ฉันดูตารางรถทัวร์ เช็คเวลารถออก อย่างแม่นยำ โทรจองล่วงหน้า
วันเดินทางก็คว้ากระเป๋า ขึ้นนั่งบนรถ เหม่อมองออกไปนอกหน้าต่าง ตั้งใจไปให้ถึง ตามเวลาที่รถบอกไว้
หกโมงเช้า อีกวัน
เสียงเจ๊ที่นั่งแถวถัดไปทะเลาะกับปั๋ว ลั่นรถจนน่ารำคาญ
วิ่งๆไปหน่อย กระเป๋าตะโกนด่าเจ๊ที่นั่งข้างๆ เกรงใจคนอื่นมั่งสิเจ๊
เจ๊ด่ากลับ ท้าตีท้าต่อย ห้าว เกินหญิง
กระเป๋าโมโห ทำท่าจะเข้ามาทำร้าย
ปั๋วเข้ามาป้องเมีย กระชากคอเสื้อ
คนขับจอดพรืดดด กระโดดเข้าขวาง ด่าทอกันไปมา
"เมิงก็เป็นงี้อยู่เรื่อย ใจเย็นๆหน่อยดิ๊ นี่ผู้โดยสารนะเว้ยย etc "
"พี่ก็โทษผมอยู่เรื่อย ไม่้เห็นเหรอ มันกวนประสาทขนาดไหน พี่เข้าข้างมันงี้ หักหน้ากันนี่หว่า
มาต่อยกันเลยดีกว่า มาๆ"
เดือดร้อนหลายคนบนรถ โดดเข้าขวาง พยายามห้าม
เกิดเป็นมวยหมู่ อลวน อลเวง
เฮ้ออออ หรือตรู จะขึ้นรถผิด
หรือตรูควรโดดลง แล้วหารถใหม่
หรือตรูทำกรรมอะไรไว้
แล้วตรูจะทำไงดี
เป็นแบบนี้ เมื่อไหร่จะถึงฟระ
ทำไมแมร่งต้องมาตีกันตอนนี้ด้วยเนี่ย
ละเจ๊นี่ นี่ยังไง้ ไม่มีมารยาท ต้องรอคนอื่นมาด่า
ละทำไมคนพวกนี้ต้องรุนแรงกันด้วย พูดดีๆก็ได้
พ่อแม่สั่งสอนกันมั่งไหมเนี่ย พวกนี้นี่
ฮ่วย ฮ่วย ฮ่วย ฮ่วย ฮ่วย และ ฮ่วย
-*-
(เอ หรือกรูควรลุกขึ้นด่า ให้แมร่งสำนึกกันมั่งดี??)
***********************************
ตั้งแต่ไหนแต่ไร แม่ก็ชอบสอนให้เป็นคนมีเหตุผล
คนที่มีเหตุผล ก็ต้องรู้จักตั้งคำถาม ว่า ทำไม
ทำไมอย่างนี้ ทำไมอย่างนั้น ทำไมอย่างนู้น
แม่ก็ไม่เคยวางตัวว่าชั้นเป็นแม่ แกต้องเชื่อที่ชั้นพูด ชั้นทำสิ่งที่ถูกเสมอ
แม่สอนให้พิจารณาเอาเอง ถึงความถูกผิดต่างๆ ใช้เหตุผล มองด้วยสายตาของคนที่รู้จักคิด
ไม่ใช่ใครพูด ใครบอก ใครให้ทำอะไรก็ตามๆๆเค้าไป ไม่รู้จักยั้งคิด
ติดนิสัยนี้มาจนโต ก็เลยเถียงกับแม่เป็นประจำ (ฮา)
เมื่อไปดูหนังเรื่องนี้ ก็งงแสนจะงง เพราะรู้สึกว่าจะเก็ทราวสามสิบเปอร์เซ็นของสิ่งที่ผู้กำกับทั้งสองพยายามจะสื่อ
what when where why how วิ่งชนกันให้วุ่นอย่างกะมีงานวัดในหัวสมองเล็กๆเบี้ยวๆนี้เลยทีเดียว
ได้รับคำตอบสมใจจากทู้ที่ตั้งๆกันในห้องนี้
"เมื่อเกิดปัญหา ก็ให้ยอมรับ และแก้ไขกันไป ไม่ต้องไปถามว่า ทำไมๆๆๆๆๆ เครียดไปทำไมมี แฮปปี้ดีกว่า"
เหมือนว่า จะเป็น message ที่หนังต้องการจะสื่อ (คนอื่นเค้าบอกมา ไม่ได้คิดได้เอง 555)
เข้าใจเรื่องราวที่หนังจะสื่อแล้ว
แต่
เกิดคำถามตามมาอีกว่า
ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
มันดีจริงหรือ
มันขัดกับความเป็นจริงหรือเปล่า
คนเราต้องตั้งคำถามสิ
ต้องมีเหตุผลสิ
เมื่อรู้เหตุ ก็ย่อมรู้ผลสิ
มันก็ย่อมช่วยให้แก้ปัญหาได้ง่ายขึ้นสิ
เอาเป็นว่า มันขัดกับหลักความเชื่อที่เคยได้รับการอบรมจากหม่ามี๊มา
เลยตะหงิ๊ด ตะหงิดอย่างไรพิกล
เปิดประเด็นนี้กับน้องชาย ที่ก็ถูกสอนมาให้คิด จากแม่คนเดียวกัน กลางวงข้่าวเที่ยง
"หากพูดถึง ศาสนาพุทธ พระพุทธเจ้าสอนว่า
หากเราตั้งอยู่ในมรรค 8 แล้ว
คำว่า ทำไม ก็ไม่จำเป็น
แปลง่ายๆว่า หากตั้งมั่นอยู่ใน ศีล สมาธิ ปัญญา ก็ไม่้ต้องถามแล้วว่าทำไม
เพราะคุณกำลังทำดีอยู่ ชีวิตจะนำพาสิ่งดีๆมาให้เอง ในที่สุด"
"แล้วจะรู้ได้ไง ว่านั่นน่ะดี ว่าเราเลือกทางที่ถูก???
ตลอดชีวิตของคนเรา มักตั้งคำถามนี้กับตัวเองหรือมิใช่
ฉันทำแบบนี้ ถูกไหม???
ฉันควรทำอย่างไร??
แบบนี้ดีไหม?
แบบนั้นดีไหม?!
เพราะชีวิตไม่ได้มีขีดวัดระดับ ความดีความเลว
เมื่อเราทำสิ่งไม่ดี ก็ไม่ได้มีสัญญาณเตือน ร้องหวอๆๆๆ บอกให้รู้ว่า
เมิงเลวแล้วนะ
แบบนี้ผิดแล้วนะ
ทำใหม่จิ๊เมิงน่ะ
etc
จริงไหม???
อะไร หรือ คือมาตรวัด ที่บอกให้เรารู้ว่า เราเลือกมาถูกทางแล้ว
และไม่ต้องตั้งคำถามกับตัวเอง ไม่ต้องสงสัย อีกต่อไป"
"ก่อนอื่นตัวเองต้องเข้าใจก่อนเว้ยย ว่ามันไม่มีคำว่า ดีหรือเลว"
ฉันถึงกับเหวอ ด้วยคำอธิบาย ที่ไขข้อข้องใจอันดำมืดในหัวให้ อย่างกะเปิดสปอตไลท์ซัดตูมเข้าที่หน้า
ดีเลว ขาวดำ สวย น่าเกลียด ผิด ถูก ล้วนเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ตามขนบที่แต่ละสังคมสร้างขึ้น
หมายความว่า ในความเป็นจริงแล้ว เราเองคือผู้ตัดสิน
ไม่เพียงตัดสินตนเอง แต่หลายครั้ง ยังตัดสินคนอื่นด้วย
และตั้งคำถามว่า
ทำไมมันไม่ทำแบบนี้วะ
ทำไมมันทำแบบนั้นวะ
โง่จริงๆ ทำแบบนี้สิเรียกว่าดี
ทำแบบนี้ได้ไง ทำไมไม่คิดมั่ง โถ่เว้ยยยย
ดูดิ๊ แล้วกรูจะทำไงเนี่ย
เอ หรือกรูผิดเองวะ
เอ ถ้ากรูทำแบบนี้ มันจะดีไหมฟระ
..
..
..
และเรามักลืมไปว่า
โดยเนื้อแท้แล้ว เรามองคนอื่น ผ่านมาตรฐานและแว่นดีงาม ที่เราสวมอยู่กันทั้งนั้น
จริงไหม???
หาก ความดีความเลว เป็นสิ่งสมมติ
งั้นก็แปลว่า ความจริง ที่มีอยู่ต่างหาก คือสิ่งที่เราต้องมองและเข้าใจมัน อย่างที่มันเป็น
That's the way it is...
ใช่ไหม??
*************************
ฉันเลิกคิดเรื่องที่จะไปด่าให้พวกเขารู้สำนึก
เลิกคิดที่จะโดดลงจากรถ
เลิกคิดว่า ทำไมๆๆๆ
เสียงคนโหวกเหวกโวยวายค่อยสงบลงในที่สุด
รถเริ่มเคลื่อนต่อ
หลับตาลง และเดินทางเข้าสู่ห้วงนิทรา
พรุ่งนี้ ฉันก็คงไปถึง
...
...
...
...
ก็ฉันเช็ครถ เช็คเวลามาดีแล้วนี่ ยังไงก็ขึ้นถูกคันแน่ๆ!!
จะเครียดไปไย ชิมิ???
^^
*********************************************************
ตอนแรกไม่ได้ตั้งใจจะเขียนถึงเรื่องนี้ เพราะอย่างที่บอกว่า ดูแล้วเก็ทแค่ปลายขี้เล็บ
แต่บทสนทนาที่แตกยอดออกมาเมื่อคุยกับน้องชาย
ทำให้คันไม้คันมือ ขอเขียนเก็บไว้เป็นบันทึกทางความคิดเสียหน่อย
เฮ้อออ กว่าจะเข้าใจ เล่นเอามึนส์ส์ส์
เพิ่มเติมเรื่อง มรรค8 ตามลิงค์ด้านล่างเลยค่า
http://th.wikipedia.org/wiki/มรรค_๘
มรรค (ภาษาสันสกฤต : มรฺค; ภาษาบาลี : มคฺค) คือ หนทางถึงความดับทุกข์ เป็นส่วนหนึ่งของอริยสัจ (เรียกว่า มัคคสัจจ์ หรือ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ) และนับเป็นหลักธรรมสำคัญอย่างหนึ่งในพระพุทธศาสนา ประกอบด้วยหนทาง 8 ประการด้วยกัน เรียกว่า "มรรคมีองค์แปด" หรือ "มรรคแปด" (อัฏฐังคิกมรรค) โดยมีรายละเอียดดังนี้
สัมมาทิฏฐิ คือ ปัญญาเห็นชอบ หมายถึงเห็นถูกตามความเป็นจริงด้วยปัญญา
สัมมาสังกัปปะ คือ ดำริชอบ หมายถึง การใช้สมองความคิดพิจารณาแต่ในทางกุศลหรือความดีงาม
สัมมาวาจา คือ เจรจาชอบ หมายถึงการพูดสนทนา แต่ในสิ่งที่สร้างสรรค์ดีงาม
สัมมากัมมันตะ คือ การประพฤติดีงาม ทางกายหรือกิจกรรมทางกายทั้งปวง
สัมมาอาชีวะ คือ การทำมาหากินอย่างสุจริตชน
สัมมาวายามะ คือ ความอุตสาหะพยายาม ประกอบความเพียรในการกุศลกรรม
สัมมาสติ คือ การไม่ปล่อยให้เกิดความพลั้งเผลอ จิตเลื่อนลอย ดำรงอยู่ด้วยความรู้ตัวอยู่เป็นปกติ
สัมมาสมาธิ คือ การฝึกจิตให้ตั้งมั่น สงบ สงัด จากกิเลศ นิวรณ์อยู่เป็นปกติ
อริยมรรคมีองค์แปด เป็นทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) คือทางที่นำไปสู่การพ้นทุกข์ ที่พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสรู้แล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
มรรคมีองค์แปด สามารถจัดเป็นหมวดหมู่ได้เป็น ศีล สมาธิ ปัญญา
ข้อ 3-4-5 เป็น ศีล (สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ)
ข้อ 6-7-8 เป็น สมาธิ (สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ)
ข้อ 1-2 เป็น ปัญญา (สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ)
แก้ไขเมื่อ 20 มี.ค. 53 21:50:28
แก้ไขเมื่อ 20 มี.ค. 53 21:44:27
แก้ไขเมื่อ 20 มี.ค. 53 21:42:42
แก้ไขเมื่อ 20 มี.ค. 53 21:40:24
แก้ไขเมื่อ 20 มี.ค. 53 21:39:38