อิอิ ไม่รู้แต่แม่ยกควรศึกษากณ๊ากกกกกกกกกกกกกกกกกก
พิธีหมั้น
1. กำหนดวันที่จะหมั้น
2. สิ่งของที่จะใช้ในการหมั้น มีขันหมาก หมั้น 2 ขัน ฝ่ายชายต้องเป็นผู้จัด คือ
ขันหมาก นิยมเป็นขันเงินหรือขันทอง มีพานรอง ใส่หมากดิบ 8 ผล ตัดให้ติดกันทั้ง 8 ผล หรือจะตัดเป็นคู่ ๆ ละ 2 ผลติดกันก็ได้ ฝานก้นหมากทุกผลแล้วทาก้นหมากด้วยปูนแดง หรือชาดแดง พลู 4 เรียง ๆ ละ 8 ใบ ใส่ขันเรียบร้อยแล้วก็ใช้ผ้าคลุม (ปัจจุบันปรับใช้เป็นพานหมากพลู)
ขันหมั้น ใส่ของที่จะนำไปหมั้น อาจจะ เป็น เงิน ทอง เพชร หรือของอะไรก็ได้แล้วแต่จะตกลงกัน ถั่วเขียว 1 ถุง ข้าวเปลือก 1 ถุง งาดำ 1 ถุง ข้าวตอก 1 ถุง ใบเงิน ใบทอง ใบนาก และมีผ้าแพรบาง ๆ คลุมขัน (ปัจจุบันปรับเป็น หลายพาน เช่น พานแหวน พานทอง)
*** อยากอธิบายนิดนึง พิธีหมั้นจะมีแค่นี้ ไม่ต้องมีขนม และ ไม่มีต้นกล้วยต้นอ้อย ไม่มีการกั้นประตู และของหมั้นเช่น แหวน ทอง เงิน นั้นควรจะอยู่ในขันหมั้นเดียวกัน และมีถุงเงิน ถุงทองใส่พวกข้าวตอก ถั่ว ฯลฯ อยู่ในขันหมั้นด้วย ใบเงิน ใบทอง ใบนาก นั้นส่วนใหญ่จะใช้รองก้น อาจจะไม่ต้องให้เห็นก็ได้ งานหมั้นของแพร ค่อนข้างที่จะประยุกต์เพราะว่าจะไม่ได้จัดพิธีหลั่งน้ำ หรือมีแห่ขันหมากแต่งอีก เพราะรับพระราชทานน้ำสังข์ คุณแม่จึงอยากได้ขนมด้วย ส่วนขันหมั้น หรือพานที่ใส่ของหมั้นมีรูปให้ดูเป็นตัวอย่างค่ะ สามารถใส่รวมกันได้ แต่ก็แล้วแต่นะคะ บางคนอยากได้เป็นใส่ของ 1 ชิ้น ต่อ 1พาน แต่ที่ถูกต้องแล้วขันหมั้นต้องมีของรวมกันทั้งหมด และไม่มีการเทขันหมาก ไม่ต้องนับเงิน
การที่ไม่มีต้นกล้วยต้นอ้อย เพราะทั้งสองยังไม่ได้แต่งงานกัน การที่เอาต้นกล้วยต้นอ้อยมานั้น เพื่อให้บ่าวสาว เอาไปปลูก และไว้ใช้เก็บกินได้ ส่วนขันหมากที่ต้องมีนั้น สมัยก่อนคนเดินทางมาขอลูกสาวให้ลูกชายต้องเดินทางไกล และเมื่อมาถึงแล้วก็ให้ผู้เฒ่าผู้แก่ ทานหมากไปพลาง ๆ พร้อมคุยกัน และการที่ให้ของหวานเป็นของชำร่วยงานหมั้นนั้น เพราะต้องเดินทางกลับไกล น้ำตาลนั้นจะให้พลังงาน จะได้มีแรงเดินทาง
ขั้นตอนพิธีหมั้น
1. เมื่อได้กำหนดการหมั้น ผู้ใหญ่ฝ่ายชายพร้อมด้วยเจ้าบ่าวก็ไปที่บ้านฝ่ายหญิง เพื่อทำพิธีหมั้น โดยนำขันหมากทั้งสองไปด้วย และคนถือขันหมากมักให้หญิงพรหมจารี ควรไปถึงก่อนเวลาหมั้น
2. เมื่อผู้ใหญ่ฝ่ายชายไปถึง จะมีผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงยืนต้อนรับที่หน้าบ้านไม่จำเป็นต้องเป็นพ่อ แม่ อาจเป็นญาติผู้ใหญ่ก็ได้ แต่ควรเป็นคู่ คือ ชายหญิง และผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงจะถามว่า ขบวนนี้แห่แหนกันมามากมาย มาเพื่อกิจอันใด ฝ่ายชายก็ต้องไปว่า ขบวนที่แห่แหนกันมานี้จะมาเพื่อสู่ขอฝ่ายหญิงให้แก่เจ้าบ่าว
3. ผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงเชิญให้เข้าบ้าน โดยยังไม่รับขันหมาก แต่ให้คนถือขันหมากของฝ่ายชายเดินเข้าไปวางตรงที่ที่ทำพิธี ซึ่งพ่อแม่ฝ่ายหญิงนั่งรออยู่แล้ว
4. เมื่อวางของเรียบร้อย และนั่งกันเรียบร้อยแล้ว ก็มีการพูดคุยกันเล็กน้อยเพื่อรอเวลา และเมื่อถึงเวลา
ผู้ดำเนินพิธี กล่าวว่า
"บัดนี้ได้ถึงเวลาสมควรแล้ว ก็หันไปถามผู้ใหญ่ฝ่ายชายว่าที่มาวันนี้มาเพื่อกิจอันใด"
ผู้ใหญ่ฝ่ายชายจะเริ่มทำพิธีสู่ขอโดยกล่าวว่า
"วันนี้ฤกษ์งามยามดีอยากจะมาสู่ขอ .......ซึ่งเป็นกุลสตรี ไปเป็นแม่ศรีเรือน ให้กับ......."
ผู้ดำเนินพิธีจะหันไปถาม ผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงว่า
" นางสาว.......เป็นบุตรของท่านใช่หรือไม่"
ผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงตอบว่า
"ใช่"
ผู้ดำเนินพิธี กล่าวว่า
"ถ้าอย่างนั้นขอเชิญตัวนางสาว......มายัง ที่ประชุมแห่งนี้ด้วย "
จากนั้นแม่ฝ่ายหญิงจะขึ้นไปพาตัวเจ้าสาวลงมา และเมื่อมาถึงแล้วก็ไหว้ผู้ใหญ่ฝ่ายชาย
ผู้ดำเนินพิธีถามฝ่ายหญิงว่า
"นางสาว......คนนี้ใช่มั้ย"
ผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงตอบ
"ใช่"
ผู้ดำเนินพิธีก็ขอให้ฝ่ายชายส่งขันหมั้น โดยให้ผู้ชายส่งให้ผู้ใหญ่ฝ่ายชาย ผู้ใหญ่ฝ่ายชายส่งให้ผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงเปิดดูของหมั้นที่ได้นำมา พร้อมกับฝ่ายหญิงวางคืนตรงหน้า และผู้ดำเนินพิธีก็จะขอให้ฝ่ายชายสวมแหวน เมื่อสวมแหวนแล้วผู้ดำเนินพิธีก็จะกล่าวให้แขกนั้นปรบมือเป็นกำ ลังใจ และถ้ามีทองก็สวมทองด้วย ฝ่ายหญิงอาจจะมีแหวนมอบให้แก่ฝ่ายชายได้ แต่พิธีไทยจริง ๆ ไม่ต้องมี แต่ถ้ามีก็ให้คนนำมาให้แม่ฝ่ายหญิง และส่งให้เจ้าสาวสวมให้ฝ่ายชาย แขกก็ปรบมือ เป็นอันเสร็จพิธี ผู้ดำเนินพิธีกล่าวเชิญแขกถ่ายรูปและรับประทานอาหาร
คำกล่าวต่าง ๆ นี้แพรใช้ในพิธีหมั้นของแพรค่ะ
** ดูเพิ่มเติมได้ที่นี่นะคะ http://www.weddingsquare.com/forum/forum_posts.asp?TID=3695