 |
ความคิดเห็นที่ 13 |
...นั่นสินะ ทำไมไม่มีการนำชีวิตของเธอไปสร้างเป็นภาพยนตร์ โดยเฉพาะในฮอลลีวู๊ด
ที่สำคัญ มีใครคิดเหมือนผมบ้างไหม
"ว่าเป็นคนไทย ทำไมจะต้องทำแต่หนังไทย ทำไมเราไม่คิดที่จะทำหนังต่างชาติ แต่ทำจากคนไทยบ้าง เพื่อสร้างชื่อ สร้างเงิน และสร้างงานให้กับคนไทย รวมทั้งสามารถทำให้วงการหนังไทยเข่าสู่ระดับสากล"
อยากเห็นคนไทยเอาเรื่องของ คิม ฟุค ไปทำบ้างจังครับ ทำด้วยความเป็นสากล แล้วนำเสนอไปทั่วโลก ซึ่งที่จริงแล้วถ้าเอาจริงๆ ก็ทำได้นะ เพราะบ้านเมืองเราก็คล้ยๆ เวียตนาม บรรยากาศ อุณหภูมิสีที่มีต่อผลของฟิลม์ ดารา หรือนักแสดงก็คล้ายๆ กับคนเวียดนาม...เราก็น่าจะทำได้นะ
จริงๆ นะ
แต่ถ้าไม่ทำเรื่องนี้ก็ยังมีอีกมากมายหลายเรื่องให้ทำ ตัวอย่างก็อาจจะเป็นหนังเรื่อง "เนรคุณ" (narakoon) หรือ The Betrayal ที่นำเสนอเรื่องของชาวลาว จากการกำกับของฝรั่ง
เนรคุณ คือภาพยนตร์สารคดีชีวิตจริงของหนุ่มชาวลาวนาม ทะวีสุก พระสะวัติ(Thavisouk Phrasavath) ผู้ลี้ภัยจากสงครามการกวาดล้างฝ่ายปรปักษ์ของ รัฐบาลสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว หลังมีชัยต่อ รัฐบาลประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนา อันส่งผลให้ประเทศลาวมีระบอบการปกครองแบบ สังคมนิยมคอมมิวนิสต์ หรือ ระบอบประชาธิปไตยประชาชน นับจากนั้นตราบจนปัจจุบัน
พ่อของทะวีสุก ถูกขึ้นบัญชีประกาศเป็นศัตรูของชาติ! และถูกจับเป็นเชลย จนถูกส่งเข้าแคมป์เชลยทำงานหนักเยี่ยงทาส ทำให้ทะวีสุกในวัย 12 ปี และครอบครัวอีก 9 คน ซึ่งขาดแต่เพียงผู้เป็นบิดา ต้องพลัดพรากหนีหัวซุกหัวซุน ทิ้งผืนแผ่นดินเกิดไว้เบื้องหลัง เด็กชายทะวีสุก ได้หาทางหนีด้วยการใช้ถุงพลาสติกสองใบเป่าลมให้พอง-พยุงตัว ตะเกียดตะกายว่ายข้ามแม่น้ำโขงมาฝั่งไทย! หวังพึ่งพิงประคองชีวิตเอาตัวรอดไปวันๆ ในแคมป์ผู้อพยพบริเวณชายแดนประเทศไทย จนได้พบกับครอบครัว (ยกเว้นบิดา) ในอีกสองปีต่อมา ก่อนที่จะเดินทางลี้ภัยสู่ประเทศที่สามต่อไป
...เพียงแต่โลกแห่งความจริงมักไม่เป็นดังฝัน และมันโหดร้ายเสมอ เมื่อนายหน้าซึ่งเป็นผู้จัดการเป็นธุระนำพวกเขา ลี้ภัยมาอยู่อเมริกา กลับเชิดเงินหนี! อย่างไร้ความรับผิดชอบต่อ 10 กว่าชีวิต การมองโลกในแง่ดีของทะวีสุก และคนในครอบครัวจึงค่อยๆ จางหายไป... 10 กว่าชีวิตแออัดเบียดเสียดอยู่ในห้องเล็กๆ ของสลัมย่านบรุ๊คลิน ในนิวยอร์ค สารพัดปัญหาคอยกัดกินกำลังใจให้ท้อแท้หมองหม่นอยู่เสมอ โดยเฉพาะความลำบากจากวัฒนธรรมตะวันตก ที่แตกต่าง เพราะทะวีสุกและครอบครัวเคยชินกับรูปแบบของวัฒนธรรมตะวันออกอันทรงคุณค่า จนทำให้เกิดปัญหาในการปรับตัว กลายเป็นความเครียด-หมองหม่นในครอบครัว
แต่ก่อนที่ครอบครัวจะเผชิญกับความแตกแยก ทะวีสุกจึงดิ้นรนปรับตัวตนให้เข้ากับบทบาทสองด้าน ได้แก่ผู้นำครอบครัว และพี่ชายคนโต เพื่อพยายามทำให้ครอบครัวอันแสนสุขคืนมาอีกหน รวมทั้งรักษาความเป็นลาวไว้ไม่ให้สูญหายไปท่ามกลางคลื่นวัฒนธรรมตะวันตกที่พวกเขาแทรกตัวเข้า สะท้อนถึง ความแข็งแกร่งที่คนทุกคนจำเป็นต้องมี เพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขชีวิตให้ดีขึ้น
...และไม่น่าเชื่อว่า คนหนุ่มผู้ไร้ผืนแผ่นดินแม่ จะสามารถสร้างตัวเอง หยัดยืน อดทนสู้ จนประสบความสำเร็จ ได้ไกลกว่าที่ใครสักคนจะคาดคิด!... การทำงานเป็นล่ามให้ชาวลาวในเมืองนิวยอร์ค , การทำงานในองค์กรขอบข่ายของการช่วยเหลือ ปกป้อง เกี่ยวกับเยาวชน และครอบครัวจากแก็งอันธพาล ที่ชื่อว่า Church avenue merchants block association, การเป็นสมาชิกของ Area policy board member
คือส่วนหนึ่งของงานที่ทะวีสุก ต้องทำเพื่อหาเงินส่งเสียตัวเอง และน้องๆ ให้ได้เล่าเรียน เป็นการสร้างคุณค่าในตัวตนได้อย่างน่าชื่นชม แต่สิ่งอันน่าภาคภูมิสำหรับตัวเขา และครอบครัว นั่นก็คือการเรียนจบปริญญาตรีด้วยเกียรตินิยม จาก Pratt Institute ปริญญาตรีวิชา วิศวกรรมไฟฟ้า!
หลังจากจบการศึกษาทะวีสุก ได้ทำงานทางด้านกำกับและสร้างสรรค์มิวสิควีดีโอสำหรับเหล่าศิลปินอิสระ รวมถึงการเป็นศิลปิน สร้างสรรค์บทกวี เป็นต้น...และต่อมา ทะวีสุกก็ได้พบกับ เอเลน คูลัสผู้กำกับภาพชื่อดังในภาพยนตร์หลายๆ เรื่อง เช่น สารคดี No Direction Home: Bob Dylan , Bamboozled (2000), Personal Velocity: Three Portraits (2002) , และ Analyze That (2002) เหตุเพราะคูรัส ต้องการสร้างภาพยนตร์ เกี่ยวกับชาวลาว สืบเนื่องจากการเห็นชุมชนชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ใกล้ที่ฝึกงาน และรับรู้ถึงเรื่องของชาวม้ง ชาวเขมร และชาวเวียดนามมาบ้างแต่ไม่รู้จัก ชาวลาว มาก่อนเลย แต่เมื่อเธอได้พบกับชาวลาวครอบครัวหนึ่ง...นั่นจึงเป็นแรงบันดาลใจให้คูรัส ต้องการสร้างภาพยนตร์ที่เกี่ยวกับชาวลาวขึ้นมาบ้าง
...แต่ก่อนอื่น เธอต้องพอรู้ภาษาลาวบ้าง จึงทำการค้นหาผู้ที่สามารถสอนภาษาลาว และนั่น ทำให้ได้พบกับ ทะวีสุกในวัย 19 ปี และเมื่อครูกับนักเรียนได้ทำความรู้จัก และเรียนรู้ซึ่งกันและกันหลายๆ ครั้ง ก็ทำให้เธอได้พบ เรื่องราวของชาวลาวที่น่าจะนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์แล้ว
...นั่นก็คือ เนรคุณ จาก ชีวิตจริงที่ปวดร้าว ตกต่ำ แต่ไม่ย่อท้อของทะวีสุก...
ขอบคุณครับ (อยากให้ลองดูตัวอย่างของหนังเรื่อง เนรคุณดูนะครับ)
และหวังเหมือนกัน ว่าอาจจะมีนายทุน ผู้กำกับ ผู้บริหารค่ายหนัง เข้ามาอ่านกระทู้นี้ และอาจจะมีแนวคิด ที่จะทำหนังไทยแต่ไม่ใช่หนังไทย เน้นที่ตลาดต่างประเทศบ้าง อย่างเนรคุณใช้ทุนน้อย แต่ก็ได้รางวัล--ขายตลาดนอกก็คงไม่ขาดทุนนะครับ)
แก้ไขเมื่อ 02 พ.ย. 52 04:49:36
แก้ไขเมื่อ 02 พ.ย. 52 04:48:25
แก้ไขเมื่อ 02 พ.ย. 52 04:40:29
แก้ไขเมื่อ 02 พ.ย. 52 04:39:34
จากคุณ |
:
เอ๋taxiครับผม
|
เขียนเมื่อ |
:
วันลอยกระทง 52 04:34:00
|
|
|
|
 |