อยากจะแตกทู้ให้นะคะ แต่ว่าพิมพ์ค้างไว้นาน..จนทู้จะระเบิดแล้ว เอาไงดี
งั้นโพสไปเลยแล้วกันนะคะ...
.........................................................................
จับใจความจาก HL
บอกว่าความยาวของแสง ในแต่ละวัน ทำให้ร่างกายของหมีแพนด้ารับรู้ได้ว่าเป็นฤดูไหน สัมพันธ์กับระดับฮอร์โมนที่กระตุ้นการตกไข่ การให้หลินปิงเข้าสโนว์โดมเพื่อให้รับรู้และปรับตัวกับฤดูหนาว เช่นเดียวกับกลางคืนที่พี่เลี้ยงต้องหรี่ไฟเพื่อช่วยสร้างบรรยากาศให้เขารู้ว่าเป็นกลางคืน ซึ่งส่วนใหญ่หมีแพนด้าใช้เวลากับการนอน
และบอกว่าพยายามปรับแสงให้หลินปิงรู้ว่าเป็นกลางคืน จะปรับทั้งแสงและเสียงให้เหมาะต่อการนอนมากขึ้น
ขอเพิ่มเติมเองให้ชัดเจนค่ะ ความยาวของแสง (Day length) ที่ว่านั้นหมายถึงช่วงความยาวของวัน (จำนวนชั่วโมงที่มีแสง) ค่ะ เช่นที่พูดกันว่าฤดูหนาว กลางคืนยาวกลางวันสั้น
ตรงนี้สงสัยว่า ในเมื่อการรับรู้ถึงฤดูกาลมีผลต่อฮอร์โมนที่กระตุ้นการตกไข่ ซึ่งจะเห็นว่าหมีแพนด้าในธรรมชาติซึ่งอยู่ในที่ที่มีอากาศหนาว จะเป็นสัดในฤดูใบไม้ผลิ (Spring) ซึ่งเป็นช่วงที่ธรรมชาติเอื้ออำนวยต่อการหาคู่และผสมพันธุ์ ทำไมจึงไม่ให้หลินฮุ่ยเข้าสโนว์โดมบ้าง ยิ่งอากาศแปรปรวนแบบนี้ อาจไม่มีการตกไข่ก็ได้
เรื่องต่อไป ที่ต้องการฝึกให้หลินปิงนอนมากตอนกลางคืนโดยการหรี่ไฟนั้นทำไมตอนหลินปิงอยู่กับแม่ จึงไม่ฝึก หลินปิงกับแม่เล่นกันหลังเที่ยงคืนประจำ เห็นได้ชัดว่าหลินฮุ่ย active มากตอนกลางคืน ไม่อุ้ยอ้ายเชื่องช้าเหมือนกลางวันเลย อีกอย่าง ตามบทความต่างๆ จำนวนมากบอกว่าหมีแพนด้า active ทั้งกลางวันกลางคืน โดยเฉพาะตอนใกล้สว่างและตอนโพล้เพล้ ซึ่งมีแสงสว่างน้อย นั่นก็น่าจะสอดคล้องกับการที่ตาของหมีแพนด้าเหมือนตาแมวด้วย จึงคิดว่าการหรี่ไฟอาจไม่มีผลทำให้หลินปิงนอนมากได้ แต่ที่มีผลคือคนดูการถ่ายทอดไม่ชัด ไม่เห็นว่าหลินปิงทำอะไร อีกอย่าง ตอนนี้ถ่ายทอดภาพจากกล้องหน้ากรงตัวเดียว แล้วไม่ต้องทำอะไร ผิดสังเกตที่เดี๋ยวนี้ไม่ค่อยถ่ายทอดภาพจากกล้องในห้อง
...............................................
ตัวอย่างข้อความจากเว็บไซต์และบทความต่างๆ บอกว่าหมีแพนด้าทำกิจกรรมได้ในเวลากลางคืนไม่ต่างจากกลางวัน กลางวันกิน 8 ชั่วโมง นอน 4 ชั่วโมง กลางคืนก็เช่นกัน และจะ active ที่สุดในเวลาเช้าตรู่และเวลาโพล้เพล้ เมื่อคืนหลินปิงยังตื่นมาเล่นรุนแรงตอนตีสี่กว่า หลินปิงยังไม่ใช่หมีโตเหมือนพ่อแม่ ยังไงก็คงจะต้องเล่นมากอยู่ดี... การที่หลินปิงเล่นกลางคืนไม่น่าจะเป็นปัญหาเท่ากับทำอย่างไรให้หลินปิงยอมลงมาเล่นตอนกลางวัน คิดว่าหลินปิงไม่ยอมลงมาเล่นไม่ใช่เพราะง่วงนอน เพราะอยู่บนเขาก็ไม่ได้หลับสนิท เดี๋ยวลุกเดี๋ยวนั่ง แต่พอลงมาที่ของเล่น ดูเหมือนกับความจำเสื่อมไปแล้ว... ที่โครงการบอกว่าต้องให้พี่เลี้ยงพาไปแนะนำเหมือนตอนเข้าสวนหลังบ้านในปีนี้นั้น นั่นเพราะหลินปิงไม่ได้เข้าสวนมาเป็นปี และตอนนั้นยังเล็กมากย่อมจำสถานที่ไม่ได้..ต่างกับสถานที่ในส่วนจัดแสดงที่เคยเล่นอยู่เมื่อไม่กี่วันก่อนที่แม่จะหายไป เป็นไปไม่ได้ที่หลินปิงจะลืมสถานที่ที่เคยเล่นมาตั้งนานหลายเดือน....แต่ที่ต้องพาหลินปิงไปแนะนำกันใหม่นั้น ก็เพราะหลินปิงซึมเศร้า ไม่มีอารมณ์ที่จะเล่นมากกว่า
-During winter and spring the giant panda wakes early and there is a second activity peak during the hours of darkness, around 4:00am to 6:00am
-Most of the year the giant panda feeds for eight hours and sleeps for four hours during the day, then feeds again at night for another eight hours, after which it takes a second four-hour nap before awakening to begin the cycle anew.
จาก http://library.thinkquest.org/27396/dayact.htm
-It is important for managers of captive animals to know how animals, particularly those that are active during the night. (ผลการวิจัยที่ SNZP สวนสัตว์สมิธโซเนียน)
-The red panda was primarily crepuscular and nocturnal, whereas giant pandas were intermittently active day and night. (ผลการวิจัยที่ Wu Long)
-They feed during both day and night and are most active in thr early morning and early evening around dawn and dusk. (หนังสือ Bear of the World)
(ต้องขออภัยที่โพสที่นี่ค่ะ ตั้งใจจะพิมพ์สั้นๆ แล้วเกิดยาวไป)
แก้ไขเมื่อ 27 มี.ค. 54 11:58:33