ความคิดเห็นที่ 10 |
แถมอีกหน่อยครับ เพื่อสรรเสริญความกตัญญู (ไม่รู้ว่า ลูกเธอทั้ง 2 คนจะได้ดู หนังเรื่องนี้หรือเปล่า แล้วจะภูมิใจแค่ไหน ที่แม่เธอ คือคนกัตญญู ครับ)
ภาพอดีตนับจากปี 2524 ณ บ้านริมน้ำคลองลัดเจริญ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม
หลัง เป็นข่าวโด่งดังไปทั่วประเทศลำนำชีวิตของเด็กหญิงวัลลียอดกตัญญู ซึ่งมีอายุเพียง 12 ปี พลิกผันไปด้วยแรงบุญ และผลกรรมดีที่ได้กระทำไว้ โดยได้รับความช่วยเหลือจากผู้คน หน่วยงาน องค์กร ฯลฯ ที่หลั่งไหลเข้ามาอย่างไม่ขาดสาย ทำให้ชีวิตเริ่มดีขึ้น ได้รับทุนการศึกษาจนสามารถเล่าเรียนจนจบระดับ ปวช. ที่วิทยาลัยเทคนิคสมุทรสงคราม จากนั้นจึงได้ทำงานที่ธนาคารไปไทยพาณิชย์ สาขาจังหวัดสมุทรสงคราม
“ ชีวิตเปลี่ยนไป พอจบ ปวช. ตัดสินใจว่าจะไปเรียนต่อ แต่ติดปัญหาเรื่องยายที่อายุมากแล้ว เนื่องจากอยู่ด้วยกันเพียงสองคน กลัวไม่มีคนดูแล จึงตัดสินใจไม่ไปเรียนต่อที่กรุงเทพฯ แต่มาเลือกเรียนที่หมาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช หรือ มสธ. เพราะเรียนอยู่ในพื้นที่ได้”
“ระหว่างนั้นวัลลีได้พบรักกับตำรวจหนุ่มยศสิบโท นาม ‘ธนพัฒน์ บุญเส็ง’
“ใน ที่สุดเรียนไม่จบ เพราะระหว่างนั้นทำงานไปด้วย โดยเริ่มงานธนาคารตั้งแต่ปี 2533 และแต่งงานปี 2535 จึงไม่มีเวลาเรียนต่อ ทำงานอยู่ 8 ปี จึงตัดสินใจลาออก ตอนนั้นได้ตำแหน่งผู้ช่วยฝ่ายบริหารแล้ว เป็นจังหวะที่มีลูกด้วย จึงอยากใช้เวลามาดูแลลูกให้มากขึ้น กว่าจะเลิกงานก็มืดค่ำ แล้วบ้านก็อยู่ในสวนไกลจากบ้านคนอื่นๆ”
ปี 2536 วัลลีให้กำเนิดลูกคนแรกเป็นลูกชาย ปัจจุบันไอซ์เรียนอยู่ที่โรงเรียนศรัทธาสมุทร ชั้น ม. 1 อีก 6 ปีต่อมาคือในปี 2542 จึงได้ลูกคนที่สองเป็นลูกสาว คือ น้ำหวาน ปัจจุบันอายุ 6 ขวบ เรียนอยู่โรงเรียนดรุณานุกูล ชั้นอนุบาล 3
หลัง ลาออกจากงานธนาคาร วัลลีตัดสินใจลงทุกดำเนินกิจการของตัวอง ประกอบอาชีพค้าส่งข้าวสารโดยอาศัยประสบการณ์ที่เคยทำงานธนาคารมาปรับใช้ หลังจากนั้นจึงเริ่มมาจับธุรกิจเกี่ยวกับอาหารทะเลในปี 2544 พร้อมกับตัดสินใจเลิกธุรกิจข้าวสารซึ่งทำก่อนหน้า
“ช่วงแรกๆ ที่มาทำด้านอาหารทะเลก็ล้มลุกคลุกคลาน เพราะว่าขาดประสบการณ์ เหมือนเข้าไปแบบคนเมาหมัด ไม่รู้อะไรเลย อาศัยใจสู้ ลองผิดลองถูก กว่าจะเป็นรูปเป็นร่างก็ปีที่แล้วเอง ผ่านอุปสรรคมาเยอะ สู้ชีวิตมาตลอด เพราะเราเคยแต่ทำงานออฟฟิศ แต่ต้องมาทำงานที่สมบุกสมบัน เวลาเจอปัญหาบางครั้งเราท้อ แต่ว่าล้มไม่ได้ ท้อเราก็ต้องสู้ เพราะมีภาระมาก ไม่มีใครมีชีวิตที่สมบูรณ์แบบหรอก ไม่มีใครที่จะเดินไม่สะดุดขาตัวเอง กินข้าวยังกัดลิ้นตัวเองเลย มันต้องมีเจ็บมีอะไรกันไปทั้งนั้น”
ต้นเดือนตุลาคม 2548 โรงเรือนล้างหมึก ถนนวัดดาวโด่ง-โรงธรรม
กลุ่ม ชายฉกรรจ์จำนวนหนึ่งได้พยายามบุกรุกเข้าไปยังโรงเรือนล้างหมึกของวัลลีซึ่ง มีเพียงประตูไม้สังกะสีกั้นไว้ พร้อมกับข่มขู่ลูกจ้างที่ทำงานที่ทำงานอยู่ว่าให้ระวังตัวไว้ หลังจากที่เคยมีกรณีเช่นนี้ก่อนหน้าแล้วครั้งหนึ่ง ทำให้วัลลีต้องต่อสู้ชีวิตในอีกรูปแบบหนึ่ง
“เมื่อก่อนเราเข้ามาทำ อาหารทะเล ก็มาทำโล้งหรือโรงเรือนข้างบ้านเกิดหลังเดิมที่ยังอยู่ถึงปัจจุบัน อาศัยอยู่กับแฟนและลูกสองคน เลยใช้บ้านเป็นสำนักงานในการติดต่อธุรกิจ แต่มีปัญหาเรื่องใกล้บ้านคนอื่นและการขนส่งไม่สะดวก จึงตัดสินใจย้ายไปสร้างโรงเรือนอยู่ในที่ดินแปลงหนึ่งขนาด 100 ตารางวาที่ซื้อไว้ตั้งแต่ทำงานธนาคาร แล้วมีปัญหาโดนกลั่นแกล้งตลอด”
วัลลี ยอมรับว่าการทำธุรกิจด้านอาหารทะเลอาจส่งกลิ่นรบกวนชาวบ้านบ้าง แต่ได้พยายามแก้ไข โดยปรึกษาสาธารณสุขโดยตลอด พร้อมยอมลงทุนทำบ่อบำบัดน้ำเสียถึง 4 บ่อ แต่ในอีกด้านหนึ่ง กลับถูกร้องเรียนว่าปล่อยน้ำเสียไปทำลายสภาพแวดล้อม
เหตุผล หนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาขึ้นมา อาจเป็นเพราะครอบครัวบุญเส็ง เหมือนครอบครัวที่แปลกแยกไปจากสังคมรอบข้าง เนื่องจากต้องดิ้นรนหาเลี้ยงชีพ ทำให้มีงานประจำวันทำเยอะจนเหมือนไม่สุงสิงกับเพื่อนบ้าน
“แฟนก็งาน เยอะ พอเข้าบ้านจึงอยากพักผ่อนอยู่กับบ้าน เช้าก็ขับรถออก คือเราจะไม่ค่อยสุงสิงกับใคร คนเขาอาจจะมองว่าเราหยิ่ง ไม่คบใคร วางตัวสูง แล้วอีกอย่าง แฟนมีตำแหน่งแบบนี้ มียศตำรวจ สำหรับชาวบ้าน ตรงนี้คือใหญ่แล้ว แต่จริงๆ ไม่ใช่”
น้ำในลำคลองลัดเจริญไหลเอื่อย วัลลีนั่งพักผ่อนและพูดคุยกับทีมงานอยู่ในศาลาริมน้ำ ข้างๆ คือต้นลำพูใหย่ที่ยามค่ำคืนจะมีฝูงหิ่งห้อยบินมาเกาะเต็มไปหมดจนส่งแสงพราว สว่างไสว
หากมีใครถามวัลลีว่า ถือเป็นนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จหรือไม่ เธอจะรีบตอบว่า ยังต้องทำดิ้นรนอยู่ แต่สิ่งที่โชคดีในชีวิตคือ การได้หัวหน้าครอบครัวที่ดี ไม่ดื่มเหล้า ไม่สูบบุหรี่ ไม่เที่ยว ไม่เจ้าชู้ ดูแลครอบครัวเป็นอย่างดี
“เดี๋ยวนี้เหมือนกันแล้วสังคมใน เมืองกับบ้านนอก ไม่ว่าจะเป็นอย่างไรก็ตาม สิ่งที่ตั้งเป้าไว้ในอนาคตก็คือ จะเลี้ยงลูกให้ดีที่สุด เลี้ยงด้วยความรัก แต่อนาคตต่อไปเขาจะเดินไปทางไหน เราเลี้ยงได้แต่ตัว บังคับอะไรไม่ได้หรอก ไม่ใช่อยากให้เป็นโน่นเป็นนี่ เราได้แต่สอน แต่ว่าเขาจะรับเรา จะดีหรือเปล่า ไม่ทำให้เราเสียใจ ยังเชื่อฟังเรา เราก็ดูเขาไป แต่ต้องพยายามสอนเขาให้มากที่สุดเท่าที่เราจะสอนได้”
อาจเป็นเพราะสังคมบ้านนอกทุกวันนี้ไม่เหมือนสังคมสมัยเก่าอีกต่อไปแล้ว หรือเนื่องเพราะความรู้สึกของผู้คนมีความซับซ้อนมากเกินไป
หรือ อาจเพราะการดิ้นรนต่อสู้ที่ต้องอาศัยแรงกายแรงใจมากขึ้น ทำให้ทุกชีวิตต้องดิ้นรนต่อสู่ต่อไป เฉกเช่นชีวิตของวัลลีที่ต้องต่อสู้บนเส่นทางธุรกิจอย่างมิรู้จักเหน็ด เหนื่อย นอกจากจะทำธุรกิจด้านอาการทะเลแล้ว ตกเย็นยังไปขายก๋วยเตี๋ยวอีกด้วย โดยขายตั้งแต่เย็นจนดึกดื่น
“ถือ ว่าเรายังไม่ประสบความสำเร็จ เพียงแต่ว่าเราอาจผ่านจุดที่ว่า จากไม่เป็นอะไรเลย จากศูนย์ ขึ้นมาตั้งไข่ เหมือนคนหัดคลาน หัดเดิน หัดยืน เราอาจเพิ่งตั้งไข่ เพราะทำธุรกิจไม่มีใครบอกได้ว่า จะประสบความสำเร็จอย่างไร เราไม่รู้ว่าวันไหนเราจะเจออะไรบ้าง แต่ก็คงทำธุรกิจต่อไป ต้องดูแลลูก ดูแลครอบครัว เราอายุแค่นี้ ยังต้องทำงานอีกเยอะ เรื่องแค่นี้ไม่ทำให้เราล้มหรอก”
นี่คือวันนี้ ของวัลลีในวัย 37 ปี เธอยังเชื่อมั่นว่า ‘สถาบันครอบครัว’ คือกุญแจสำคัญที่จะสร้างสรรค์สังคมให้ก้าวเดินไปข้างหน้าอย่างมีคุณภาพโดย ยึดหลัก ‘ความกตัญญู’ เป็นที่ตั้ง ดังเช่นที่ทำมาตั้งแต่วัยเด็กและเท่าถึงทุกวันนี้
ที่มา บทความและภาพจากนิตยสาร ฅ.คน Magazine เล่มที่ 2 เดือน ธันวาคม 2548
จากคุณ |
:
ผู้น้อยน้อมคารวะ
|
เขียนเมื่อ |
:
9 ส.ค. 52 00:49:37
|
|
|
|