สมเด็จพระนเรศวรตัดสินพระทัยกรีธาทัพใหญ่ ๑ แสนไปโจมตีอังวะ หากคราวนี้ไม่ทรงเสี่ยงกับเส้นทางเดินทัพเดิมที่ต้องผ่านหัวเมืองมอญ แต่ทรงเปลี่ยนไปเดินทัพในพระราชอาณาเขตแทน โดยเคลื่อนทัพขึ้นไปทางภาคเหนือซึ่งปลอดภัยจากการถูกโจมตีแนวหลัง แล้วไปหยุดบำรุงรี้พลที่เชียงใหม่ ๑ เดือน ก่อนจะโปรดให้สมเด็จพระเอกาทศรถยกทัพหน้าไปเมืองฝางแล้วเกณฑ์กำลังเพิ่มจาก หัวเมืองไทใหญ่เพื่อให้ทัพหน้ามีกำลังพลถึงแสนคน
จากเชียงใหม่ไปอังวะมีเส้นทางซึ่งเป็นที่ราบระหว่างหุบเขา ๒ เส้นทางที่ใช้เดินทัพได้ เส้นทางที่ ๑ เป็นเส้นทางตามสายน้ำแม่ปิงผ่านอำเภอเชียงดาวไปสู่ช่องกิ่วผาวอก เข้าสู่แดนไทใหญ่ เส้นทางที่ ๒ คือถนนสายเก่าที่เรากำลังใช้อยู่นี้ ซึ่งอาศัยที่ราบริมสายน้ำแม่แตงเดินทางไปท่ามกลางภูเขาสูง สู่เมืองกื๊ด เมืองคอง และเมืองแหง เป้าหมายของสมเด็จพระนเรศวรต่อจากเมืองแหงคือผ่านช่องหลักแต่ง ทะลุไปเมืองเต๊าะ ไปเมืองทาซึ่งปัจจุบันเป็นเมืองร้าง แล้วก็จะถึงบริเวณสบจ๊อด (บริเวณที่แม่น้ำจ๊อดไหลลงแม่น้ำสาละวิน) แล้วไปข้ามฝั่งที่ท่าผาแดง ที่นั่นแม่น้ำจะกว้างราว ๗๐ เมตร เป็นจุดที่แม่น้ำแคบที่สุดของแถบนั้น ข้ามน้ำที่นั่นแล้วจึงไปเมืองปั่น เมืองนาย แล้วก็ไปเมืองลางเคอ จากเมืองลางเคอก็ทะลุสู่เมืองอังวะ ซึ่งผมเชื่อว่าทรงใช้เส้นทางนี้มากกว่าเส้นทางแรก
ส่วนกรณีสวรรคตที่เมืองหางนั้น ถ้าพิจารณาตามพงศาวดารส่วนใหญ่ที่บันทึกว่า สมเด็จพระนเรศวรทรงให้สมเด็จพระเอกาทศรถยกทัพหน้าไปก่อนพระองค์ถึง ๗ วัน โดยไปรวมพลที่เมืองฝาง ถ้าดูตามแผนที่ หากทัพหลวงอยู่ที่เมืองหางขณะพระองค์สวรรคตจริงก็เท่ากับทัพหลวงอยู่เหนือ ขึ้นไปจากเมืองฝางอันเป็นที่ตั้งทัพหน้า ซึ่งไม่น่าเป็นไปได้เพราะผิดหลักการทำสงคราม
เมื่อสมเด็จพระนเรศวรมาถึงเมืองแหง ผมคิดว่าพระองค์ไม่ได้ประทับที่คุ้มเจ้าเมือง แต่น่าจะทรงเดินทัพไปที่ ทุ่งดอนแก้ว จากการคำนวณ หลังออกจากเชียงใหม่พระองค์หยุดที่นั่นพอดีในคืนที่ ๖ ผมจึงตีความอย่างนี้ครับ ทุ่ง คือ นาที่เราเห็น ดอน คือ เนิน แก้ว หมายถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ คือพระธาตุแสนไห นอกจากนี้ในบริเวณเดียวกันยังมีการค้นพบบ่อน้ำช้างศึกด้วย ซึ่งแสดงว่าเคยมีกองทัพมาหยุดพักอยู่ที่นี่
หากเรื่องนี้เป็นความจริง เมื่อ ๔๐๑ ปีก่อน วันที่ ๑๗ เมษายน ๒๑๔๘ ทัพหลวงของสมเด็จพระนเรศวรก็น่าจะหยุดอยู่ที่ เมืองแหง ตำบลทุ่งดอนแก้ว และเพลานั้นเอง สมเด็จพระนเรศวรก็ทรงประชวรเป็นฝีระลอกขึ้นที่พระพักตร์ ก่อนที่พระอาการจะทรุดลงอย่างรวดเร็ว
สองวันต่อมา ม้าเร็วถูกส่งไปเมืองฝางแจ้งข่าวพระอาการประชวรให้สมเด็จพระอนุชาทรงทราบ
๒๐ เมษายน ๒๑๔๘ ม้าเร็วจากเมืองฝางกลับมาถึงทัพหลวง สมเด็จพระเอกาทศรถเสด็จขึ้นเฝ้าพระอาการพระเชษฐา ทัพหน้าที่เมืองฝางหยุดเคลื่อนทัพ
๒๕ เมษายน ๒๑๔๘ สมเด็จพระนเรศวรเสด็จสวรรคต สมเด็จพระเอกาทศรถทรงอัญเชิญพระบรมศพกลับสู่กรุงศรีอยุธยา ก่อนจะถวายพระเพลิงอย่างยิ่งใหญ่ในกาลต่อมา
http://images.google.co.th/imgres?imgurl=http://www.naresuanthai.com/images/vh1.jpg&imgrefurl=http://www.naresuanthai.com/map.htm&usg=__3ZWIGqWtAvtG2Mvv3PS7ZD2N1gw=&h=404&w=640&sz=50&hl=th&start=4&tbnid=21oT1P13GjAuyM:&tbnh=86&tbnw=137&prev=/images%3Fq%3D%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%25B5%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%2587%25E0%25B9%2581%25E0%25B8%25AB%25E0%25B8%2587%26hl%3Dth%26rls%3Dorg.mozilla:en-US:official%26sa%3DG
จากภาพ ระยะทางตรงจากฝางสู่เมืองแหง ถ้าเป็นทางตรงจะมีระยะทาง 70 กม. แต่ถ้าเป็นทางเดิน ระยะทางน่าจะเพิ่มขึ้น 2 เท่า
แก้ไขเมื่อ 19 ก.พ. 52 13:00:36