 |
ความคิดเห็นที่ 16 |
|
สัญญาดั้งเดิมคือ บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นท์หรือช่อง 3 ต้องจ่ายให้ อสมท. 6.5% ของรายได้ต่อปี ต่อมาในปี 2533 สมัย ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง เป็น รมต.สำนักนายกรัฐมนตรี ดูแลกำกับ อสมท. ช่อง 3 ได้มีการร้องขอแก้ไขสัญญาจากเดิมต้องจ่าย 6.5% ของรายได้ เป็นการจ่ายแบบขั้นบันได ปีละประมาณ 100 - 200 ล้านบาท ใน 20 ปีแรก และจะมีการต่ออายุสัญญาสัมปทานอีก 10 ปี ในวงเงิน 2002 ล้านบาท เฉลี่ยปีละ 200 ล้านบาท โดยช่อง 3 มองว่าเป็นการต่อสัญญาอัตโนมัติ ส่วน อสมท. มองว่า ไม่ใช่การต่ออัตโนมัติ
ปัจจุบันนี้รายได้ของบีอีซี ปีละประมาณ 8,000 ล้านบท ถ้ายึดตาม 6.5% ก็ต้องจ่ายปีละประมาณ 520 ล้านบาท เป็นอย่างน้อย
อย่าง IBC ก็จ่ายค่าสัปปทานให้ อสมท. ในอัตรา 6.5% ของรายได้ค่าสมาชิกให้ อสมท. ซึ่งเป็นสัญญาเดิมตั้งแต่เริ่มแรก แม้จะเปลี่ยนชื่อเป็น UBC แล้วก็ตาม
-------------
มาว่ากันที่ช่อง 7 ซึ่งดำเนินการโดย บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด (BBTV) ตามข่าวและข้ออ้างอิงต่าง ๆ ก็คือ ช่อง 7 จ่ายให้กองทัพบก ปีละ 250 ล้านบาท แลกกับสัญญาสัมปทานที่จะไปสิ้นสุดในปี 2565
โดยทรัพย์สินทุกอย่างของช่อง 7 ไม่ว่าจะเป็นที่ดิน อาคารสิ่งปลูกสร้าง เสาส่ง เครื่องส่ง ของช่อง 7 ทุกชิ้น จะตกเป็นทรัพย์สิน ของกองทัพบก นอกจากนี้ ยังต้องมีหน้าที่ขยายเครือข่ายให้กับ ททบ. 5 ด้วย (กี่สถานีก็ตามที่ระบุในสัญญา)
โดยเริ่มแรกของการออกอากาศช่อง 5 ในระบบสี ทางช่อง 7 เป็นผู้ลงทุนในอุปกรณ์เครื่องส่งและเสาส่งสัญญาณให้ทั้งหมดให้กองทัพบก ดำเนินการออกอากาศ ททบ.5 ก่อนที่กองทัพบกจะจัดหามาเพิ่มเติมเองในภายหลัง
ส่วนสัญญาของช่อง 7 กับการกองทัพบก เหมือนจะมีอยู่ 1 ข้อ ที่กำหนดไว้ว่า ห้ามไม่ให้มีเปลี่ยนแปลงสภาพบริษัท ผู้รับสัมปทาน ทำให้ความพยายามในการนำบริษัทเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ไม่เป็นผล เนื่องจากยังไม่สามารถแก้ไขสัญญาในข้อนี้ได้ ทำให้ช่อง 7 ต้องดำเนินการเข้าตลาดหุ้นทางอ้อม โดยการให้บริษัทลูกหลาย ๆ บริษัท เข้าไปซื้อหรือถือหุ้นใหญ่ในหลาย ๆ บริษัท เพื่อเพิ่ม ศักยภาพของตนเอง
อย่างล่าสุด ก็เข้าไปซื้อหุ้นใหญ่ แมชชิ่งสตูดิโอ บริษัทด้านบันเทิงที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ เพื่อเป็นหัวหอกรุกด้านบันเทิง แทนมีเดียส์ออฟมีเดียส์ ที่จะหันไปโฟกัสธุรกิจอสังหาริมทรัพย์แทน
จากคุณ |
:
ฉันกับวันเหงา ๆ
|
เขียนเมื่อ |
:
4 พ.ย. 52 10:50:07
|
|
|
|
 |