ได้พบข้อความที่น่าสนใจจากอินเทอร์เน็ต
................................
..ซึ่งบางครั้งการนำข้อมูลที่หาได้จากของต่างประเทศมาเปรียบเทียบกับการดูแลหมีแพนด้าของเรานั้น มั่นใจแล้วหรือว่าเป็นสูตรสำเร็จ ทำแล้วจะดี
8:35 PM Feb 17th via TweetDeck
ทำแล้วไม่ส่งผลกระทบ หรือเค้าก็อาจจะกำลังอยู่ในขั้นทดลองก็เป็นได้ การที่ไม่ได้รู้จริงหรือสัมผัสอย่างใกล้ชิด ขืนทำตามเค้าไปเพียงเพราะเห็นว่า..
8:36 PM Feb 17th via TweetDeck
...ต่างประเทศทำอะไรก็ต้องดีไปหมด ก็อาจจะไม่เกิดผลดีสำหรับเราก็ได้ ก็ขอให้มั่นใจว่า กระบวนการในการเลี้ยงดูหมีแพนด้าของเรา ได้มีการวางแผนกันมาโดยตลอด
8:37 PM Feb 17th via TweetDeck
มีการเปรียบเทียบว่าที่อเมริกาแยกแม่ลูกแล้วยังให้อยู่ข้างๆกันได้กลิ่นกัน เราก็ยังไม่ทราบว่าทำแบบนั้นดียังไง มีผลกระทบมั้ย ก็อาจทดลองอยู่
8:47 PM Feb 17th via TweetDeck
.......................................................................
จาก http://t w i t t e r(dot)com/PandaTor
...............................................................................................
วิธีการหย่านมของสวนสัตว์ซานดิเอโก ได้พัฒนาขึ้นโดย San Diego Zoological Society ได้มีการปฏิบัติกับลูกหมีมาแล้วหลายตัว และสวนสัตว์แอตแลนต้าก็ได้นำวิธีการนี้ไปใช้เช่นเดียวกัน...ไม่ใช่อยู่ในระหว่างการทดลองเป็นแน่ และมีบทความมากมาย คลิกอ่านได้จาก google เกี่ยวกับเรื่องกระบวนการหย่านมตั้งแต่ลูกแพนด้าตัวก่อนๆฃอง SDZ และสวนสัตว์อื่นซึ่งผู้ที่ทำงานในโครงการวิจัยหมีแพนด้าไม่ว่าที่ใด ควรจะได้อ่านมาแล้ว....สวนสัตว์อื่นเค้าก็ทราบแล้วว่ามันดียังไง และให้ความเชื่อถือแล้ว (คงยกเว้นไทย) จนกระทั่งนำไปใช้..ลองอ่านจากข้อความนี้ของสวนสัตว์แอตแลนต้ากันดู..ตอนที่จะหย่านม Xi lan
"...The Animal Management Team will use the same stepwise process used with Xi Lans sister, 3-year-old Mei Lan. Developed by the San Diego Zoological Society and used successfully with other giant panda cubs in the U.S..."
http://www.zooatlanta.org/home/article_content/weaning_process_xilan
คำว่า "Developed" แปลว่าผ่านการทดลองหรือปฏิบัติซ้ำๆ หลายๆครั้ง และได้มีการปรับปรุง แก้ไขส่วนที่ไม่ดี ส่วนที่มีปัญหามาแล้ว จนกระทั่งนำไปใช้ ไปปฏิบัติเกิดผลดี จึงมีการเผยแพร่ให้ผู้อื่นนำไปใช้ได้
.........................................................
ที่นำมาเสนอนี้ เนื่องมาจากข้อความที่ปรากฎต่อสาธารณะ ซึ่งเห็นว่าผู้อ่านควรได้รับรู้ถึงความชัดเจนมากกว่านั้น
หากเป็นข้อบังคับจากจีนว่าต้องหย่านมอย่างไร แน่นอนว่าก็ต้องทำไปอย่างนั้น แต่สภาพการเลี้ยงดูและวัยของลูกหมีที่แยก ซึ่งต่างจากจีน น่าจะเป็นปัจจัยที่ผันแปรได้ เช่นเดียวกับการจัดงานวันเกิดหมีทุกเดือน ซึ่งคิดว่าจีนคงไม่ได้บังคับว่าต้องทำ แต่ก็ทำได้
ได้แต่หวังว่าสำหรับการเลี้ยงและหย่านมลูกหมีรุ่นต่อๆไป คงจะได้นำวิธีที่ผู้อื่นเขาพัฒนาไว้แล้ว มาพิจารณาใช้บ้าง
สิ่งที่เราไม่รู้ ไม่ใช่ว่าจะไม่มีอยู่ในโลกนี้