Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
นำเพลงมาให้ฟังครับ เพลง君が代(Kimigayo) เพลงชาติของญี่ปุ่น  

ตามหัวข้อเลยครับ หลายคนอาจจะเคยฟังกันบ้างแล้ว ลองฟังกันอีกครั้งนะครับ

ประวัติเล็กๆน้อยๆ

คิมิงะโยะ (君が代 ) เป็นเพลงชาติของประเทศญี่ปุ่น นับได้ว่าเป็นเพลงชาติที่สั้นที่สุดในโลก

เนื้อเพลงนั้นมาจากบทกลอนประเภทวะกะในยุคเฮอังของญี่ปุ่น (ระหว่าง ค.ศ. 794-1185) ส่วนทำนองเพลงนั้น ได้ประพันธ์ขึ้นใหม่ในยุคเมจิ

โดยทำนองแรกสุดนั้นประพันธ์โดยนักดนตรีชาวไอริชเมื่อ ค.ศ. 1869 ภายหลังราชสำนักญี่ปุ่นจึงเลือกใช้ทำนองเพลงใหม่

ซึ่งเรียบเรียงโดยนักดนตรีชาวญี่ปุ่น เป็นทำนองของเพลงคิมิงะโยะในปัจจุบัน เมื่อ ค.ศ.1880

เนื้อร้องของเพลงคิมิงะโยะนั้น เดิมเป็นบทกลอนยุคเฮอังที่ไม่ทราบว่าผู้ใดแต่งไว้ ปรากฏอยู่ในหนังสือโคะคินวะกะชู หรือ "ประชุมบทร้อยกรองแบบวะกะ"

ผู้แต่งกวีบทนี้อาจเป็นที่รู้จักกันทั่วไปในเวลานั้น แต่ชื่อของเขาไม่ได้รับการบรรจุไว้ในหนังสือดังกล่าว เพราะกวีผู้นั้นอาจมีฐานะทางสังคมที่ตำก็ได้

เพราะกวีในยุคนั้นมักจะไม่ใช่ชนชั้นสามัญชน บทกวีคิมิงะโยะนี้ปรากฏอยู่ในประชุมบทร้อยกรองหลายฉบับ

และถูกใช้ในยุคต่อๆ มาในลักษณะของเพลงเฉลิมแลองของผู้คนในสังคมชั้นสูง ทั้งนี้ ตอนต้นของบทกวีดังกล่าวมีเนื้อหาต่างจากที่ใช้เป็นเพลงชาติในปัจจุบัน

โดยฉบับเดิมจะขึ้นต้นว่า "วะ งะ คิมิ วะ" ("Wa ga Kimi wa", "ท่านผู้เป็นนายของข้า") เนื้อร้องของเพลงนี้ต่อมาได้เปลี่ยนแปลงไปในช่วงยุคคามาคุระ (ค.ศ. 1185 - 1333) เป็น "คิมิ งะ โยะ" (แปลตามตัวคือ "สมัยของท่าน")

ในปี ค.ศ. 1869 ในช่วงต้นของยุคเมจิ จอห์น วิลเลียม เฟนตัน (John William Fenton) ผู้นำวงโยธวาทิตชาวไอริช ซึ่งได้เดินทางมาเยือนญี่ปุ่น ได้ตระหนักว่าประเทศญี่ปุ่นยังไม่มีเพลงชาติของตนเอง

จึงได้แนะนำให้อิวะโอะ โอยะมะ ข้าราชการชาวญี่ปุ่นแห่งแคว้นซัตสึมะ ซึ่งโอยะมะะก็เห็นด้วยและได้เลือกเอาบทกวีคิมิงะโยะมาใช้เป็นบทร้องของเพลงชาติ

เป็นไปได้ว่าที่มีการเลือกเอาบทกวีคิมิงะโยะมาใช้ เพราะเนื้อหาของเพลงคล้ายคลึงกับเพลงก็อดเซฟเดอะควีนของอังกฤษ โดยได้รับอิทธิพลทางความคิดจากเฟนตันสร้างเพลงชาติขึ้น

หลังจากที่ได้เนื้อร้องแล้ว โอยะมะจึงร้องขอให้เฟนตันช่วยประพันธ์ทำนองเพลง เขาจึงใช้เวลาในการแต่งทำนองเพลง 3 สัปดาห์ และใช้เวลาในการซ้อมนักดนตรีในเวลาไม่กี่วัน

ก่อนจะบรรเลงเพลงนี้ต่อเบื้องพระพักตร์ของพระจักรพรรดิในปี ค.ศ. 1870 ทำนองเพลงดังกล่าวนี้คือทำนองฉบับแรกของเพลงคิมิงะโยะ ซึ่งต่อมาได้เลิกใช้ด้วยเหตุผลว่า ทำนองนี้ "ยังขาดความเคร่งขรึม"

เพลงคิมิงะโยะทำนองนี้ปัจจุบันยังคงมีการบรรเลงปีละครั้ง ที่ศาลเจ้าเมียวโคจิ เมืองโยโกฮามา ซึ่งเป็นศาลเจ้าที่สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแต่เฟนตัน ผู้ได้รับหน้าที่เป็นผู้นำวงโยธาวาทิตของญี่ปุ่นประจำเมืองนี้

ในปี ค.ศ. 1880 สำนักพระราชวังของญี่ปุ่นได้เลือกทำนองเพลงคิมิงะโยะใหม่ ซึ่งประพันธ์โดย โยะชิอิสะ โอกุ และอะกิโมะริ ฮะยะชิ ผู้ประพันธ์เพลงอีกคนหนึ่งที่มักจะถูกกล่าวถึงรวมอยู่ในกลุ่มผู้แต่งทำนองนี้ด้วย

คือ ฮิโระโมะริ ฮะยะชิ ซึ่งเป็นผู้ดูแลงานของทั้งสองคน และยังเป็นพ่อของ อะกิโมะริ ฮะยะชิ อีกด้วย ทั้งนี้ ตัวอะกิโมะริเองก็เป็นลูกศิษย์คนหนึ่งของเฟนตันด้วย

แม้ทำนองใหม่นี้จะมีพื้นฐานจากทำนองเพลงของราชสำนักโบราณก็ตาม แต่ก็มีการผสานเข้ากับดนตรีประเภทเพลงสรรเสริญ (hymn) ของชาติตะวันตก และใช้บางส่วนที่เฟนตันได้เรียบเรียงไว้แต่เดิมด้วย

โดยฟรานซ์ เอ็คเคิร์ต (Franz Eckert) นักดนตรีชาวเยอรมัน ได้ปรับปรุงทำนองเพลงนี้ให้มีความกลมกลืนแบบตะวันตกมากยิ่งขึ้น นับได้ว่าเป็นการสร้างเพลงคิมิงะโยะฉบับที่ 2 และเป็นฉบับที่ใช้ในปัจจุบัน

และนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1893 เป็นต้นมา เพลงคิมิงะโยะได้ถูกบรรจุให้ใช้ในพิธีการของโรงเรียนรัฐบาลด้วยการผลักดันของทางกระทรวงศึกษาธิการญี่ปุ่น เพลงนี้บรรเลงด้วยบันไดเสียง ซี เมเจอร์

อ้างอิง : Web-Japan.org National Flag and Anthem
           About.com Japanese national anthem - Kimigayo
           http://th.wikipedia.org/wiki/

ข้างล่างเป็นเสียงของ koyanagi yuki ครับ เพราะมาก(แต่เธอบ้าพลังไปนิด บางท่อนเลยดูขัดๆหู)

จากคุณ : ตุ้มเม้งใช่มะ??
เขียนเมื่อ : 26 พ.ย. 52 03:19:03




ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com