Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com


    << บทความชมก่อนเชือด : หนังโหดเลือดสาด เชือด แทง มีผลต่อคนดู(จริงหรือ?) (เด็กดูไม่เป็นไร ถ้าพื้นฐานจิตใจดี ?) >>

    ... เลือกอ่านบทความเดียวกันนี้ พร้อมรูปเปรียบเทียบวิวัฒนาการความรุนแรงจากภาพยนตร์ และ คลิปทดสอบความชาชิน ได้ที่นี่ http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=aorta&month=03-2009&date=23&group=5&gblog=108 และ http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=aorta&month=03-2009&date=24&group=5&gblog=109



    ... ว่าจะเขียนถึง เชือดก่อนชิม ที่เพิ่งไปดูมา

    แต่อ่านเจอกระทู้ที่ว่าด้วย ความรุนแรงกับภาพยนตร์ ก็เลยคิดว่า เปลี่ยนมาเขียนเรื่องนี้น่าจะดีกว่า

    เพราะตัวเองก็เป็นคนหนึ่งที่ติดตามหนังลาบเลือดอยู่เป็นประจำ แต่ก็ตลกดีที่ปีก่อน คอหนังลาบเลือดคนนี้ ก็เป็นหนึ่งในผู้ที่ต้องไปบรรยายเรื่อง ความรุนแรงของสื่อที่มีผลต่อคนดู

    จึงคิดว่าหยิบ งานที่เคยนำเสนอกับที่เคยโพสต์เมื่อปีสองปีก่อน มาดัดแปลงลง blog กับ กระทู้ น่าจะดี



    question A. หนังโหดเลือดสาด หนังลาบเลือด เชือด แทง มีผลต่อคนดู (จริงหรือ?)


    exclaim  ความเชื่อ : หนังโหดเลือดสาด มันอันตรายตรงไหน ดูๆไปก็ดีออก เลือดออกกระชุ่มกระชวย + หนังก็คือหนัง คนสภาพจิตปกติอยู่แล้วดูไปก็ไม่ทำให้เปลี่ยนไปหรอก"

    idea ความจริง: ผู้ใหญ่สภาพจิตดี ดูหนังโหดๆคงไม่เปลี่ยนให้เป็น ฆาตกร หรือ ลุกไปตบตีใคร แต่

    เราจะแน่ใจแค่ไหนว่า ตัวเราเองมีสุขภาพจิตดีพอ ที่ดูมากๆแล้วหนังจะไม่เปลี่ยนตัวเองไปเมื่อพบความกดดัน เราจะไม่กลายเป็นคนใจร้อนหรือเจ้าอารมณ์มากขึ้นจากการเสพสื่อรุนแรงเป็นประจำsmile

    และ ต่อให้ ตรวจเป็นอย่างดีว่าสุขภาพจิตฟิตเปรี๊ยะแต่ ความรุนแรงก็มีผลกับเราอยู่ดี ตามทฤษฎีเกี่ยวกับการเสพความรุนแรงจากสื่อ ที่พอสรุปได้คร่าวๆเหมือนกันว่า

    ยิ่งเราเสพความรุนแรง เรายิ่งยอมรับความรุนแรงได้ง่ายขึ้น และ ยิ่งเราชินชากับมัน เราก็มีแนวโน้มที่จะใช้ความรุนแรงมากขึ้นเช่นกัน



    ตัวอย่างความชาชินหรือการถูก desensitizes เช่น

    เจสัน ชินกับการเชือด

    ... ครั้งแรกที่เราเชือดไก่ เรากลัวจนตัวสั่นและสงสารไก่ แต่หลังจาก เชือดตัวที่สองร้อยผ่านไป เราก็อาจจะยังกลัวอยู่บ้างแต่เราจะตัวสั่นน้อยลงและรู้สึกสงสารน้อยลง จนถึง จุดหนึ่งที่เรารู้สึกเฉยๆ

    นั่นแปลว่า เราแยกอารมณ์กับความคิดออกจากกันเด็ดขาด ด้วยกลไกทางจิตใจที่เรียกว่า isolation of affect แล้วเราก็จะสามารถฆ่าไก่อย่างไม่รู้สึกอะไรมาก และอ้างเหตุผลว่า ทำเพราะหน้าที่ , ทำเพื่อครอบครัว ฯลฯ

    ถ้าข้างต้นดูสุดโต่งเกินไป ขอส่งตัวอย่างใหม่

    หยอกเย้า ชินกับการซ้อม

    ... การที่ดูละครผัวๆเมียๆตบตีกัน ข่มขืนกันทุกวัน ก็คล้ายๆกับการที่เราเห็นคนรู้จักตบตีด่าทอกันทุกวัน

    จากที่มองเคยว่า 'โหดร้าย' นานวันเข้าเราก็จะมองว่าเป็น 'เรื่องธรรมดา' และ เมื่อตัวเองพบปัญหาญาติหรือคนข้างบ้านถูกสามีตีเข่าเขย่าตับ ก็จะคิดว่า โธ่เรื่องของผัวเมียปล่อยๆเค้าไป ทั้งที่ การตบตี ไม่ใช่ 'เรื่องธรรมดา' แต่คือ 'การทำร้ายร่างกาย'


    และ จากข้อเท็จจริงที่ว่า ปัญหาสุขภาพจิต ไม่ว่าจะเป็น ก้าวร้าวรุนแรง หรือ ขี้ตื่นตระหนกตกใจ ฯลฯ มีอยู่หลักๆแค่สองสามปัจจัย

    1.ปัจจัยทางชีวภาพ เช่น กำเนิดติดตัวมาจากยีนส์ตั้งแต่แรกเกิด , ฮอร์โมนบางตัวผิดปกติ , เป็นโรคทางจิตเวช , ใช้ยาหรือสารเสพติด ฯลฯ

    2 ปัจจัยทางจิตใจหรือสังคม เช่น การเลี้ยงดู , การซึมซับความรุนแรง , สภาพแวดล้อม ฯลฯ

    ความรุนแรงจากสื่อ ไม่ว่าจะเป็น หนังโหด , ละครข่มขืนตบตี ฯลฯ เป็น ส่วนหนึ่งของข้อ 2 ซึ่ง เราสามารถป้องกันได้ ไม่ให้สุขภาพจิตของเราต้องป่วยโดยไม่จำเป็น




    question B. หนังโหดเลือดสาด หนังลาบเลือด เชือด แทง มีผลต่อเด็กๆ (จริงหรือ?)


    ... จริงที่ เด็กคนหนึ่งจะโตมาเป็นผู้ใหญ่ที่ดี สำคัญที่สุดคือ การเลี้ยงดูของพ่อแม่

    จริงที่ การดูหนังรุนแรงหนึ่งเรื่อง คงไม่ทำให้เด็กโตมาเป็นฆาตกร หรือ โรคจิต

    แต่ไม่ได้แปลว่า การเลี้ยงดูที่ดีพร้อม แล้วให้ เด็กเสพสื่อที่รุนแรง จะปลอดภัย

    เพราะ การปล่อยให้เด็กเสพสื่อที่มีความรุนแรง ก็เป็น หนึ่งในรูปแบบ การเลี้ยงดู

    (สื่อรุนแรงสำหรบเด็ก ไมได้หมายถึงเฉพาะ หนังโหดเลือดสาด แต่ยังหมายรวมถึง หนังแอคชั่นรุนแรงหักกระดูกกรอบแกรบ หรือ ละครข่มขืนตบตีด่าทอคำหยาบ ฯลฯ)

    และนั่นคือ การส่งมอบปัจจัยเสี่ยง ให้กับเด็ก จาก ความเชื่อผิดๆ ดังต่อไปนี้



    exclaim ความเชื่อ  VS. idea ความจริง





    exclaim ความเชื่อ : ให้เด็กเล็กๆดูหนังโหดนานๆที หรือ พาเด็กเล็กๆเข้าโรงหนังคงไม่เป็นอะไร


    idea ความจริง : ในกรณีเด็กเล็ก เด็กจะยังไม่สามารถเข้าใจเนื้อหาที่ซับซ้อนของหนังที่ดู

    สิ่งที่เด็กรับเข้าไปในสมอง คือ อารมณ์ที่หนังถ่ายทอดออกมาผ่าน เสียงดังๆกับภาพที่มีความรุนแรง และ ถึงเด็กจะหลับ แต่สิ่งเหล่านั้นก็ซึมซับเข้าไปได้

    เราจึงเห็นการพยายามที่จะให้เด็กตั้งแต่ในครรภ์รับฟังเสียงพ่อแม่ หรือ ดนตรีบรรเลงเพื่อผ่อนคลาย

    อีกทั้งการพาเด็กเล็กๆเข้าโรงหนัง หรือ ดูหนังรุนแรง อาจทำให้เกิดความกลัวตกใจ

    ตัวอย่างของประสบการณ์ที่ทำให้ตกใจกลัวรุนแรงเพียงครั้งสองครั้ง สามารถมีผลต่อเนื่องมาสู่ผู้ใหญ่ เช่น เด็กบางคน ถูกขังในห้องมืดแค่ครั้งเดียว โตขึ้นไม่กี่ปีต่อมา เขากลัวที่จะต้องอยู่คนเดียวและมีอาการเครียดรุนแรงเวลาต้องนอนปิดไฟ

    ดังนั้น ประสบการณ์ในโรงหนัง หรือ การดูหนังที่มีความรุนแรง เป็น หนึ่งในปัจจัยเสี่ยงที่เลี่ยงได้ ควรเลี่ยง

    ... การศึกษาจำนวนมากยืนยันแล้วว่า

    กรณีเด็กเล็กๆ โดยเฉพาะอายุไม่เกินสองปี แทบจะไม่มีความจำเป็นต้องดูอะไรที่เป็นหน้าจอ เช่น เกมส์ หรือ หนัง

    มิหนำซ้ำ การเสพสื่อหน้าจอที่มากไป อาจจะะทำให้เด็กมีอาการต่อไปนี้

    อาการเหมือนเด็กสมาธิสั้น – ซน ยุกยิก ไม่นิ่ง ใจร้อน ไม่ได้ดั่งใจขว้างของหรือตีเพื่อน จนถึง ก้าวร้าว

    อาการเหมือนเด็กออทิสติก – พูดช้า ไม่สนคนอื่น มีโลกส่วนตัวสูง

    หากมีอาการข้างต้น ลองงดหรือลดทีวี ก่อนไปพบแพทย์อาจทำให้เด็กดีขึ้นได้โดยอัตโนมัติ



    exclaim ความเชื่อ : สมัยเด็กๆ ฉันก็เคยดูหนังโหดๆ เคยดูฉากโป๊ ฉันไม่เห็นเป็นฆาตกร หรือ ไปข่มขืน ใครเลย


    idea ความจริง : ปัญหา 'สื่อ กับ ความรุนแรง' ถ้าเอาตัวเองหรือคนใกล้ตัวเป็นที่ตั้ง ไม่มีวันเข้าใจหรือแก้ไขได้

    เช่น นายไก่ใช้ยาบ้า ไม่เห็นเป็นบ้า เพื่อนนายไก่ก็ใช้ไม่เห็นเป็นไร ในขณะที่ คนเจอปัญหาจากยาบ้า ไม่ใช่ นายไก่กับเพื่อนๆ แต่คือ ตำรวจ หรือ หมอที่ทำการรักษา

    ดังนั้น จะใช้ ตรรกะว่า ฉันก็ดูไม่เห็นเป็นไร เพื่อนฉันก็ดูไม่เห็นเป็นไร มันก็เป็นแค่สังคมเฉพาะตัวที่ไม่ได้มอง ปัญหา แบบภาพรวม

    ... ปัจจัยที่ทำให้คนก้าวร้าวรุนแรง นอกจากด้านชีวภาพ เช่น ยีน , ฮอร์โมน ฯลฯ การซึมซับหรืออยู่กับความรุนแรง เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญ (เช่น อยู่ในบ้านที่เต็มไปด้วยเสียงด่าทอ อาละวาด ตบตี ฯลฯ)


    ...ดังนั้น คนสิบคน ดูแต่หนังรุนแรงมาตั้งแต่ เด็ก

    ผลกระทบเชิงลบ ไม่จำเป็นต้องเป็น ฆาตกร แต่

    2 คน อาจเป็นคนที่ขี้กลัวขี้ตกใจง่าย
    2 คน อาจเป็นคนเก็บกด
    2 คน อาจรักความรุนแรง แก้ไขปัญหาด้วยความรุนแรง
    2 คน อาจเป็น ฆาตกร
    2 คน อาจเป็น คนปกติ

    ... ตัวเราเองที่อยู่กับความรุนแรงมา อาจบังเอิญโชคดีเป็น หนึ่ง ใน 2 คนที่ปกติ แต่ไม่ได้แปลว่า ลูกหลานของเราจะโชคดีเหมือนๆกัน

    และ

    ถึงเราอาจดูแลลูกเราได้ดีมากๆก็ตาม แต่ ลูกเรา หลานเรา ดันไปโดนทำร้ายจาก ฆาตกร หรือ พวกมิจฉาชีพ ที่เติบโตมาจากปัจจัยของสื่อที่รุนแรง

    ... เราหรือคนที่มีส่วนรับผิดชอบจะไม่รู้สึกเสียใจหรอกหรือ ที่เมินเฉยเรื่องต่างๆเหล่านี้

    ... ถึงความรุนแรงจากหนัง ไม่ได้เป็นปัจจัยหลักปัจจัยเดียวที่ทำให้เด็กมีปัญหา แต่ เราจะยื่นปัจจัยเสี่ยงนี้ให้กับเด็กโดยไม่แยแสอะไรเลยหรือ





    exclaim ความเชื่อ : อย่าคิดมากกันเลย แค่3- 4 ขวบจะอะไรนักหนา


    idea ความจริง : เด็กในวัยนี้ยังไม่สามารถใช้เหตุผล แต่จะเรียนรู้จากการสังเกตบุคคลต้นแบบ แล้วเลียนแบบตาม (imitation > reason)

    เช่น กรณีที่เราเห็นข่าวเด็กผูกคอตายเลียนแบบละครที่ดู หลายคนทักว่า ถ้าพ่อแม่ดูแลใกล้ชิดก็คงไม่เกิดปัญหา แต่ พ่อแม่จำนวนมากในสังคมไทยยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่า หลักจิตวิทยาในการเลี้ยงลูกเป็นอย่างไร

    หลายคน มองว่า จิตวิทยาเป็นอะไรที่ซับซ้อนหรือพิสูจน์ไม่ได้ ซึ่งจริงๆแล้ว ไม่ใช่เลย

    หลายคนหลงลืมไปว่า การเลือกสื่อที่เหมาะสม ก็คือ การเลี้ยงดู ด้วยเช่นกัน

    เด็กอาจไม่รู้ความ แต่ เด็กซึมซับได้แน่นอน

    ไม่ต้องดูอื่นไกล เด็กที่อยู่ในบ้านที่พ่อแม่ตบตีด่าทอกันทุกวัน โตขึ้นมาซักนิดอาจจำไม่ได้ว่า เนื้อหาของการทะเลาะ คืออะไร แต่ ความหวาดกลัว หรือ ความก้าวร้าว คือ สิ่งที่หลงเหลือสืบต่อมา




    exclaim ความเชื่อ : ถ้ามีลูกฉลาด ลูกน่าจะเข้าใจ หรือ ดูจบเดี๋ยวผู้ใหญ่อธิบายให้ฟังก็ได้


    idea ความจริง :  สติปัญญา อย่างเดียว ไม่สามารถช่วยให้เด็กโตมามีคุณภาพและอยู่ร่วมกับคนอื่นในสังคมอย่างมีความสุข

    และ ระดับสติปัญญา เป็น คนละเรื่องกับความสามารถในการจัดการอารมณ์หรือด้านศีลธรรม ( IQ not EQ / MQ )

    ต่อให้ฉลาด เข้าใจ ก็ไม่ได้แปลว่า เด็กจะไม่กลัว หรือ ไม่เลียนแบบ มิเช่นนั้น เราคงไม่มี คนฉลาดเจ้าอารมณ์ , คนฉลาดไร้จริยธรรม อยู่ในสังคม



    exclaim ความเชื่อ : โธ่ ต้องให้เด็กมันเจออะไรที่มันเลวร้ายบ้าง จะให้ดูแต่สิ่งดีๆอย่างเดียวไม่ได้หรอก เดี๋ยวโตขึ้นเอาตัวไม่รอด


    idea ความจริง : เป็นข้อเท็จจริงที่ เด็กควรเรียนรู้ด้านมืดของโลกใบนี้ ไม่ใช่ว่าดูแต่เรื่องลั้ลลา การ์ตูนวอลท์ ดิสนีย์

    เพียง แต่ การให้รู้จักโลกผ่านหนังแต่ละเรื่องก็มีช่วงวัยที่เหมาะสม


    เช่น หากเราอยากสอนเรื่อง ความตาย ให้กับเด็ก 5-6 ขวบ

    ก็ไม่จำเป็นที่จะหยิบหนังที่ฉากเชือด กระซวก เลือดพุ่งปรี๊ดพุ่งปรี๊ด จาก Saw มาให้เด็กดู แต่ คุณพ่อคุณแม่สามารถเลือกสอนเรื่องนี้ได้จากหนังอย่าง Charlotte's Web ที่เมืองนอกบางที่ใช้วรรณกรรมเรื่องนี้สอน Death and dying ให้กับเด็กๆ

    หากเราอยากสอนเรื่อง อย่าไว้ใจคนแปลกหน้า ให้กับเด็ก 5-6 ขวบ

    ก็ไม่จำเป็นที่จะหยิบหนังควักลูกตา เลื่อยไฟฟ้าหั่นนักท่องเที่ยว อย่าง Hostel มาให้เด็กดู แต่ คุณพ่อคุณแม่สามารถเลือกสอนเรื่องนี้ได้จาก The Chronicles of narnia ในตอนที่เด็กโดนคนแปลกหน้าล่อหลอกด้วยของหวาน

    แล้วเมื่อเด็กโตขึ้นหน่อย ก็ค่อยๆให้ดูหนังที่โหดขึ้นได้ จะเลือกอย่างไร ไม่ยากเลย ก็เช็คดูที่เรตหนังที่เมืองนอกเขาจัดมาก่อน



    exclaim ความเชื่อ : ไม่ผิดหรอกที่จะพาเด็กไปดูหนัง ถ้ามั่นใจว่าสามารถที่จะให้คำแนะนำว่าสิ่งไหนดีหรือไม่ดีได้ มั่นใจว่าเลี้ยงลูกด้านอื่นๆดีพอแล้ว


    idea ความจริง : ต่อให้เลี้ยงลูกแบบดีเยี่ยมในทุกด้าน แต่ยังปล่อยให้มีการเสพความรุนแรงต่อเนื่อง ความรุนแรงนั้นก็จะมีผลต่อเด็กเช่นกัน

    เหมือน ต่อให้เลี้ยงลูกดีมากๆ แต่ให้เสพบุหรี่วันละมวน สุดท้าย เด็กก็จะติดบุหรี่และมีผลต่อปอด

    ความรุนแรงจากสื่อ หรือ Media violence  ไม่ต่างอะไรจาก ลูกกวาดอาบยาพิษ  ที่กินแล้วรสชาติดีแต่คนเสพต้องพึงเตือนใจไว้เสมอว่า พิษที่จะตามมามีได้ดังนี้

    พิษทันใจ พิษรุนแรง (More aggression) เช่น กลายเป็นคนรุนแรงมากขึ้น , ควักปืนมายิง , ชกต่อยทันใจ , ใช้ความรุนแรงเป็นทางเลือกแรกในการแก้ปัญหา

    พิษสะสม (desensitization ) กลายเป็นคนชินชากับความรุนแรง , ยอมรับความรุนแรงได้มองเป็นเรื่องธรรมดา , ขาดความเห็นอกเห็นใจคนที่ถูกกระทำรุนแรง

    พิษผกผัน (more fearful) กลายเป็นคนไม่ไว้ใจโลก ไม่ไว้ใจคน , ขี้กลัวตื่นตระหนกตกใจ , ฝันร้าย ฯลฯ


    ... หากใครภูมิคุ้มกันมาดี พิษก็อาจมีฤทธิ์น้อย

    แต่จะรู้ได้อย่างไร ว่าเด็กคนไหนภูมิติดตัวมาดีเพียงใด หากเราไม่สนใจปล่อยให้เด็กเสพสื่อรุนแรงต่อไป กว่าผลลัพธ์จะแสดงออกมา ก็ต่อเมื่อเด็กคนนั้นกลายเป็นผู้ใหญ่

    เมื่อถึงตอนนั้น อะไรๆ ก็อาจจะสายเสียแล้ว



    (มีต่อ)

    แก้ไขเมื่อ 24 มี.ค. 52 12:48:51

    แก้ไขเมื่อ 24 มี.ค. 52 12:00:34

    จากคุณ : "ผมอยู่ข้างหลังคุณ" - [ 24 มี.ค. 52 11:55:03 ]

 
 


ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com