การแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำ
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เดิมพระราชทานพระราชเสาวนีย์พระราชทาน เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาเมื่อวันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๓๔ ณ ศาลาดุสิตดาลัย สวนจิตรลดา ความตอนหนึ่งว่า “ พระบาทสมเด็จเพระเจ้าอยู่หัวทานทรงเห็นว่าแหล่งน้ำนี้มีความสำคัญ มักจะเสด็จฯ ไปกับผู้เชี่ยวชาญในการชลประทาน เพื่อพยายามจะแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำให้กับชาวบ้าน ชาวไร่ ชาวนาต่าง ๆ เพราะไปอย่างนั้นพืชพันธุ์ธัญญาหารไม่ได้ผล ก็มัจจะหมดตัวยากจน บางครั้งต้องขายที่ดิน ซึ่งเป็นอันหมดแล้วในสมบัติชิ้นสุดท้าย และข้าพเจ้าก็ปลื้มใจที่ว่า รัฐบาลตระหนักในความจริงข้อนี้เสมอ จึงได้พยายามทุกวิถีทางที่จะช่วยชาวนาชาวไร่ในเรื่องน้ำ”
งานพัฒนาแหล่งน้ำ เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำที่ได้พระราชทาน พระราชดำริ ให้หน่วยงานต่างๆ ดำเนินการมีหลายประเภทได้แก่
อ่างเก็บน้ำ
อ่าง เก็บน้ำเกิดจากการสร้างเขื่อนปิดกันระหว่างหุบเขา หรือเนินสูงเพื่อเก็บกักน้ำ จนเกิดเป็นแหล่งน้ำที่มีขนาดต่างๆกัน น้ำในอ่างเก็บน้ำนี้สามารส่งออกไปตามท่อส่งน้ำเพื่อใช้สำหรับทำนา ปลูกพืชไร่ ปลุกพืชผักเลี้ยงสัตว์ และเพื่อการอุปโภคบริโภคของประชาชน ในหมู่บ้านได้ตามที่ต้องการ ส่วนอ่างเก็บน้ำก็สามารถใช้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาและกุ้งน้ำจืด ตลอดจนช่วยป้องกันและบรรเทาน้ำท่วม พื้นที่เพาะปลูกตามบริเวณสองฝั่งลำน้ำ ที่อยู่ท้ายอ่างเก็บน้ำได้อีกด้วย งานอ่างเก็บน้ำ ที่มีการก่อสร้างในภาคต่าง มีจำนวนมาก เช่น
- ภาคเหนือ ได้แก่ อ่างเก็บน้ำ:-)ัดสมบูรณ์ชล อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ อ่างเก็บน้ำแม่ต๋ำ อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา เป็นต้น
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ อ่างเก็บน้ำห้วยเตียก อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร อ่างเก็บน้ำห้วยสามพาด อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี เป็นต้น
- ภาคกลาง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำคลองทรายทอง อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก อ่างเก็บน้ำ ห้วยซับตะเคียน อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรีเป็นต้น
- ภาคใต้ ได้แก่ อ่างเก็บน้ำใกล้บ้าน อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส อ่างเก็บน้ำคลองเหลา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เป็นต้น
ฝายทดน้ำ
เมื่อสภาพภูมิประเทศไม่เหมาะสมต่อการสร้างอ่างเก็บน้ำอาจพิจารณาสร้างฝายปิด กั้นน้ำ เฉพาะในลำน้ำขึ้นแทน เพราะถึงแม้ว่าจะเกิดประโยชน์ต่อการเพาะปลูกได้เพียงช่วงเวลาที่มีน้ำไกลมา ก็ตาม แต่น้ำซึ่งเก็บไว้ในลำน้ำด้านหน้าฝายจะใช้สำหรับอุปโภคบริโภคในฤดูแล้งพอที่ จะบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนเกี่ยวกับน้ำกินน้ำใช้ได้งานฝายทดน้ำได้ก่อ สร้างอยู่มากในภาคใต้เช่น ฝายทดน้ำไอร์กาเปาะ จังหวัดนราธิวาส ฝายทดน้ำบ้านแหร จังหวัดยะลา ฝายทดน้ำคลองไม้เสียบ จังหวัดนครศรีธรรมราช ภาคเหนือ เช่น ฝายทดน้ำป่าตองและฝายทดน้ำหลวงต่อแพ จังหวัดแม่ฮ่องสอน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น เขื่อนระบายน้ำลำน้ำเขิน อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น เป็นต้น
ขุดลอกหนองและบึง
“ควร สำรวจหาหนองน้ำธรรมชาติเพื่อ ดำเนินการปรับปรุงให้สามารถเก็บสำรองน้ำในได้ตลอดทั้งปี จะได้เป็นแหล่งเก็บน้ำสำหรับการเพาะปลูก การอุปโภคบริโภค และการประมง”
๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๓๒ งานขุดลอกหนองและบึง ในปัจจุบันแหล่งน้ำธรรมชาติที่เคยเป็น แหล่งน้ำสำหรับเพาะปลูกและใช้อุปโภคบริโภค เช่น ห้วย หนอง คลอง บึง ดังกล่าวนี้ มักตื้นเขินและถูกบุกรุก ทำให้หมู่บ้านต่างๆ มีน้ำใช้ไม่พอตลอดปีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงพระราชทานพระราชดำริว่า ในท้องที่ซึ่งมีหนองและบึงนั้นหนองและบึงจะเก็บกักน้ำในฤดูน้ำหลากทำให้มี น้ำใช้ในยามหน้าแล้งเหมือนกับอ่างเก็บน้ำธรรมชาติที่มีอยู่แล้ว
เมื่อ หนองบึง อยู่ในสภาพตื้นเขินจนใช้การไม่ได้ดังแต่ก่อนและพื้นที่หลายส่วนถูกยึดครองไป โดยไม่เป็นธรรม ผลสุดท้ายความทุกข์ยากเนื่องจากการขาดแคลนน้ำของชุมชนนั้นก็ต้องเกิดขึ้น จึงพระราชทานพระราชดำริให้หน่วยงานต่างๆทำการบูรณะฟื้นฟูขุดลอกหนองและบึง ธรรมชาติตามท้องที่ต่างๆ มาโดยตลอดเช่นในท้องที่อำเภอสว่างแดนดินอำเภอวาริชภูมิ อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร และอำเภอนาแก อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม ตลอดจนในภาคกลางอีกหลายจังหวัด
สระเก็บน้ำ
สระ เก็บน้ำ เป็นแหล่งเก็บกักน้ำฝน น้ำท่า หรือน้ำที่ไหลออกมาจากดิน ด้วยกาขุดดินให้เป็นสระ สำหรับเก็บขังน้ำ โดยมีขนาดความยาว ความกว้าง และความลึกของสระตามจำนวนที่ต้องการจะเก็บน้ำไว้ใช้งาน ส่วนใหญ่มีความจุน้อย นิยมสร้างในท้องที่ซึ่งไม่มีลำน้ำธรรมชาติหรือสภาพภูมิประเทศไม่เอื้ออำนวย ให้ทำการก่อนสร้างอ่างเก็บน้ำและที่เก็บกับน้ำประเภทอื่น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสนพระราชหฤทัยรูปแบบของการจัดหาน้ำผิวดินให้กับไร่นา และเก็บไว้เพื่ออุปโภคบริโภคด้วยการขุดสระเก็บน้ำนี้เป็นอย่างยิ่ง ทรงตระหนักว่าหมู่บ้านต่างๆ และพื้นที่เพาะปลูกที่ขาดแคลนน้ำในทุกภาคของประเทศนั้น ย่อมไม่สามารถจัดสร้างอ่างเก็บน้ำ ฝายทดน้ำ หรือทำงานขุดลอกหนองบึงเข้าไปช่วยเหลือได้อย่างทั่วถึง เนื่องจากมีขอบเขตจำกัดเกี่ยวกับสภาพภูมิประเทศและท้องที่ สภาพแหล่งน้ำธรรมชาติที่มี ตลอดจนสภาพสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมของแต่ละแห่ง
ดังนั้นจึงทรงสนพระราชหฤทัย ในการจัดหาน้ำสนับสนุน พื้นที่ทำการเกษตรโดยทั่วไป ด้วยการขุดสระเก็บน้ำประจำไร่นาในทุกท้องที่ ซึ่งในฤดูฝนมีน้ำขังในนา สามารถทำนาได้ แต่ไม่มีน้ำในหน้าแล้ว พื้นที่เพาะปลูกบริเวณนั้นเมื่อขุดสระเก็บน้ำแล้ว ย่อมสามารถเก็บกักขังน้ำที่มีมากในฤดูฝนเก็บไว้พอใช้สำหรับอุปโภคบริโภค และทำการเกษตรผสมผสานในฤดูแล้งได้เป็นอย่างดี ซึ่งงานสระเก็บน้ำลักษณะนี้มีพระกระแสรับสั่งว่าเป็น “ทฤษฎีใหม่” ในการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตรให้กับชาวบ้านตามท้องที่ต่างๆ ทั่วไป งานจัดหาน้ำตามแนว “ทฤษฎีใหม่” ได้จัดทำขึ้นเป็นแห่งแรกในที่ดินประมาณ ๑๖ ไร่ ของมูลนิธิชัยพัฒนา ที่ข้างวัดมงคลชัยพัฒนา อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี และต่อมาได้ขยายผลไปดำเนินการในพื้นที่ของราษฎรเป็นจำนวนมากกว่า ๑๐๐ รายในเขตอำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งปัจจุบันได้ผลเป็นที่น่าพอใจ เกษตรกรแต่ละรายมีน้ำทำการเกษตรแบบผสมผสาน ที่ทำรายได้งดงานให้กับครอบครัว
ทฤษฎีการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมอันเนื่องมาจากพระราชดำริตามแนวทางการบริหารจัดการด้านน้ำท่วมลับ (Flood Management)
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระมหากรุณาธิคุณ พระราชทานแนวพระราชดำริ แก้ไขปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพมหานครไว้ ๕ แนวทางคือ
ประการแรก สร้างคันกั้นน้ำโดยปรับปรุงแนวถนนเดิม
ประการ ที่สอง จัดให้มีพื้นที่สีเขียว (Green Belt) ตามพระราชดำริ เพื่อกันการขยายตัวของเมือง และเพื่อแปรสภาพให้เป็นทางระบายน้ำเมื่อมีน้ำหลาก
ประการที่สาม ดำเนินการขุดลอกคลอง ขยายคลองที่มีอยู่เดิมและขุดใหม่นอกแนวกันน้ำ
ประการที่สี่ สร้างสถานที่เก็บน้ำตามจุดต่างๆ
ประการที่ห้า ขยายช่องทางรับน้ำที่ผ่านทางรถไปและทางหลวง
๑. สร้างคันกั้นน้ำ
๒. จัดให้มีพื้นที่สีเขียว
๓. ขุดลอกคลอง ขยายคลองที่มีอยู่เดิม
๔. สร้างสถานที่เก็บน้ำตามจุดต่าง ๆ
๕. ขยายช่องทางรับน้ำที่ผ่านทางรถไปและทางหลวง
วิธีการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในภูมิภาคต่าง ๆ คือ
๑. การก่อสร้างคันกันน้ำ โดยการก่อสร้างคันดินกั้นน้ำขนานไปตามลำน้ำเพื่อป้องกัน มิให้น้ำล้นตลิ่งไปท่วมในพื้นที่ต่าง ๆ ด้านใน
๒. การก่อสร้างทางฝันน้ำ เพื่อผันน้ำทั้งหมดหรือบางส่วนที่ล้นตลิ่งท่วมล้นเข้ามาให้ออกไป
๓. การปรับปรุงและตกแต่งสภาพลำน้ำ เพื่อให้น้ำที่ท่วมทะลักสามารถไหลไปตามลำน้ำได้สะดวก หรือช่วยให้กระแสน้ำไหลเร็วยิ่งขึ้น
การแก้ปัญหาน้ำท่วม พื้นที่ในเขตกรุงเทพมหานคร และริมณฑลตามพระราชดำริ “แก้มลิง” ลักษณะและวิธีการของโครงการแก้มลิง
๑. ดำเนินการระบายน้ำออกจากพื้นที่ตอนบน ให้ไหลลงคลองพักน้ำขนาดใหญ่ที่บริเวณชายทะเล
๒. เมื่อระดับน้ำทะเลลดต่ำกว่าระดับในคลอง ก็ทำการระบายน้ำจากคลองดังกล่าว โดยใช้หลักการทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของโลก(Gravity Flow) ตามธรรมชาติ
๓. สูบน้ำออกจากคลองที่ทำหน้าที่ “แก้มลิง” นี้ เพื่อจะได้ทำให้น้ำตอนบนค่อยๆ ไหลมาเองตลอดเวลา ส่งผลให้ปริมาณน้ำท่วมพื้นที่ลดน้อยลง
๔. เมื่อระดับน้ำทะเลสูงกว่าระดับน้ำในลำคลองให้ทำการปิดประตูระบายน้ำโดยยืดหลักน้ำไหลลงทางเดียว (One Way Flow)
หลักการ ๓ ประเด็น ที่โครงการแก้มลิงจะสามารถมีประสิทธิภาพบรรลุผลสำเร็จตามแนวพระราชดำริคือ
๑. การพิจารณาสถานที่ที่จะทำหน้าที่เป็นบ่อพัก และวิธีการชักนำน้ำท่วมไหลเข้าสู่บ่อพักน้ำ
๒. เส้นทางน้ำไหลที่สะดวกต่อการระบายน้ำเข้าสู่แหล่งที่ทำหน้าที่บ่อพักน้ำ
๓. การระบายน้ำออกจากบ่อพักน้ำอย่างต่อเนื่อง
โครงการ แก้มลิงฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ใช้คลองชายทะเลที่ตั่งอยู่ริมทะเลด้านจังหวัดสมุทรปราการ ทำหน้าที่เป็นบ่อพักน้ำหรือบ่อรับน้ำ โครงการแก้มลิงในพื้นที่ฝั่งตะวันตก ของแม่น้ำเจ้าพระยา ทำหน้าที่รับน้ำในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อระบายออกทะเลด้านจังหวัดสมุทรสาคร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริ เพื่อให้การระบายน้ำท่วม ออกทะเลเร็วขึ้นด้วยวิธีการต่างๆ คือ โครงการแก้มลิง “แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง” ซึ่งใช้หลักการในการควบคุมน้ำในแม่น้ำท่าจีน คือ เปิดระบายน้ำจำนวนมากลงสู่อ่าวไทยเมื่อระดับน้ำทะเลต่ำ โครงการแก้มลิง แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง จะมีประสิทธิภาพสมบูรณ์ต้องดำเนินการครบระบบ
๓ โครงการ ด้วยกันคือ
๑. โครงการแก้มลิง “แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง”
๒. โครงการแก้มลิง “คลองมหาชัย -คลองสนามชัย”
๓. โครงการแก้มลิง “คลองสุนัขหอน”
โครงการ แก้มลิงนับเป็นนิมิตหมายอันเป็นสิ่งที่ชาวไทยทั้งหลาย ได้รอดพ้นจากทุกข์ภัยที่นำความเดือนร้อนแสนลำเค็ญ มาสู่ชีวิตที่อบอุ่นปลอดภัย ซึ่งแนวพระราชดำริ อันเป็นทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านน้ำท่วมนี้ มีพระราชดำริเพิ่มเติมว่า “…ได้ดำเนินการในแนวทางที่ถูกต้องแล้ว ขอให้รีบเร่งหาวิธีปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพต่อไป เพราะโครงการแก้มลิงในอนาคตจะสามารถช่วยพื้นที่ได้หลายพื้นที่...”