 |
ความคิดเห็นที่ 23 |
ส่วนความเห็นนี้ ตอบไว้ในห้องสวนลุมขอดัดแปลงแล้วตัดแปะมาตอบ อาจไม่เกี่ยวกับเนื้อหาแต่อาจมีประโยชน์บ้าง
...หมอ ก็มีทั้ง ดี , กลาง , เลว ปะปนกันไป เพียงแต่ผมมั่นใจว่า หมอส่วนใหญ่ยังไม่ใช่หมอเลว และ หมอส่วนใหญ่เห็นดีด้วยอยู่แล้วกับการฟ้องร้องหรือดำเนินความเอาผิด กับ หมอที่ทำผิดจรรยาบรรณ
ปัญหาปัจจุบันคือ จากคดีความที่ฟ้องส่วนใหญ่ ผลสุดท้าย มันไม่ใช่ การทำผิดหลักการรักษา เลยทำให้ หมอถูกมองว่าปกป้องหมอด้วยกันเอง
เริ่มต้นจาก
การรักษาคนไข้ มันไม่ได้เป็นสูตรสำเร็จแบบ 1+1=2
ส่วนใหญ่นอกจากความรู้ มันจำเป็นต้องใช้ วิจารณญาณเฉพาะบุคคล และ ศิลปะในอีกหลายๆด้าน เช่น การสื่อสารกับคนไข้ ฯลฯ
อีกทั้ง ธรรมชาติของโรค มันไม่ได้ออกมาเป็นสูตรว่า อาการแบบนี้ = โรคนี้ = ต้องรักษากินยาแบบนี้ แน่นอนเสมอไป
การรักษาไม่หาย หรือ รักษาแล้วตาย อาจเกิดจาก เหตุสุดวิสัย , ภาวะแทรกซ้อน , ฯลฯ
... เมื่อมาผสมกับปัจจัยหลายอย่างข้างต้น ทำให้ คนที่ไม่เข้าใจข้อเท็จจริงทางการแพทย์ เผลอเข้าใจแบบเหมารวม
หมอที่รักษาไม่หายหรือรักษาแล้วตาย = หมอเลว หรือ หมอประมาท
เช่น
ถ้าคุณเป็นไข้เจ็บคอตอนเช้า แล้วไปหาหมอตอนบ่าย
หมอ A บอกอาการแบบนี้ หวัด2009 ชัวร์ นอนรพ.เถอะนะ อัดยาฆ่าไวรัสให้เต็มที่
หมอ B บอกยังไม่เหมือน อยากให้กลับไปสังเกตอาการ กินแค่ยาลดไข้ นัดอีกสองวัน แล้วถ้าไม่ดีให้รีบกลับมา
ปรากฏว่า วันที่ 3 คุณเป็น หวัด2009 จริงๆ ไม่ได้แปลว่า หมอA เก่งกว่า หมอB หรือ หมอBประมาท
...เพราะไม่แน่ว่า
หมอA อาจเป็นหมอ รพ.เอกชน ประเภทหวังเงินไม่ได้เห็นแก่คนไข้ เลยรีบให้นอนรพ.แล้วจ่ายยาแพงๆทั้งๆที่ไม่มีข้อบ่งชี้ แต่บังเอิญหาย บังเอิญใช่
หมอA อาจเป็นหมอรพ.รัฐ ที่มีเตียงอยู่หลายเตียงเหลือเฟือ และ ไม่มีความรู้เรื่องหวัด2009 ไม่สนเรื่องการดื้อยา ไม่ห่วงคนไข้ที่จำเป็นต้องได้ยาจริงๆ แต่รีบรักษาไปก่อน เพื่อป้องกันตัวเอง
ในขณะที่ หมอ B เป็น หมอที่รักษาตามแนวทางกลับถูกตำหนิหาว่าประมาท ไม่ให้นอนตั้งแต่แรก
... เชื่อเถอะว่า ในโรงพยาบาลรัฐ ถ้าเตียงมีมากพอ หมอส่วนใหญ่ อยากให้คนไข้ได้นอนรพ.ตามต้องการ เพราะ
1.คนไข้ได้ความมั่นใจ ได้การดูแลเต็มที่ 2.หมอไม่ต้องกังวลได้เห็นอาการชัดๆ ไม่ต้องวิตกเรื่องถูกฟ้อง
หมอไม่ได้ขี้เกียจadmit เพราะไม่อยากดู เนื่องจาก รพ.รัฐ ถึงคุณไม่ให้คนไข้รายนี้นอน อีกไม่กี่อึดใจก็มีคนไข้รายใหม่มาอยู่ดี ไม่ได้มีเตียงว่างแบบว่างเหลือเฟือ
... เกณฑ์การนอนรพ.นั้น จะมีจุดแบ่งชัดเจนเรียกว่า ข้อบ่งชี้ ซึ่งก็ขึ้นกับโรค ขึ้นกับอาการ
เช่น
ถ้ามาด้วย ไข้สูง + ความดันตกถึงขั้นช็อค จำเป็นต้องนอน ถ้ามาด้วย ไข้สูง + หอบหายใจเร็วมากกว่าสามสิบครั้งต่อนาที - จำเป็นต้องนอน
แต่ ถ้ามาด้วยไข้สูง + เหนื่อยเพลีย แต่ตรวจแล้วไม่พบความผิดปกติใดๆ ขึ้นกับวิจารณญานของหมอที่ดู เช่น อาจให้ยากลับบ้านแล้วนัดมาใหม่ หรือ อาจนอนสังเกตอาการที่ฉุกเฉินดูก่อนฯลฯ
เพราะคำว่า เหนื่อยเพลีย มันเป็นความรู้สึกเฉพาะคน
บางคนใกล้ตายแต่บอกว่า ไม่ค่อยเหนื่อยยังไหว บางคนท้องเสียครั้งเดียวแต่บอกว่า เหนื่อยมากอยากนอนรพ.
ถ้าหมอต้องเลือก ก็ต้องเลือกคนแรก ไม่ได้เลือกตามความรู้สึกของคนหลัง เพราะ เตียงในรพ.มีจำกัด
ตามมาด้วย ความเสี่ยงต่อการถูกด่าจากคนไข้กับญาติๆมากกว่า ประมาณว่า "เหนื่อยนะ ขอนอนทำไมไม่ได้นอน"
... ความยากของการรักษาคนไข้ นอกจาก ตรวจให้ยา คือต้อง บริหารและวางแผน ระหว่าง ความรู้สึกของคนไข้ , ความต้องการของคนไข้ และ ความเจ็บป่วยจริงๆ
ต้องหา ความสมดุลในการให้บริการให้เหมาะสมกับ อุปกรณ์ที่มีจำกัด(เตียง ฯลฯ)
... ยังมีอีกหลายๆอย่างที่ทำให้ คนไข้ เข้าใจหมอผิด เช่น
Placebo effect - รักษาหมอ A ไม่หาย ไปเจอหมอ B ให้ยาแบบเดียวกัน แต่เปลี่ยนแค่ลักษณะของเม็ดยา แต่คนไข้ ศรัทธา หมอB มากกว่า ปรากฏว่า กินยาแล้วรู้สึกดีขึ้น ทั้งๆที่ผลเลือดก็รักษาได้ดีเท่ากัน แต่ คิดว่าหายเพราะหมอ B
ธรรมชาติของโรค ไส้ติ่งอักเสบ จะเริ่มต้นด้วย ปวดท้องเหมือนโรคกระเพาะ ดังนั้น ไปหาหมอรายแรกแต่เนิ่นๆ ตรวจไม่เจอ กลับมาบ้านอีกสามวัน ไม่ดีขึ้น ไม่ไปหาหมอแล้ว ไส้ติ่งแตก ไปหาหมอคนใหม่ ทำให้คิดว่า หมอรายแรก ชุ่ย
ระบบประกันสุขภาพ - หมอAอาจเป็น ฮีโร่ของคนไข้ ที่จ่ายยาเมืองนอกแพงๆให้ฟรีเสมอ อยากตรวจอะไรแพงๆส่งให้หมด เพื่อให้คนไข้ชื่นชม ทำให้งบรพ.ขาดดุล ส่วนหมอB ต้องจ่ายยาที่อยู่ในบัญชี 30 บาท และ ส่งตรวจเมื่อจำเป็น แต่กลายเป็น ปีศาจใจดำ ทั้งๆที่ หมอB ทำถูกต้องเพื่อประเทศและเพื่อคนไข้ แต่เป็นปีศาจ เพราะทำไม่ถูกใจ ไม่ทำตามที่คนไข้ต้องการ
หมอไม่มาดู - กรณีคนไข้ที่แผนกฉุกเฉิน การตรวจเรียงลำดับตามความรุนแรงฉุกเฉิน ไม่ได้มาก่อนได้ตรวจก่อนเสมอไป ดังนั้น บางคนปวดท้องโรคกระเพาะไปรออย่างทรมาน มีหมอมาลูบๆคลำๆ มีพยาบาลมาตรวจวัด แล้วหงุดหงิดคิดว่า หมอไม่สนใจ ซึ่งแท้จริงแล้ว หมออาจมาประเมินความรุนแรงก่อน แล้วจะกลับมาดูอีกครั้ง หลังจากไปดูคนที่อาการหนักกว่า
ฯลฯ
... คนไข้ทุกคนอยากได้หมอที่ดี นั่นคือ มีความเป็นคนที่ดี และ มีความเป็นหมอที่ดี คู่กัน
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นจากที่เขียนๆมาข้างต้น ก็อยากจะบอกว่า
หมอดี ก็ไม่ได้แปลว่า หมอที่จ่ายยาดีๆแพงๆ หรือ สั่งตรวจมากๆ หรือ ให้นอนรพ.ง่ายๆ , พูดคำหวานๆ เสมอไป
... เช่นเดียวกัน หมอ ก็ไม่ควรคิดแต่ว่า ตรูมีหน้าที่แค่รักษาจะปากเสียยังไงก็ได้ ไม่ควรสนแต่ ทักษะการตรวจและจ่ายยา จนลืม ทักษะในการสร้างความสัมพันธ์กับผู้คน หรือ ไม่ควรหลงระเริงกับสิทธิพิเศษที่สังคมมอบให้ จนลืมตัวข่มคนอื่น ทำตัวเหนือคนอื่นแบบแตะไม่ได้เลย
แก้ไขเมื่อ 01 ก.ย. 52 20:35:46
จากคุณ |
:
"ผมอยู่ข้างหลังคุณ"
|
เขียนเมื่อ |
:
1 ก.ย. 52 20:30:34
|
|
|
|
 |