 |
หากเผลอแจ้ง เลขที่บัญชี และเลขที่บัตรประชาชนให้กับมิจฉาชีพที่โทรมาหลอก ความเชื่อ - รีบอายัดบัตรเอที เอ็ม และสมุดบัญชี เงินในบัญชีจะได้ปลอดภัย ความ จริง - ไม่จำเป็นต้องอายัด ถ้า..บัตรเอทีเอ็ม สมุดบัญชี และ บัตรประชาชนตัวจริงทั้งหมดยังอยู่กับตัวคุณเอง มิจฉาชีพไม่สามารถถอนเงินจากบัญชี ได้อยู่แล้ว เพราะการถอนเงินที่ตู้ ต้องใช้บัตรเอทีเอ็ม และการถอนเงินที่สาขา ต้องใช้บัตรประชาชนตัวจริง และสมุดบัญชีตัวจริง ติดต่อด้วยตนเองเท่านั้น ปัญหาคือ ตามแผนของมิจฉาชีพเท่าที่พบคือ โทรเข้ามาอีกครั้ง เพื่อหลอกว่ามีเง ินโอนเข้าบัญชี ขอให้คุณไปตรวจสอบยอดเงินที่ตู้เอทีเอ็ม โดยมันจะคอยบอกวิธีขณะคุณทำรายการ ที่ตู้ ซึ่งมันหลอกว่าเป็นทางลัดในการตรวจสอบ แต่ความจริงเป็นการกดโอนเงินออกไปให้บัญชีมิจฉาชีพ เหยื่อหลงทำตามด้วยความไม่รู้ เพราะหน้าจอเป็นเมนูภาษาอังกฤษ บางครั้งมันก็หลอก(อีก)ว่า ต้องโอนเงินออกมาที ่บัญชีเลขที่นี้ก่อน เพราะเงินในบัญชีเต็ม (คิดได้ไง?)เพื่อจะได้โอนเงิน เข้าไปในบัญชีเหยื่อได้ ซึ่งความจริง คือ หลังจากโอนเงินออกไปให้มันแล้วก็ไม่มีเงินโอนเข้ามาเลย สิ่งที่ ควรทำ - ต้องมีสติ เมื่อรับโทรศัพท์เสมอ เห็นว่าท่าไม่ดี กดวางสายทันที! (คุณลิขิตชีวิตได้ด้วยปลายนิ้ว)
การคิดดอกเบี้ยปรับ สินเชื่อกู้บ้าน (จ่ายช้าไปนิด ทำไมเบี้ยปรับ..บานกว่าที่คิด) ความ จริง - อัตราดอกเบี้ยปรับ คิดจาก เพดานดอกเบี้ย ลบ ดอกเบี้ยเงินกู้บ้านที่ได้รับ ซึ่งแต่ละธนาคารกำหนดเพดานดอกเบี้ย ไม่เท่ากัน บางธนาคาร 15% บางธนาคาร 19% ดังนั้น ต้องรู้เพดานดอกเบี้ยของธนาคารนั้นก่อน แล้วนำ เพดานดอกเบี้ย ลบ ดอกเบี้ยเงินกู้บ้านที่ได้รับ สมมติ....ดอกเบี้ยเงินกู้ที่ได้ คือ 4% แต่เพดานดอกเบี้ยของ ธนาคารนั้นๆ อยู่ที่ 19% เท่ากับว่าดอกเบี้ย ปรับ ตกวันละ 15% ต่อปีต่อวัน!!
ความบานปลายของดอกเบี้ยปรับ อยู่ตรงจุดนี้ คือ & nbsp;คิดจากยอดหนี้คงเหลือทั้งหมดที่กู้มา!!!! นั่นคือ ถ้ากู้บ้านเป็นเงิน 3.3 ล้าน และเพิ่งผ่อนไป จนเหลือหนี้ที่ 3 ล้านบาท ธนาคารจะนำดอกเบี้ยปรับมาคำนวณจากยอดหนี้ตัวนี้ นั่นคือ (15% x 3,000,000)/365 = ดอกเบี้ยปรับ 1,233 บาทต่อวัน แล้วนำยอดนี้ไปคิดดอกเบี้ยในทุกๆวัน ที่เลยกำหนดมานั่นเอง ข้อควรระวังคือ ธนาคารอาจบอกคุณว่า สามารถชำระเลยกำหนดได้ 7 วัน ไม่คิดเบี้ยปรับ (ถือเป็น 7 วันทอง)แต่ คุณต้องนับให้เป็น คือ นับวันที่กำหนดชำระ ถือเป็นวันที่ 1 เลย แล้วนับต่อไปอีก 6 วัน ถ้าจ่ายทันภายในวันดังกล่าวนี้จะไม่ถูกปรับ เช่น กำหนดชำระทุกสิ้นเดือน ระยะปลอดดอกเบี้ยปรับคือ ภายในช่วงวันที่ 31ถึง6 หรือ 30ถึง5 แต่ถ้าช้าไปเพียงวันเดียว ดอกเบี้ยปรับอาจ มโหฬาร เพราะธนาคารเริ่มปรับโดยนับย้อนตั้งแต่วันกำหนดชำระ เป็นวันแรกนั่นเลยทีเดียว นี่คือสาเหตุว่าทำไม จ่ายเกินวันที่ปลอดดอกเบี้ยแค่วันเดียว แต่ ธนาคารกลับคิดดอกเบี้ย เป็น 8 วัน เพราะเวลาคิดดอกเบี้ย ถือว่าคิดตั้งแต่วันกำหนดชำระนั่นเอง
การคิดดอกเบี้ยบัตรเครดิต (เหลือยอดค้าง ชำระแค่นิด ..เบี้ยปรับกลับ บานกว่าที่คิด) ความเชื่อ - คุณรูดไป 900,045 บาท ชำระไปแล้ว 900,000 บาท ขาดอีกเพียง 45 บาทค้างชำระไว้ คิดว่าเดี๋ยวค่อยจ่ายรอบหน้า ดอกเบี้ยคงไม่เยอะ ความ จริง - ธนาคารคิดเบี้ยปรับจากยอดที่คุณรูดไป (ไม่สนใจดูว่าเหลือ ยอดค้างชำระไว้เท่าไหร่) ดังนั้น ดอกเบี้ยปรับคิดจากยอด 900,045 บาท ไม่ใช่ยอดค้างชำระ
ผมขอเพิ่มอีกข้อหนึ่ง กรณีที่เราอัพสมุดบัญชีผ่านเครื่องอัตโนมัติ ถ้าเครื่องเกิด error ไม่ปล่อยสมุดออกมา ให้เรารอที่เครื่องประมาณ 5-10 นาทีก่อนอย่าเพิ่งรีบ ไปไหนเพราะ เครื่องจะปล่อยสมุดออกมาเอง ถ้าพลาดไปแล้วไม่รอสมุดอย่างผมก็ต้องแจ้งอายัดและทำสมัดบัญชีใหม่สถานเดียว เสียค่าธรรมเนียมด้วยเน้อ
จากคุณ |
:
by request
|
เขียนเมื่อ |
:
18 ต.ค. 53 20:53:25
|
|
|
|
 |