 |
ความคิดเห็นที่ 184 |
ชอบภาพยนตร์เรื่องนี้มากๆ เหมือนกันครับ 
ในฐานะคนไทย - ผมเชื่อว่าแทบทุกคนต้องชอบหนังเรื่องไม่จุดใดก็จุดหนึ่งเป็นอย่างน้อย เพราะมันเป็นหนังที่มากกว่าหนัง เป็นเรื่องความเป็นไทยที่จำได้ว่าในตอนนั้นก็ทำเอาคนไม่คิดจะดูหนังดนตรีไทย (เช่นผม) ต้องหงายหลังไปเลย
ในฐานะคนรักภาพยนตร์ทั่วๆ ไป - ก็เป็นหนึ่งในภาพยนตร์ไทยที่ดีเรื่องหนึ่งครับ ชื่นชมตรงที่เค้าดึงเอาความเป็นชาตินิยมมา "จับ" หัวใจคนดู (คนไทย) ได้อยู่หมัด
แต่สิ่งหนึ่งที่ภาพยนตร์แนวชาตินิยมทั้งหลายมีจุดอ่อนคล้ายๆ กันคือ ถ้าตัดความเป็นชาตินิยมออกไป เหลือเฉพาะโครงสร้างหนัง มันก็อาจกลายเป็นภาพยนตร์ธรรมดาๆ ไร้ความประทับใจไปได้เช่นกัน
ต่อมา
เรื่องที่ 2 เรื่องกระแสวัฒนธรรม-ชาตินิยม ฯลฯ หลายๆ ท่านพูดไปหมดแล้ว และผมก็เห็นด้วย จึงไม่มีอะไรจะเพิ่มเติมในแง่มุมนั้น เช่นนั้น ผมก็ขอเป็นอีกด้านหนึ่งของลูกเต๋า ที่ขอพูดในอีกแง่มุมหนึ่งในเรื่องนี้บ้างเช่นกันนะครับ
คือ อยากฝากกระตุกเตือนเหมือนกัน ว่าทุกอย่างต้องมีความพอดี ไม่มากเกิน ไม่น้อยเกิน แม้แต่ความรักและหวงแหนความเป็นเผ่าพันธ์หรือชนชาติตัวเอง ถ้ารักมากเกินไป ก็ย่อมมีผลเสียเหมือนทุกๆ เรื่องในโลกนี้เช่นกัน
สิ่งที่ผมอยากให้เป็น คือ สร้างรากฐานของเราให้เข้มแข้ง เปิดโอกาสให้วัฒนธรรมของเราให้มากเท่าที่จะทำได้ "โดยไม่ต้องต่อว่า-ปิดกั้นวัฒนธรรมอื่น"
ถามว่า ที่ผมกล่าวไปว่า "เปิดโอกาสให้วัฒนธรรมของเรา" นั้นทำอย่างไร ก็มันไม่มีคนสนใจนี่นา ใครทำก็เจ๊ง ครั้นแล้ว นั่นจึงเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้เราต้องมีผู้นำประเทศหรือรัฐบาล รัฐบาลมิใช่บริหารแต่ชีวิตความเป็นอยู่ แต่ต้องรวมถึงตัวตนของเราด้วย จุดนี้เองที่รัฐฯจะเป็นฝ่ายเริ่มได้ เพราะรัฐฯย่อมไม่ต้องคาดหวังผลกำไรจากการพยายามดำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมของเรา (ต่างจากธุรกิจเอกชน)
สั้นๆ แค่นี้ก่อนนะ
อีกประการต่อมา ก็อยากให้ "แยกแยะ" ให้ชัดเจน ว่าอันไหนคือ "วัฒนธรรรมรากเหง้า" กับ "วัฒนธรรมมนุษย์ทั่วไป" ในข้อแรก เราไม่ต้องสนใคร ไม่ต้องง้อใคร เราอยากรำ, ใส่ชุดไทย, ฟังเพลงไทย, ใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง ฯลฯ ก็ทำไป เพราะมันคือตัวตนของเรา รากเหง้าของเรา
แต่ในข้อที่ 2 คือ "วัฒนธรรมมนุษย์ทั่วไป" ซึ่งนั่นเป็นความจำเป็น/ความต้องการพื้นฐานสากลซึ่งวิวัฒน์ไปทั้งโลก ดังนั้นการับเอาวัฒนธรรมในส่วนนี้เข้ามา จึงไม่น่าเป็นความผิดหรือเป็นการทำลายรากเหง้าตัวเองแต่อย่างใด เช่นว่า ถ้าฝั่งตะวันตก คิดวิธีการสื่อสารแบบใหม่ที่ดีขึ้น (สะดวก, ประหยัด ฯลฯ) เราก็รับเอามาได้ เพราะคนทั้งโลกก็จำเป็นต้องสื่อสารกันไม่ว่าชนชาติไหน แม่ก็อยากคุยกับลูก, พ่ออยากคุยกับแม่, ประชุมธุรกิจ, ประสบอุบัติเหตุ ฯลฯ สมมุติว่า ถ้าอีกหน่อยมีการใช้โทรศัพท์พูดคุยโดยการเห็นหน้ากัน ก็อยากให้คิดว่านั่นเป็นวัฒนธรรมพื้นฐาน ไม่ใช่การทำลายรากเหง้าแต่อย่างใดนะ
กลับกัน บางอย่างเข้ามามีอิทธิพลไม่ใช่ด้วยเพราะความเป็นพื้นฐานสากลของมัน แต่กลับเป็นเพราะ "ความแตกต่าง" (ที่เราทึกทักว่าดีกว่า) ของมัน เช่น แป้งตลับทาหน้า ที่ผมเชื่อเหลือเกินว่าคนไทยก็ผลิตได้ และไม่ได้ทำให้คนไทยดูสวยน้อยไปกว่าคนเกาหลี
กรณีดังกล่าวนี้คือ "เกินไป"
"โลก" ก็เปรียบเหมือน "บ้านหลังใหญ่" หรือไม่ก็ "ประเทศ" ประเทศหนึ่ง ดังนั้นหากจะปิดตัวเองโดยสิ้นเชิงก็ทำกับโยนความได้เปรียบที่สำคัญยิ่งของการเป็นมนุษย์ซึ่งก็คือการติดต่อสือสารแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความรู้ความเข้าใจทิ้งไปเสีย แต่ในอีกมุมหนึ่ง ด้วยนิสัยแก่งแย่งชิงดีของมนุษย์ทำให้เราต้องดูแลตัวเองไว้ในระดับหนึ่งเช่นกัน
อันไหนทำได้เอง เราก็ทำเอง ส่วนอันไหนทำไม่ได้ ก็แลกเปลี่ยน/สื่อสารกับคนอื่นๆ ในสังคมโลกนี้ เราทั้งหมดก็คนเหมือนกัน หาใช่ความผิดไม่ และสุดท้าย.. หากเราไม่อาจวิ่งตามสังคมโลกนี้ได้ทัน มันก็อาจหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ท้ายที่สุดแล้วเราต้องถูกดูดกลืนไปกับกระสังคมโลกอันกว้างใหญ่นัก เช่นกัน
จากคุณ |
:
art_sarawut
|
เขียนเมื่อ |
:
8 ก.พ. 53 16:46:26
|
|
|
|
 |