 |
ความคิดเห็นที่ 972 |
ในวันที่ 22 เมษายน ได้เกิดเหตุการณ์ยิงระเบิดชนิด M79 ทั้งสิ้น 5 นัดเข้าไปยังบริเวณใกล้เคียงกับโรงแรมดุสิตธานี ซึ่งบริเวณที่เกิดการระเบิดนั้นอยู่ห่างจากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ไม่ถึง 200 เมตร จากเหตุการณ์ในครั้งนี้ มีผู้เสียชีวิต 1 รายและบาดเจ็บอย่างน้อย 75 ราย ผู้ป่วย 19 รายจากบรรดาผู้ป่วยทั้งหมดได้รับการรักษาอย่างเต็มความสามารถจากทีมแพทย์ใน โรงพยาบาล นอกจากคำบอกเล่าถึงเหตุการณ์ดังกล่าวแล้ว ทางทีม PHR ยังได้รับข้อมูลเพิ่มเติมจากภาพถ่ายที่แสดงให้เห็นว่ากระจกของโรงพยาบาลได้ รับความเสียหายจากกระสุนยิงถึง 3 บานในเวลาต่อมาภายในคืนเดียวกัน เหตุการณ์นี้ก่อให้เกิดความหวาดกลัวและกังวลต่อความปลอดภัยของตนเองและ สาธารณชนของบุคลากรในโรงพยาบาลเป็นอย่างมาก พยาบาลประจำห้องฉุกเฉินคนหนึ่งบอกกับ PHR ว่าเธอเริ่มมาอาศัยอยู่ที่ โรง พยาบาลตลอดเวลาเพื่อที่จะสามารถเข้ามาช่วยเหลือเพื่อนร่วมวิชาชีพได้ทันเวลา เมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น
ในวันที่ 26 เมษายน กลุ่มผู้ประท้วงนปช.ราว 60 คนเรียกร้องกับทางโรงพยาบาลให้เปิดทางเพื่อนำกลุ่มคนเข้าค้นหาตัวแพทย์ผู้ หนึ่งที่ให้การสนับสนุนรัฐบาล ผู้บริหารโรงพยาบาลกล่าวกับ PHR ว่าทางโรงพยาบาลได้แจ้งตำรวจทันทีที่กลุ่มนปช.ก้าวผ่านประตูแรกของอาณา บริเวณโรงพยาบาล หลังจากได้รับแจ้งเหตุ ตำรวจมาถึงที่เกิดเหตุภายในเวลาไม่เกิน 10 นาที และสามารถไกล่เกลี่ยให้ผู้ประท้วงออกจากบริเวณโรงพยาบาลได้สำเร็จ หลังจากเหตุการณ์ในครั้งนี้ ทางผู้บริหารอาวุโสของโรงพยาบาลได้ติดต่อกับทางเจ้าหน้าที่รัฐเพื่อแสดงความ กังวลถึงความปลอดภัยในชีวิตของผู้ป่วยกว่า 1,200 รายที่รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล แต่ก็ได้รับคำตอบเช่นเดิมว่าทางการไม่สามารถให้ความคุ้มครองทางทหารกับโรง พยาบาลเพิ่มเติมได้ การปฏิเสธจากทางหน่วยงานความมั่นคงของรัฐถึงสองครั้งแสดงให้เห็นว่ารัฐ ปฏิเสธที่จะให้ความคุ้มครองความปลอดภัยแก่บุคลากรทางการแพทย์ในระหว่างการ ปฏิบัติหน้าที่
ผู้บริหารอาวุโสของโรงพยาบาลท่านหนึ่งกล่าวกับ PHR ว่า 2 วันต่อมา (วันที่ 28 เมษายน) ผู้ชุมนุมได้นำถังแก๊สโพรเพนเหลว 5 ถังมาตั้งเรียงไว้ในรัศมีไม่เกิน 50 เมตรจากทางเข้าห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาล นอกจากนี้ หนึ่งในผู้ชุมนุมยังได้ข่มขู่ทางโรงพยาบาลว่า หากเขาเป็นแพทย์ในโรงพยาบาล เขาจะเคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกไปให้ห่างจากบริเวณนี้ ด้วยการประมาณว่าการระเบิดของถังแก๊สโพรเพนเหลวมีรัศมีการระเบิด 50 ถึง 200 เมตร ทางผู้บริหารของโรงพยาบาลจึงมีคำสั่งให้เคลื่อนย้ายผู้ป่วยและบุคลากรที่ ปฏิบัติงานภายในอาคารที่อยู่ภายในรัศมี 200 เมตรจากบริเวณที่ตั้งถังแก๊สออกจากอาคารในทันที การเคลื่อนย้ายทั้งหมดเสร็จสิ้นในช่วงบ่ายของวัน โดยผู้ป่วยกว่า 200 ราย (ซึ่งในที่นี้รวมผู้ป่วยเด็ก 120 ราย) จำเป็นต้องเข้าไปอาศัยในอาคารที่เพิ่งก่อสร้างใหม่ซึ่งอยู่ห่างไกลจากรัศมี การ ระเบิด นอกจากคำบอกเล่าแล้ว ทาง PHR ยังได้ข้อมูลเพิ่มเติมจากภาพถ่ายของผู้ป่วยที่ต้องนอนบนฟูกที่วางอยู่บนพื้น โดยมีคำอธิบายจากทางโรงพยาบาลว่าหอผู้ป่วยดังกล่าวยังก่อสร้างไม่เสร็จ สมบูรณ์และยังไม่ครบกำหนดที่จะเปิดใช้
ความตึงเครียดของสถานการณ์เพิ่มมากขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป เนื่องจากในบ่ายวันนั้นมีข่าวว่ามีการปะทะกันของฝูงชนในภาคเหนือ ประกอบกับมีเสียงคล้ายเสียงระเบิดหลายครั้งรอบๆโรงพยาบาล และในเวลาต่อมาภายในวันเดียวกันกลุ่มผู้ชุมนุมได้ทำการต่อท่อพลาสติกใสจาก ถังแก๊สโพรเพนเหลวถังหนึ่งไปยังชั้นใต้ดินของโรงพยาบาลและข่มขู่ที่จะเผา อาคารของโรงพยาบาล แต่หลังจากที่เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของโรงพยาบาลพยายามเจรจาเกลี้ย กล่อม ผู้ชุมนุมก็ยอมที่จะถอดท่อพลาสติกดังกล่าวออกไป
ในเย็นวันเดียวกันกลุ่มผู้ชุมนุมกลับมาที่ห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลอีกครั้ง โดยอ้างว่าพวกเขากำลังค้นหาตำรวจและทหารที่ซ่อนตัวอยู่ภายในโรงพยาบาล และยังคุกคามแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลด้วยวาจาหยาบคาย นอกจากนี้ยังข่มขู่ว่าจะกลับมาจับตัวบุคลากรของโรงพยาบาลไปเป็นตัวประกันใน วันรุ่งขึ้นเหตุการณ์เหล่านี้ถือได้ว่าเป็นการขัดขวางการทำหน้าที่ตามสิทธิ มนุษยชนของบุคลากรเหล่านั้น และเปรียบได้กับการสูญเสียความเป็นกลางทางการแพทย์ในระหว่างการสู้รบใน สมรภูมิ
เมื่อเวลาประมาณ 18.00 น.ของวันที่ 29 เมษายน นายพายัพ ปั้นเกตุ หนึ่งในแกนนำนปช.และเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของกลุ่มนปช.อีกกว่า 25 คนได้นำกลุ่มผู้ชุมนุมมากกว่า 100 คนมาปิดล้อมที่หน้าประตูห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลเพื่อขอเข้าค้นภายในโรง พยาบาล โดยอ้างว่ามีตำรวจและทหารซ่อนตัวอยู่ บางคนในกลุ่มผู้ชุมนุมถืออาวุธที่เป็นไม้ไผ่เหลาปลายแหลมให้เห็นอย่างชัดเจน นอกจากนี้ยังมีการตะโกนข่มขู่และด่าทอ หรือแม้กระทั่งกระชากเสื้อเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของโรงพยาบาล เมื่อผู้บริหารของโรงพยาบาลออกมายืนยันกับกลุ่มผู้ชุมนุมว่าทางโรงพยาบาลไม่ อนุญาตให้ทหารและตำรวจมาซ่อนตัวอยู่ภายในโรงพยาบาล ผู้ชุมนุมปฏิเสธที่จะรับฟัง ทางโรงพยาบาลจึงได้โทรแจ้งตำรวจในทันที โดยในขณะที่กำลังเกิดเหตุ ไม่ปรากฏว่ามีเจ้าหน้าที่ตำรวจอยู่ในบริเวณใกล้เคียงเลย
เนื่องจากผู้บริหารของโรงพยาบาลถูกกดดันอย่างหนักจากกลุ่มผู้ชุมนุมที่มี จำนวนมาก จึงมีการเจรจายอมให้มีการตรวจค้นภายในโรงพยาบาลโดยจำกัดจำนวนคนที่จะเข้าไป ตรวจค้นในโรงพยาบาล แม้กระนั้น ผู้ชุมนุมจำนวนหลายร้อยคนก็พากันทะลักเข้ามาในเขตของโรงพยาบาลเพื่อทำการ ตรวจค้นภายใน โดยทางกลุ่มผู้ชุมนุมเริ่มตรวจค้นในบริเวณอาคารขนาดใหญ่ 2 อาคารของโรงพยาบาลซึ่งได้รับการเคลียร์พื้นที่ไปแล้วก่อนหน้านี้ ในระหว่างการตรวจค้นนี้ ตำรวจได้ติดตามกลุ่มผู้ชุมนุมไปด้วย บรรดาแพทย์และพยาบาลที่ปฏิบัติหน้าที่ในโรงพยาบาลต่างตกตะลึงกับแนวคิดที่ ไร้ยางอายและการกระทำที่ละเมิดหลักการของสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน รวมถึงการไม่ปฏิบัติในสิ่งที่พึงกระทำต่อบุคลากรทางการแพทย์ บุคลากรของโรงพยาบาลคนหนึ่งถึงกับกล่าวว่า เราเป็นกลางเสมอ บางทีพวกเขาอาจไม่เข้าใจเกี่ยวกับหลักของกาชาดสากลเลย
เพื่อความปลอดภัยของทุกคนในโรงพยาบาล ทางผู้บริหารจึงตัดสินใจที่จะปิดแผนกห้องฉุกเฉินและห้องยาของโรงพยาบาล และทำการเคลื่อนย้ายบุคลากรของโรงพยาบาลส่วนใหญ่ไปยังอาคารของโรงพยาบาลที่ อยู่ห่างจากที่ชุมนุม และในเย็นวันนั้นเองได้มีการจัดประชุมวาระฉุกเฉินของฝ่ายบริหารเพื่อประเมิน สถานการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้นในโรงพยาบาลและนัยยะของการกระทำของกลุ่มผู้ชุมนุม ซึ่งการประชุมดังกล่าวได้ข้อสรุปในเวลาประมาณ 21.00 น.ว่าทางโรงพยาบาลจะทำการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยทั้งหมดออกจากโรงพยาบาลเพื่อไป รักษาต่อยังสถานพยาบาลอื่นในเช้าวันรุ่งขึ้นซึ่งก็คือ วันที่ 30 เมษายน โดยการตัดสินใจเคลื่อนย้ายผู้ป่วยในครั้งนี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความห่วงใย ในสวัสดิภาพของผู้ป่วยอย่างแท้จริง ดังนั้นเมื่อเวลาประมาณ 22.30 น. จึงได้มีการส่งข้อความสั้นถึงหัวหน้าหน่วยต่างๆของโรงพยาบาลให้เตรียมการ สรุปประวัติการรักษาของผู้ป่วยทุกรายเพื่อเตรียมส่งต่อไปรักษาในสถานพยาบาล อื่น รวมถึงได้มีการติดต่อกับสถานพยาบาลที่จะรับดูแลผู้ป่วยต่อเนื่อง
เมื่อเวลา 7.00 น.ของวันที่ 30 เมษายน แพทย์และพยาบาลจึงเริ่มการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปยังสถานพยาบาลอื่น รวมถึงให้ผู้ป่วยกลับบ้านในรายที่สามารถกลับบ้านได้ โดยในเย็นวันนั้น ผู้ป่วยที่ยังเหลืออยู่ในโรงพยาบาลมีเพียงสมเด็จพระสังฆราชฯองค์เดียวเท่า นั้น ซึ่งในวันต่อมาพระองค์ได้ถูกส่งตัวเพื่อไปรักษาต่อยังโรงพยาบาลศิริราช
จากเหตุการณ์นี้ ทำให้แกนนำเสื้อแดงหลายคนรีบออกมาแถลงการณ์ขอโทษและแสดงความเสียใจกับการ กระทำของกลุ่มผู้ชุมนุม โดยเรียกการกระทำนี้ว่าความผิดพลาด นายแพทย์เหวง โตจิราการ หนึ่งในแกนนำเสื้อแดงกล่าวว่า สถานการณ์ลุกลามเกินการควบคุม เราไม่มีนโยบายที่จะขัดขวางการทำงานของโรงพยาบาล
พันธมิตรที่ประกอบด้วยองค์กรด้านสาธารณสุข 5 องค์กรหลักของประเทศไทย ได้ออกแถลงการณ์ ประนามการกระทำของกลุ่มผู้ชุมนุมเสื้อแดงในการเข้า บุกค้นโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยองค์กรเหล่านี้ประกอบด้วย แพทยสภา, สภาการพยาบาล, สภาเภสัชกรรม, สภานักวิทยาศาสตร์การแพทย์ และสภานักกายภาพบำบัด
ในวันที่ 2 พฤษภาคม พลตำรวจโทสัณฐาน ชยนนท์ ผู้บัญชาการตำรวจนครบาลได้ทำการเจรจาต่อรองกับทางกลุ่มผู้ชุมนุมนปช.ให้เปิด การจราจร 1 เลนในทั้งสองฝั่งของถนนราชดำริส่วนที่อยู่หน้าโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ผู้ชุมนุม ยอมปฏิบัติตามโดยดี และต่อมาในวันที่ 3 พฤษภาคม หนังสือพิมพ์บางกอกโพสท์รายงานว่าทางโรงพยาบาลเรียกร้องให้กลุ่มผู้ชุมนุม เปิดพื้นที่การจราจรบริเวณหน้าโรงพยาบาลทั้งหมด คือ ตั้งแต่แยกศาลาแดงไปจนถึงแยกสารสิน โดยทางโรงพยาบาลให้เหตุผลว่าเพื่อความปลอดภัยของบุคลากรในโรงพยาบาลและผู้ ป่วยความเป็นมาของเหตุการณ์
เหตุการณ์การประท้วงต่อต้านรัฐบาลกลางกรุงเทพมหานครที่กำลังดำเนินอยู่ในขณะนี้มีต้นตอมาจากระบบการเมืองที่ซับซ้อนซึ่งก่อให้เกิดการแบ่งแยกชนชั้นทางสังคม
ทาง PHR ขอร่วมผลักดันให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับวิกฤตการณ์ทางการเมืองในประเทศ ไทยในครั้งนี้ โดยไม่ว่าจะเป็นฝ่ายใดหรือสถาบันใดก็ตาม ตระหนักถึงความสำคัญของการดำรงไว้ซึ่งความเป็นกลางในการให้การบริการทางการ แพทย์และการอำนวยความสะดวกในการเดินทางไปยังสถานพยาบาลของผู้ป่วยและบุคลากร ทางการแพทย์
จากคุณ |
:
tiki_ทิกิ
|
เขียนเมื่อ |
:
11 พ.ค. 53 21:12:56
|
|
|
|
 |