 |
ความคิดเห็นที่ 417 |
#415 จะเอาข้อมูล ก็นี่ไง
กรณีการแก้ไขสัญญาอนุญาตให้ดำเนินกิจการบริการโทรศัพท์ เป็นการเอื้อประโยชน์แก่บริษัท ชินคอร์ป และบริษัท เอไอเอส แยกได้ 2 กรณี คือ กรณีที่ 1 กรณีการแก้ไขสัญญาอนุญาตให้ดำเนินกิจการบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ครั้งที่ 7 เพื่ออนุญาตให้ใช้เครือข่ายร่วม และให้หักค่าใช้จ่ายจากรายรับ เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2533 บริษัท เอไอเอส เข้าร่วมดำเนินกิจการบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ กับ ทศท มีกำหนดอายุสัญญา 20 ปี โดยบริษัทเอไอเอส จะต้องจ่ายเงินผลประโยชน์ตอบแทนให้ ทศท เป็นรายปี ตามจำนวนเงินผลประโยชน์ตอบแทนขั้นต่ำ หรือในอัตราร้อยละ โดยถือเอาจำนวนเงินที่มากกว่า และจัดทำข้อตกลงต่อท้ายสัญญาหลัก ครั้งที่ 4 ลงวันที่ 20 กันยายน 2539 ขยายระยะเวลาสัญญาเป็น 25 ปี และเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2544 บริษัท เอไอเอส มีหนังสือขอเปิดการให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ไปให้ผู้อื่นร่วมใช้กับบริษัทดีพีซี ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2544 ต่อ ทศท โดยจะนำมาแบ่งผลประโยชน์ให้ ทศท ตามอัตราร้อยละ ในสัญญาหลัก มีหนังสือลงวันที่ 3 กันยายน 2544 ขอเปิดเนชั่นแนลโรมมิ่ง (National Roaming) กับบริษัท เอเซีย พรีชาแนล เซอร์วิส จำกัด ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2544 โดยคิดค่าใช้เครือข่ายร่วมในอัตราพื้นที่เดียวกัน 6 บาทต่อนาที และต่างพื้นที่ 12 บาทต่อนาที โดยจะนำมาแบ่งผลประโยชน์ให้ ทศท ตามอัตราในสัญญาหลัก และมีหนังสือลงวันที่ 21 สิงหาคม 2545 เสนอหลักการการใช้เครือข่ายร่วมกัน ทั้งกรณีที่ผู้ให้บริการรายอื่นมาใช้เครือข่ายของบริษัทเอไอเอส และบริษัทเอไอเอสไปใช้เครือข่ายของผู้ให้บริการรายอื่น โดยขอหักค่าใช้จ่ายจากการใช้เครือข่ายร่วมออกจากรายรับก่อนนำส่ง ทศท เพื่อพิจารณาในการประชุมคณะกรรมการ ทศท ครั้งที่ 2/2545 เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2545 ว่า รายได้จากผู้ให้บริการรายอื่น มาใช้เครือข่ายของบริษัท เอไอเอส ยังต้องนำมาคำนวณส่วนแบ่งรายได้ตามสัญญาหลัก ส่วนรายจ่ายของบริษัทเอไอเอส จากการใช้เครือข่ายของผู้ให้บริการรายอื่นถือเป็นภาระหน้าที่ สำหรับรายจ่ายของบริษัทเอไอเอส ที่จะต้องขยายเครือข่ายให้สามารถรองรับการให้บริการ ต่อมาบริษัท เอไอเอส มีหนังสือลงวันที่ 26 สิงหาคม 2545 เสนอขอปรับหลักการใช้เครือข่ายของบริษัทเอไอเอส และกรณีบริษัทเอไอเอสเข้าไปใช้โครงข่ายร่วมของผู้ให้บริการรายอื่น วันที่ 5 กันยายน 2545 คณะกรรมการ ทศท อนุมัติให้บริษัท เอไอเอส ดำเนินการตามที่ขอได้ ในอัตรานาทีละไม่เกิน 3 บาท ทั่วประเทศ ในกรณีที่บริษัท เอไอเอส ให้ผู้ให้บริการรายอื่นมาใช้โครงข่ายร่วมกัน บริษัทเอไอเอสจะนำมาใช้คำนวณส่วนแบ่งรายได้ให้แก่ ทศท กรณีที่บริษัทเอไอเอส ไปใช้โครงข่ายกับเครือข่ายผู้ให้บริการรายอื่น บริษัท เอไอเอส จะนำรายได้จากค่าใช้บริการที่บริษัท เอไอเอส เรียกเก็บจากผู้ใช้บริการหลัก หักด้วยค่าใช้โครงข่ายร่วมกันที่บริษัทเอไอเอสจ่ายให้แก่เจ้าของเครือข่ายก่อน จึงจะนำมาคำนวณส่วนแบ่งรายได้ให้แก่ ทศท ต่อไป ทศท และบริษัท เอไอเอส ได้ลงนามในข้อตกลงต่อท้ายสัญญาอนุญาตให้ดำเนินกิจการบริษัทโทรศัพท์เคลื่อนที่ ครั้งที่ 7 ลงวันที่ 20 กันยายน 2545 โดยนายสุธรรม มะลิลา ในฐานะผู้แทนฝ่าย ทศท และนายบุญคลี ปลั่งศิริ ในฐานะผู้แทนฝ่ายบริษัทเอไอเอส มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2545 เป็นต้นไป กรณีที่ 2 กรณีการปรับลดอัตราการใช้เครือข่ายร่วมระหว่าง กสท กับบริษัท ดีพีซี ตามสัญญา ให้ดำเนินการให้บริการวิทยุคมนาคมเซลลูลาร์ ดิจิตอล พีซีเอ็น 1800 ลงวันที่ 19 พฤศจิกายน 2539 กับ กสท รวมระยะเวลา 17 ปี ซึ่งบริษัท ดีพีซี จะต้องจ่ายเงินผลประโยชน์ตอบแทนให้ กสท เป็นรายปี ตามจำนวนเงินผลประโยชน์ตอบแทนขั้นต่ำ หรือในอัตราร้อยละ โดยถือเอาจำนวนเงินที่มากกว่า ต่อมาในเดือนธันวาคม 2544 บริษัท เอไอเอส เข้าถือหุ้นในบริษัท ดีพีซี เกินกว่าร้อยละ 90 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด ทำให้กลุ่มบริษัทดังกล่าวเป็นกลุ่มเดียวกัน วันที่ 27 พฤศจิกายน 2545 กสท มีหนังสือลงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2545 อนุมัติให้บริษัท ดีพีซี ใช้เครือข่ายร่วมกับบริษัท เอไอเอส นับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2545 โดยมีเงื่อนไขว่า กสท จะคิดผลตอบแทนรายได้ที่บริษัท เอไอเอส ใช้เครือข่ายร่วมกับเครือข่ายของบริษัท ดีพีซี ในอัตรานาทีละ 2.10 บาท นับแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2545 เป็นต้นไป และบริษัท ดีพีซี จะต้องจัดส่งแผ่นบันทึกข้อมูลซีดีอาร์การใช้งาน ให้ กสท ตรวจสอบทุกไตรมาส บริษัท ดีพีซี มีหนังสือลงวันที่ 26 ตุลาคม 2548 ถึง กสท แจ้งขอปรับลดอัตราค่าใช้เครือข่ายร่วม จากนาทีละ 2.10 บาท เหลือนาทีละ 1.10 บาท และมีหนังสือวันที่ 9 มกราคม 2549 ถึงกรรมการผู้จัดการใหญ่ กสท ขอปรับลดอัตราค่าใช้เครือข่ายร่วม จากนาทีละ 2.10 บาท เหลือนาทีละ 1.10 บาท กับมีหนังสือลงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2549 ขอให้ทบทวนเพื่อให้ กสท อนุมัติคำขอของบริษัท ดีพีซี วันที่ 28 มิถุนายน 2549 นายพิศาล จอโภชาอุดม กรรมการผู้จัดการใหญ่ กสท ได้อนุมัติปรับลดอัตราค่าใช้เครือข่ายร่วม แก่บริษัท ดีพีซี ซึ่งบริษัท ดีพีซี นำส่งรายได้แก่ กสท ในอัตราที่ปรับลด 1-1.10 บาทต่อนาที ก่อให้เกิดความเสียหายต่อ กสท จากการปรับลดอัตราค่าใช้เครือข่ายร่วมดังกล่าว เป็นเงิน 796,223,110 บาท จนกระทั่งต่อมา วันที่ 24 มีนาคม 2551 กสท จึงมีหนังสือลงวันที่ 24 มีนาคม 2551 แจ้งให้ บริษัท ดีพีซี ดำเนินการคำนวณค่าใช้บริการเครือข่ายร่วม ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2550 จนถึงปัจจุบัน ในอัตรานาทีละ 2.10 บาท และให้นำส่งผลตอบแทนแก่ กสท ต่อไป การจัดทำข้อตกลงต่อท้ายสัญญาให้ดำเนินกิจการบริษัทโทรศัพท์เคลื่อนที่ ครั้งที่ 7 เพื่ออนุญาตให้ใช้เครือข่ายร่วม และให้หักค่าใช้จ่ายจากรายรับและการปรับลดอัตราค่าใช้เครือข่าย ไม่ได้ดำเนินการให้ถูกต้องตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงาน หรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 ตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกฤษฎีกา คณะพิเศษ เรื่องเศษที่ 291/2550 ขัดต่อข้อกำหนดสัญญาอนุญาตให้ดำเนินกิจการบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ฉบับ... ลงวันที่ 27 มีนาคม 2533 ข้อ 9 ข้อ 16 และข้อ 30 ปรากฏว่าจากเดือนตุลาคม 2545 ถึงเดือนเมษายน 2551 ที่มีการยินยอมให้หักค่าใช้เครือข่ายร่วม พบว่ามีการเข้าไปใช้เครือข่ายร่วมระหว่างบริษัท เอไอเอส กับบริษัท ดีพีซี 13,283,420,483 นาที กสท ขาดรายได้กว่า 6,960,359,401 บาท และ กสท จะต้องสูญเสียผลประโยชน์ที่ควรจะได้รับจนสิ้นอายุสัญญาสัมปทาน ไม่น้อยกว่า 18,175,359,401 บาท และกรณีที่บริษัท ดีพีซี ซึ่งเป็นเจ้าของเครือข่ายที่บริษัท เอไอเอส เข้าไปใช้เครือข่ายร่วมมาก คิดเป็นปริมาณ 13,283,400,220 นาทีเศษ บริษัท เอไอเอส สามารถหักค่าใช้จ่ายต่อ กสท จากการใช้เครือข่ายดังกล่าวได้ ในทางกลับกัน บริษัท ดีพีซี เข้าไปใช้เครือข่ายของบริษัท เอไอเอส ในปริมาณ 384,323,146 นาที ไม่สามารถหักค่าใช้จ่ายดังกล่าวก่อนนำส่งส่วนแบ่งรายได้ให้แก่ กสท แต่อย่างใดทั้งที่เป็นกรณีเดียวกัน และจากการตรวจสอบทางทะเบียนผู้ถือหุ้น ปรากฏว่า เมื่อปี 2544 บริษัท เอไอเอส เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท ดีพีซี สัดส่วนเกินกว่าร้อยละ 90 และมีการถือหุ้นดังกล่าวต่อเนื่องจนกระทั่งปัจจุบัน ในสัดส่วนร้อยละ 98.55 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด ประกอบกับผู้บริหารบริษัท ดีพีซี เป็นผู้บริหารที่มาจากบริษัท เอไอเอส ร้อยละ 90 จึงถือได้ว่าบริษัททั้งสองเป็นบริษัทเดียวกัน และบริษัท เอไอเอส มีเจตนาที่จะใช้เครือข่ายของบริษัทตนเองโดยที่บริษัท เอไอเอส ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการใช้เครือข่ายดังกล่าวตามข้อกำหนดในสัญญาหลัก เพื่อหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามสัญญาหลักข้อ 16 เนื่องจากต้องมีการลงทุนสูง และต้องส่งมอบกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่สร้างขึ้น ให้แก่ กสท โดยผู้บริหารระดับสูง กสท ดำเนินการปรับแก้มติการประชุมคณะกรรมการกลั่นกรอง จากร่างวาระเดิม ซึ่งฝ่ายบริหารผลประโยชน์มีความเห็นว่า ไม่อนุญาตให้บริษัท เอไอเอส หักค่าใช้จ่ายในการใช้เครือข่ายของบริษัท ดีพีซี ปรับแก้ให้สามารถหักค่าใช้จ่ายดังกล่าว ก่อนนำส่งส่วนแบ่งรายได้ให้แก่ กสท ได้ตามข้อเสนอของบริษัท เอไอเอส และมีการนำร่างแก้ไขดังกล่าวเสนอคณะกรรมการ กสท เพื่อพิจารณาอนุมัติ โดยมีพฤติการที่ส่อไปในทางเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัท เอไอเอส ทั้งที่ขัดต่อสัญญาหลักข้อ 4 ข้อ 9 ข้อ 16 และข้อ 30 ส่งผลให้ ทศท และ กสท ต้องสูญเสียประโยชน์ที่พึงจะได้รับ รวมทั้งสิ้นไม่น้อยกว่า 18,970,579,711 บาท เป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัท เอไอเอส ที่มีบริษัท ชินคอร์ป เป็นผู้ถือหุ้นอยู่ 1,263,712,000 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 43.06 ทั้งนี้ ผู้ถูกกล่าวหายังคงเป็นผู้ถือหุ้นอยู่ในบริษัท ชินคอร์ป ในระหว่างดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ผลประโยชน์ดังกล่าวจึงตกแก่ผู้ถูกกล่าวหา การที่ ทศท และ กสท ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ ภายใต้การบังคับบัญชา หรือกำกับดูแลของผู้ถูกกล่าวหา ในฐานะนายกรัฐมนตรี ตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 ดำเนินการดังกล่าวเป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัท เอไอเอส มีความได้เปรียบคู่แข่งขันในกิจการโทรคมนาคม เป็นเหตุให้หุ้นของบริษัท ชินคอร์ป มีมูลค่าสูงขึ้น จนกระทั่งมีการขายหุ้นดังกล่าว เงินที่ผู้ถูกกล่าวหาและคู่สมรสได้จากการขายหุ้น จึงเป็นทรัพย์สินที่ได้มาโดยไม่สมควร สืบเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่ หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่
จากคุณ |
:
Imperio
|
เขียนเมื่อ |
:
12 มี.ค. 53 01:20:42
|
|
|
|
 |