Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com | Torakhong.org | GameRoom


    พัฒนาการของ Dorama ที่เราๆคลั่งไคล้กัน... (ตั้งแต่แรกเริ่มจนถึงปัจจุบัน) (ตอบกระทู้ข้างล่าง)

    ขอตั้งกระทู้ใหม่เลยดีกว่า ฮี่ๆๆ ไหนๆก็ไหนๆละ จะเอาแบบละเอียดละนะ (หมายเหตุ: ขอย่อๆจากหนังสือละกันเพราะมันยาวมากกก)

    มันเริ่มจากปี 1939 (ตั้งแต่ปีที่โทรทัศน์เข้าไปถึงประเทศญี่ปุ่นนั่นแหละ)บริษัท NHK ที่เราๆคุ้นหูกันก็มีมาตั้งแต่ปี 1926 แล้วล่ะึ่ค่ะ เค้าเริ่มทดลองการแพร่ภาพครั้งแรกวันที่ 13 พฤษภา 1939

    ดราม่าเรื่องแรกที่ได้ออกอากาศคือ Yugemae (1940) หรือ "ก่อนมื้อเย็น" ที่มีความยาวแค่ 12 นาที แต่มีแค่ไม่กี่คนเท่าันั้นที่ได้ดู เนื่องจากทีวียังไม่มีขายทั่วไปในตอนนั้น และแล้ว ทุกอย่างก็หยุดชะงักลงเนื่องจากอะไรให้ทาย... สงครามโลกนั่นเอง

    NHK กลับมาออกอากาศดราม่าอีกครั้งตอนปี 1952 เรื่อง Shinkon Album สมัยนั้นก็เริ่มมีการแข่งขันแย่งชิงสปอนเซอร์กันแล้วล่ะค่ะ สถานีแรกที่ได้รับในอณุญาตคือ NTV (ชื่อคุ้นมั้ยล่ะ)

    การออกอากาศอย่างเป็นทางการครั้งแรกคือ แอ๊คที่สี่ ฉากหนึ่ง จากละครคาบุกิที่ชื่อว่า Yoshitsune and the Thousand Cherry Trees สามวันต่อมา NHK ก็ได้ออกอากาศดราม่าที่ถูกออกแบบมาเพื่อฉายบนทีวี (ก็คือไม่ได้เอามาจากคาบุกิหรืออะไรอื่น) ชื่อ Yamaji no Fue หรือ ฟลูทบนภูเขา

    ในตอนนั้น อะไรๆก็ยังจำกัดอยู่เนื่องจากทีวียังเป็นของใหม่ ดราม่าต่างๆเนี่ยเค้าออกอากาศสดเลยนะขอบอก จนทำให้มีฉากหลุดครั้งแรกที่เกิดขึ้นเนื่องจากช่างกล้องของ NHK เผอิญหันกล้องไปทางนักแสดงที่กำลังเปลี่ยนชุดอยู่

    ราคาทีวี 17 นิ้วสมัยนั้นคือ 245,000 เยน หรือ 700 ดอลล่าร์ และตอนนั้นรายได้ของคนทำงานมีปริญญาก็แค่เดือนละ 42 ดอลล่าร์เท่านั้น เลยทำให้ทีวีนั้นไกลเกินเอื้อมมากๆ

    ผู้กำกับท่านหนึ่งที่ชื่อว่า Hiroshi Nagayama ที่กลับมาจากอเมริกา ก็ได้ริเริ่มสิ่งที่เรียกว่า Period Drama ขึ้น โดยเอาเนื้อเรื่ิองจากคาบุกิที่เกี่ยวกับนักสืบซามูไรมาดัดแปลง Hanshichi เรื่องนี้ได้ถูกเอามาทำรีเมคหลายต่อหลายครั้ง และได้กลายมาเป็นพีเรียดดราม่า  40 นาที และเป็นซีรี่ย์เรื่องแรกในญี่ปุ่น

    แนวดราม่าให้ได้ถือกำเนิดขึ้น เรียกว่า Home Drama ที่ทำมาเพื่อให้ึคนดูได้สัมผัสถึงความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว เรื่องแรกคือ Waga ya no Nichiyo Nikki (1953) ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการใช้ชีวิตทั่วไปๆนั่นแหละค่ะ มีความยาว 25 ตอน แต่ละตอนยาวครึ่งชม. ผลิตโดย NTV

    และเพื่อไม่ให้น้อยหน้า NHK ก็ได้นำเสนอดราม่าแนวนี้เหมือนกัน คือ Kofuku e no Kifuku ปีเดียวกัน ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับชีวิตหลังสงครมโลกครั้งที่สอง

    ในตอนนั้นญี่ปุ่นก็ยังอยู่ในช่วงทดลองอยู่ และดราม่าก็ยังไม่มีความเป็นเอกลักษณ์นัก ผู้ผลิตยังไม่มีประสบการณ์มาก จะมีก็แค่คนที่เคยทำงานกับการออกอากาศทางวิทยุ กับคนที่เคยทำงานในโรงหนัง เอาคนจากกลุ่มต่างๆมาทำให้เค้าพัฒนาขึ้นมาเป็นทีมผู้ผลิตได้อยู่นะึคะ

    ดราม่าเรื่องแรกที่ให้สเปเชี่ยลเอฟเฟ็กต์คือ Inu wo ikiteiru (อันนี้เค้าก็ไม่ได้บอกนะคะว่าเป็นยังไง แต่รู้สึกว่าจะใช้แบบว่าฉายภาพบนฉากหลังแล้วก็ถ่าย)

    ในปี 1955 เค้าก็ได้เอามังงะมาทดัดแปลงเป็นดราม่าเป็นครั้งแรก เริ่มจากเรื่อง Tomoroki Sensei เรื่องนี้ได้ออกอากาศในเวลาเดียวกันวันจันทร์ถึงศุกร์ ในตอนหลังก็เป็นที่รู้จักในนาม Obi Dorama

    เครือข่ายใหม่ก็ได้เข้ามาเป็นคู่แข่งกับ NHK กับ NTV คือ KRT หรือที่เราๆรู้จักกันในนาม TBS นั่นเอง เครือข่ายนี้ก็เน้นที่การเอาเรื่องจากหนังสือมาทำเป็นดราม่า เรื่อง Himanashi Tobidasu ก็ได้กลายเป็นเรื่องฮิตของสถานีไป โดยมีเนื้อเรื่องแนวสืบสวนที่ได้รับแรงบันดาลใจบางส่วนมาจากเชอร์ล็อค โฮมส์ด้วยนะ

    ในปี 1956 ทีวีเป็นที่นิยมมากขึ้น จากที่สถานีต่างๆออกอากาศแค่ไม่กี่ชม.ต่อคืน ก็ได้ยืดเวลาออกอากาศออกไปอีก แต่เนื่องจากขาดอะไรหลายๆอย่าง เช่นอุปกรณ์ ผู้เชี่ยวชาญ ทุน ทำให้ต้องแก้ปัญหาด้วยการเอาซีรี่จากอเมริกาเข้ามาฉายนั่นเอง ในตอนนั้น คนญี่ปุ่นรุ่นใหม่ๆก็โตมากับการดูซีรี่ย์ฝรั่ง ซึ่งได้เรทติ้งสูงกว่าดราม่าญี่ปุ่นซะอีก

    หลังๆมา ก็ได้มีการทำดราม่าโดยลอกเลียนแบบมาจากซีรี่ย์อเิืมริกัน เช่น Moonlight Mask ที่ก๊อปมาจากซูเปอร์แมน

    ช่วงนั้นก็เป็นช่วงที่วิดิโอเทปได้เข้ามาในญี่ปุ่น สถานีต่างๆก็มุ่งมั่นกันต่อไป สถานี TBS ได้ทำดราม่าที่ถ่ายลงวิดิโอเป็นครั้งแรก คือ Watashi wa Kai ni Naritai (1958) (เกี่ยวกับทหารสงครามที่กำลังจะถูกประหาร ระหว่างที่รอความตาย เค้าก็ได้เขียนโน้ตถึงภรรยาที่รักว่า ผมสูญเสียความหวังในมนุษรชาติ ถ้าชาติหน้ามีจริง ผมอยากเกิดเป็นกุ้งหอยปูปลา จะได้ไม่ต้องถูกเรียกมาเป็นทหาร)

    อิทิพลที่ญี่ปุ่นได้รับจากต่างชาติคือ แนวดราม่าที่สร้างเพื่อปุ้งเป้าหมายไปที่แม้บ้านที่สามีออกไปทำงานนอกบ้าน แนวที่เน้นเกี่ยวกับผู้หญิงๆ

    ในตอนปลายของทศวรรษ 1950's ทีวีในญี่ปุ่นเริ่มเติบโตขึ้น สองสถานีใหม่ (fuji TV กับ TV asahi ชื่อคุ้นอีกละ) ก็ได้ก่อตั้งและออกอากาศครั้งแรกในปี 1959 ทุกๆบ้านเริ่มซื้อทีวีกัน โดยเฉพาะช่วงไม่กี่อาทิตย์ก่อนที่จักรพรรดิจะมีงานแต่งงาน ไม่กี่เดือนหลังจากที่ชาวญี่ปุ่นได้ดูชมการถ่ายทอดงานแต่งของผู้นำประเทศบนจอขาวดำ ทีวีสีก็ได้เข้ามาแนะนำตัวในที่สุด แม้ว่าราคามันจะแพงมหาโหดพอๆกับตอนที่ขาวดำเพิ่งเข้าญี่ปุ่นช่วงแรกๆ

    ในปี 1958 ก็ได้มีดราม่าที่ออกอากาศมาเพื่อแม่บ้านโดยเฉพาะ เค้าออกฉายในตอนเช้าและเย็นหลังข่าว ผลคือได้รับความสนใจจากผู้ชมมากมาย ทำให้ทางผู้ผลิตรู้ละ ว่าแต่ละอย่างจะต้องออกฉายในแต่ละเวลาของวัน เพื่อที่ได้ดึงดูดคนดูได้มากที่สุด

    ซีรี่ของจริงเรื่องแรกคือ Musume to Watashi ที่ออกอากาศมาเพื่อคนดูแม่บ้านอีกนั่นแหละ ในเวลาที่ลูกๆไปรร.

    ในช่วงเข้า 1960's ความนิยมดราม่าญี่ปุ่นเริ่มซาลง ดราม่าฝรั่งเริ่มเข้ามาอีกครั้ง ผู้กำกับ Taiji Nagasawa ขณะที่ดูซีรี่ย์คาวบอยหรืออินเดียนแดง ก็ได้เห็นว่า ญี่ปุ่นเราก็ต้องมีโชว์เป็นของตัวเองที่ไม่ได้แค่ความบันเทิง แต่สอดแทรกความรู้ทางประวิติศาสตร์ด้วย ทำให้ดราว่าแนวใหม่ได้เกิดขึ้น คือ Taiga Drama ที่ฉายตลอดปีทุกอาทิตย์ มีเนื้อหาเกี่ยวกับสมัยก่อน หรือประวัติศาสตร์น่ะแหละ

    ในช่วงนี้ดราม่าแนวต่างๆก็ได้ถือกำเนิดขึ้นมาเหมือนกัน ในปี 1964 ญี่ปุ่นได้เป็นเจ้าภาพโอลิมปิก ได้มีการถ่ายทอดทางดาวเทียม เนื่องจากความนิยมที่มากมายในตอนนั้น ทำให้มีดราม่าเกี่ยวกับกีฬาออกมา และในปีนี้ก็เป็นปีแรกที่เรทติ้ง top 20 ในญี่ปุ่นไม่มีซีรี่ย์ฝรั่งอยู่บนลิสต์เลยซักเรื่อง

    แนวดราม่าได้พุ่งเล็งไปที่คนอายุน้อย ทำให้เกิดแนวใหม่ออกมาอีก ก็คือ Seishun Drama ที่รวมแนวกีฬาเอาไว้ แล้วก็เน้นเกี่ยวกับชีวิตในรร. (แนวนี้นี่รวมไปถึง GTO, Kinpachi Sensei ด้วยนะคะ โนบุตะกับ My boss my hero ก็คงอยู่ในกลุ่มนี้ด้วยเหมือนกัน) จากการรวมเอากีฬาและ youth เข้าด้วยกันที่สำเร็จเปรี้ยงปร้าง ก็ได้มีหนังญี่ปุ่นสุดฮิตอย่าง water boys และ ping pong ออกมาด้วย

    และแล้ว เนื่องจากผู้ชมเด็กมีมากขึ้น ให้ทายว่าดราม่าแนวไหนได้ถูกทำออกมา..... Super Hero นั่นเอง ทั้งอุลตร้าแมน พาวเวอร์เรนเจอร์ และอื่นๆอีกสารพัด และได้ัรับความนิยมอย่างสูง!


    และเนื่องจาก Seishun Drama หรือ Youth Drama กับ Home Drama ที่กล่าวไปก่อนแล้ว ก็ได้มี Trendy Drama เกิดขึ้นมา Trendy Drama นี่จะคล้ายๆผสมผสานสองอย่างนั้นเข้าไป ไม่ได้เกี่ยวกับแค่ครอบครัวที่คนดูส่วนใหญ่จะเป็นวัยกลางคนหรือผู้สูงอายุ และไม่ได้พุ่งเล็งไปที่ผู้ชมอายุน้อยหรือวัยเรียนเพียงอย่างเดียว Trendy Drama นั้นสะท้อนให้เห็นถึงชีวิตประจำวันของคนญี่ปุ่นทั่วไป ปัญหาต่่างๆ ชีวิตความเป็นอยู่ (ซื่งดราม่าที่เราๆดูกันน่ะ รวมอยู่ใน trendy ซะไม่หมดก็เกือบหมดหล่ะค่ะ)

    การที่ดราม่าจะเอามาฉายซ้ำนั้นไม่ค่อยมี เรื่องบางเรื่องก็ได้รับความนิยมมาก จะถูกเอามาทำต่อ เป็นหนังที่มีเนื้อหาต่อจากที่ดราม่าจบเอาไว้ หรือไม่ก็ Specials ซึ่งก็คือดราม่าสั้นที่มีความยาวเท่ากับหนัง แต่เค้าจะฉายทางทีวีเท่านั้นเอง จากการทำสเปเชี่ยลออกมา ทำให้ดราม่าต้นฉบับถูกผลิตออกมาขายเป็นแผ่นๆไปด้วย ทำให้เราสามาถรหาซื้อมาดูได้ละ และยังสร้างตลาดดราม่าญี่ปุ่นในต่างประเทศอีกด้วย!!

    ในศตวรรษที่ 21 ดราม่าญี่ปุ่นเริ่มเข้ามาเป็นที่นิยมในเอเชีย โดยเฉพาะไต้หวัน เกาหลี ฮ่องกง มาเลเซีย สิงคโปร์ จีน ผู้คนสามาุถรรับชมได้ทางเคเบิลทีวีบ้าง ซื้อแผ่นมาดูบ้าง

    ทางต่างประเทศก็ได้ซื้อลิขสิทธิ์มังงะมาทำเป็น live action โดยใช้นักแสดงของประเทศตัวเอง อย่างเช่น Meteor Garden, HanaKimi, Yamada Taro ฯลฯ

    ในอเมริกาก็เช่นกัน ดราม่าได้มีการซับแล้วเอามาออกฉายทางทีวีเอเชียบางช่อง วีซีดีีหรือดีวีดีสามาถรหาซื้อได้บ้าง แต่สิ่งที่ช่วยเำผยแพร่มากๆก็คืออิเตอร์เนทนั่นเอง จากการ fansub โดยกลุ่มคนที่คลั่งไคล้ ทำให้เราๆสามาถรหามาดูได้อย่างง่ายดาย

    คราวนี้ พวกเราก็ดูดราม่าโดยที่รู้ความเป็นมาของมันแล้วหล่ะนะเค๊อะ
    แล้วก็ พอรู้ละ ว่าทำไมดราม่าญี่ปุ่นนี่ถึงมีดีกันจัง

    แก้ไขเมื่อ 05 พ.ย. 50 03:55:58

    แก้ไขเมื่อ 05 พ.ย. 50 03:51:55

    จากคุณ : RabuRetta - [ 5 พ.ย. 50 03:51:08 ]

 
 


ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com | Torakhong.org | GameRoom