหญิงทั้งหกคนนี้ส่วนใหญ่จะเป็นคนขาว มีจัสมินคนเดียวที่เป็นอาหรับ เมื่อเป็นดังนี้ผู้บริโภคจากทั่วโลกจึงได้ส่งคำร้องเรียนมายังดิสนีย์ว่าอยากให้สร้างตัวละครเจ้าหญิงชนชาติอื่นๆที่บุตรหลานของตนเองสามารถ connect ด้วยได้ มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างช่วยไม่ได้ว่าบริษัทดิสนีย์นั้นมีค่านิยมยกย่องผิวขาว
ดังนั้นบริษัทดิสนีย์จึงแก้ปัญหาด้วยทางต่างๆ พวกเขาใส่มู่หลาน กับ โพคาฮอนทัส ลงในกลุ่มของเจ้าหญิงด้วย (แม้ว่าพวกเธอจะไม่ใช่เจ้าหญิงก็ตาม) และในปี 2009 นี้ ดิสนีย์มีแผนจะขยายตลาดชุดเจ้าหญิงไปอีก โดยผลักดันการ์ตูนสองเรื่อง เป็นการ์ตูนเจ้าหญิงทั้งสองเรื่อง
เรื่องแรกคือราพุนเซล ซึ่งคงมีคนเอามาพูดในนี้แล้ว
เรื่องที่สองชื่อเรื่องในตอนแรกคือ the Frog Princess ความพิเศษของเรื่องนี้คือตัวเจ้าหญิงเป็นคนดำ และจะทำเป็น 2D ซึ่งเป็นแนวที่กลุ่มลูกค้าของดิสนีย์ชื่นชอบเสมอมา (การ์ตูน 3D ที่ผ่านมาของดิสนีย์นั้น ...เอ่อ รู้ๆกันนะ)
ต่อไปเนื้อเรื่องแบบย่อๆตามที่ผมเข้าใจนะครับ :
Theme ของเรื่องนี้คือ American Fairy Tale
นางเอกของเรื่องชื่อ แมดดี้ เป็นคนรับใช้ผิวดำในคฤหาสน์ของคหบดีชาวใต้ (น่าจะเป็นยุคก่อนสงครามกลางเมือง)
นางเอกก็จะเป็นแนวๆซินเดอเรลล่าที่แม้มีความลำบาก แต่คนดีมีน้ำใจ ขยันขันแข็ง และมีความฝัน ซึ่งจะเป็นภาพขัดแย้งกับ ลูกสาวของคหบดีชื่อชาล็อต ที่เป็นเด็กร่ำรวยเอาแต่ใจ
จุดสำคัญของเรื่องคือท่านคหบดีได้จัดงานเดบูตองให้แก่ชาล็อต และเพื่อการนั้นได้เชิญคนหนุ่มดีๆมาที่บ้านมากมาย
(งานเดบูตองคืองานเปิดตัวลูกสาวสู่สังคมของผู้ดีฝรั่งโบราณ นั่นคือเมื่อบุตรสาวของบ้านไหนถึงวัยออกเรือนแล้ว พ่อแม่ก็จะจัดงานเลี้ยงที่บ้านขึ้น เชื้อเชิญชายหนุ่มที่ยังโสดและมีการศึกษามีฐานะดีมากินเลี้ยง จากนั้นก็เปิดโอกาสให้พวกหนุ่มๆได้ทำความรู้จักบุตรสาวของตน ทำการเกี้ยวพาราสีไปตามเรื่อง พูดง่ายๆคืองานหาสามีให้ลูกแหละครับ)
พระเอกของเรื่องนี้คือเจ้าชายแฮรี่ซึ่งมาจากยุโรป (ไม่ยักกะเป็นวิลเลี่ยม) ได้มาร่วมงานเดบูตองของชาล็อตด้วย
และอะไรสักอย่างก็ทำให้เจ้าชายแฮรี่หันมารักแมดดี้แทน โดยมีความช่วยเหลือจากเพื่อนๆของแมดดี้ และมีการขัดขวางจากหมอผีวูดูคนดำชื่อ ดอกเตอร์ฟาซิเลีย
ซึ่งผมอ่านเรื่องย่อนี้เมื่อปีก่อน ตอนนั้นได้มานั่งคิดดูแล้วยังเห็นว่า แม้จุดประสงค์ของเรื่องนี้คือการสร้าง "เจ้าหญิงคนดำ" ที่ทำประหนึ่งให้กลุ่มลูกค้ากว้างขึ้น และแสดงว่าดิสนีย์ไม่ได้มีค่านิยมยกย่องแต่ผิวขาว ...แต่ถ้าจะมองให้เหยียดผิวมันก็มองได้อยู่ดี
เพราะในเมื่อนางเอกเป็นคนดำ ทำไมเธอจะต้องบรรลุความฝันอันสูงสุดโดยการแต่งงานกับเจ้าชายผิวขาวด้วย?
ทำไมเธอจะต้องเปลี่ยนชีวิตของเธอเพื่อบรรลุความฝันนั้น มันเท่ากับยอมรับว่าการถีบตัวให้พ้นจากสังคมคนดำไปสู่สังคมชั้นสูงของคนผิวขาวคือการได้ไปสู่สิ่งที่ดีกว่าไม่ใช่หรือ?
(ลองคิดเทียบกับตัวเองดู ผมเป็นคนไทย ผมก็ไม่ฝันอยากแต่งงานกับเจ้าหญิงฝรั่งไปอยู่ในปราสาทหรอก ผมจะไปอยู่ทำบ้าอะไร มันไม่ใช่ตัวผม ไม่ใช่แนวทางของผม ทุกวันนี้ผมก็มีความสุขกับสังคมไทยดีอยู่แล้ว)
ดังนั้นกลายเป็นว่าแทนที่จะได้เปลี่ยนภาพลักษณ์ กลับไปสร้างภาพลักษณ์เหยียดผิวยิ่งกว่าเดิมเสียอีก ผมคิดว่าถ้าหนังเรื่องนี้ออกมาจะต้องมีผู้บริโภคประท้วงแน่
และก็เป็นจริงตามนั้น มีการวิพากษ์วิจารณ์ดิสนีย์อย่างร้อนแรงกว่าเดิมมากๆ จนดิสนีย์ต้องแก้ไขโครงการนี้อย่างใหญ่หลวง หลักๆแล้วได้ทำการดังต่อไปนี้
๑. แก้ชื่อนางเอกจาก แมดดี้ เป็น เทียน่า ทั้งนี้เพราะชื่อแมดดี้อาจจะฟังดูเหยียดผิว (?)
๒. แก้บท ต่อไปนี้ เทียน่า จะไม่ใช่คนใช้ของชาล็อตอีกแล้วแหละ
๓. ดร.ฟาซิเลีย ก็อาจจะไม่ใช่หมอผีวูดูแล้ว และอาจจะไม่ใช่คนดำอีกแล้วด้วย
๔. เปลี่ยนชื่อเรื่องจาก "the Frog Princess" เป็น " the Princess and the Frog" เพื่อกันความคิดว่า คนดำเป็นกบ (แต่ต้นฉบับแฟรี่เทลโบราณนั้นชื่อ the Frog Princess นะ)
พูดง่ายๆว่าปรับบทครั้งใหญ่ครับ เรื่องที่ผมเล่ามาข้างบนทั้งหมดคงจะไม่ใช่แล้ว คงมีการแก้อีกมากเพื่อให้เป็นทำนองว่า แมดดี้เป็นตัวของตัวเอง มีความความภาคภูมิใจในความเป็นคนดำ และมีความสง่างามแบบเจ้าหญิงโดยไม่ต้องกอปปี้จากเจ้าหญิงฝรั่ง ฯลฯ ทั้งนี้เพื่อตอบสนองต่อประเด็นละเอียดอ่อนของผู้บริโภค
เรื่องที่เล่ามาทั้งหมดนี้จึงขอให้ฟังไว้เป็นเรื่องปกติของสากลโลกนะครับ
แก้ไขเมื่อ 03 ส.ค. 50 05:17:16