ความคิดเห็นที่ 2

กลับมาที่เนื้อหาของการ์ตูน เรื่องนี้ใช้วิธีการดำเนินเรื่องผ่านตัวละครจำนวนมาก....โดยยืนพื้นของเหตุการณ์เริ่มต้นทั้งหมดในปี 1969 จากกลุ่มเพื่อนเด็ก ๆ วัยประถม (5) ที่ใช้ชีวิตในยุคหลังสงครามโลก ซึ่งยุคนั้นถ้าสมัยนี้ก็เรียกว่ายุค Sixty - Seventy ที่เต็มไปด้วยเหตุการณ์และของให้รำลึกแบบคลาสสิค อย่างเพลงร็อคมัน ๆ, ชาวฮิปปี บุปผาชน, ฮีโร่ อภินิหารต่าง ๆ รวมถึงของเล่นเก่า ๆ เรื่องเล่ายาวไปจนถึงปี 2000 ตามชื่อเรื่องและปิดท้ายที่ศักราชใหม่ในชื่อว่า เพื่อนศักราช (ประมาณปี 2015 - 2018) เพราะเรื่องราวมาจบในปี 2015 + 3 ปีเพื่อนศักราช เลยมีสองเล่มปิดท้ายที่ใช้ชื่อว่า 21st Century Boys
ตัวดำเนินเรื่องที่เด่นชัด (เพราะเป็นตัวเปิดเรื่องและปิดเรื่อง) ก็คือ เคนจิ กับ "เพื่อน" วิธีการนำเสนอผ่านทางหน้าหนังสือของอ. นาโอกิ ใช้วิธีการเล่าเรื่องที่สลับไปสลับมาในช่วงปีต่าง ๆ โดยมีการผูกปมปัญหาและข้อสงสัยไว้ในอดีต จากนั้นก็นำเรื่องราวมาในเหตุการณ์ปัจจุบันเพื่อแก้ไขปมหรือเฉลยข้อสงสัยในอดีตเป็นช่วง ๆ ทำให้ตื่นเต้นและเร้าใจ รวมถึงเกิดความรู้สึกอยากติดตามและอยากรู้ วิธีการนำเสนอแบบนี้ถ้าใครที่ไม่นิยมการจดจำหรือการกระโดดข้ามช่วงเวลาไปมา ก็อาจจะทำให้เบื่อในการอ่านได้ ความตื่นเต้นของเรื่องราวคงอยู่ที่การติดตามว่า "เพื่อน" คือใคร แล้วเหตุการณ์ต่าง ๆ ในอดีตมีความเกี่ยวข้องกับชีวิตผู้คนในปัจจุบันได้อย่างไร
จากการที่ได้อ่าน(และติดเป็นอย่างมาก) วิธีการเล่าเรื่องของอาจารย์นาโอกิราบรื่น ไม่มีหลงประเด็นหรือติดบ่วงปมตัวเองที่ได้เขียนไว้ไม่มีการสร้างตัวละครพิเศษหรือเพิ่มขึ้นมาเพื่อยืดเนื้อเรื่อง (...แหะ ๆ ๆ ไม่ได้แอบแขวะการ์ตูนเรื่องไหนนะครับ ... ) ถึงแม้ว่าเรื่องราวเกือบทั้งหมด จะมีการเฉลยออกมาในช่วงรวมเล่มชุดกลาง ๆ (ประมาณสิบกว่า ๆ) แต่เรื่องก็ยังไม่จบ เพราะยังมีประเด็นที่ต้องแก้ไขต่อ ความตื่นเต้นจึงมีต่อไปจนถึงเล่มท้าย
ตัวละครออกแบบได้สวย และสื่อให้เห็นถึงความมีตัวตนที่แท้จริงได้ (ไม่เชื่อลองดูภาพยนตร์ละกันครับ ตัวละครแต่ละตัวทำได้เหมือนในการ์ตูนได้อย่างเหลือเชื่อ เพราะตัวการ์ตูนออกแบบอ้างอิงตามลักษณะคนจริง ๆ)
จากคุณ :
wolf
- [
5 เม.ย. 52 16:07:39
]
|
|
|