 |
[Trans] สรุปการสืบพยานของศาลระหว่าง JYJ และ SM วันที่ 15 มีนาคม 2011 Summary of the Court Hearing between JYJ and SM on March 15, 2011 Posted on April 18, 2011 by Mission4JYJ ทุกคนทราบกันดีอยู่แล้วว่าคดีความระหว่างสมาชิกทั้งสามของ TVXQ (JYJ) แจจุง ยูชอน และจุนซู กับ SM กำลังอยู่ระหว่างกระบวนการทางศาล โดยมีการนัดสืบพยานครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2011 ที่ผ่านมา ดังนั้นเราจึงอยากแบ่งปันข้อมูลที่สำคัญและการวิเคราะห์ที่เกี่ยวข้องกับการ ไต่สวน คดีครั้งนี้เป็นภาษาอังกฤษให้กับคุณผู้อ่านทุกท่านได้ทราบ (T/N : และเราก็แปลมาจากต้นฉบับภาษาอังกฤษอีกทอด XD) และจะมีการนัดสืบพยานอีกครั้งหนึ่งในวันพรุ่งนี้ (19 เมษายน 2011) ที่ศาล ดังนั้นข้อมูลนี้อาจจะช่วยปูพื้นฐานให้คุณเข้าใจหลายสิ่งหลายอย่างได้มาก ขึ้น ก่อนที่คุณจะได้อ่านข้อมูลอื่นๆเกี่ยวกับการไต่สวนครั้งต่อไป เพราะมีข้อมูลเกี่ยวกับการฟ้องร้องของ JYJ กับ SM ค่อนข้างจำกัดมากสำหรับแฟนต่างชาติ ต้นฉบับถูกเขียนขึ้นในภาษาเกาหลีโดย DC TVXQ Gallery’s ATM และ Mission4JYJ ซึ่งเป็นผู้แปลบทความนี้ ได้รับอนุญาตจากผู้เขียนบทความแล้ว Update 18 เมษายน 2011 : การนัดสืบพยานของศาลระหว่าง JYJ และ SM ซึ่งควรจะมีขึ้นในวันที่ 19 เมษายน 2011 ถูกเลื่อนออกไป สำหรับรายละเอียดอื่นๆยังไม่มีการยืนยัน Update 28 เมษายน 2011 : โปรดสังเกตว่ามีการปรับแก้ไขภาพลักษณ์ของคดีบางส่วน สถานที่ : ศาลกลางกรุงโซล ทนายความ : สำนักงานกฎหมาย Sejong ในฐานะตัวแทนทางกฎหมายของสามสมาชิกTVXQ (JYJ) Yulchon, Taepyung และ Jipyong&Jisung ในฐานะตัวแทนทางกฎหมายของ SM Entertainment (SM) I. ก่อนการสืบพยาน 1. การฟ้องร้องอยู่ระหว่างการดำเนินการในชั้นศาลไปพร้อมๆกัน ในขณะนี้ JYJ และ SM มีการฟ้องร้องกันอยู่ 2 คดีในศาล คือ 1) การฟ้องร้องเพื่อขอยุติสัญญาผูกขาดระหว่าง SME กับสามสมาชิก JYJ ยื่นฟ้องโดยแจจุง ยูชอน และจุนซู 2) การฟ้องแย้งการฟ้องร้องคดีหลักข้างต้น ยื่นฟ้องโดย SM เพื่อยืนกรานว่าสัญญาผูกขาดนั้นมีผลตามกฎหมาย ดังนั้นสมาชิกทั้งสามคนจะต้องจ่าย ค่าชดเชยสำหรับความเสียหายที่เกิดจากการฟ้องร้องหลักข้างต้น SM ร้องขอให้รวมการฟ้องร้องทั้งสองข้อเป็นคดีเดียวกัน โดยยืนกรานว่าสัญญาระหว่าง JYJ และ SM ยังมีผลอยู่ แต่ฝ่ายทนายความของ JYJ โต้แย้งว่าจะไม่มีการชดเชยเกิดขึ้น ถ้าหากคดีหลักได้รับการตัดสินว่าสัญญาไม่มีผลบังคับใช้อีกต่อไป ศาลตัดสินตามการโต้แย้งของฝ่าย JYJ ในกรณีนี้ และคำร้องนี้ถูกปฏิเสธ อย่างไรก็ตามศาลเห็นพ้องว่าควรรับฟังหลักฐานทั้งสองคดีพร้อมกันเนื่องจาก SM ยืนยันว่ามีความคาบเกี่ยวทับซ้อนกันอย่างมากของหลักฐานต่างๆและการโต้แย้ง หลักของทั้งสองคดี การฟ้องร้องทั้งสองคดีนั้นแยกกัน แต่การแสดงหลักฐานและการสอบพยานจะกระทำไปพร้อมกันเพื่อประหยัดเวลาในการไต่สวน 2. การตัดสินในบางประเด็นก่อน ทนายความของ JYJ ร้องขอให้ศาลมีการตัดสินในบางประเด็นก่อน เมื่อ JYJ ต้องเผชิญกับการขัดขวางการทำกิจกรรมของพวกเขาทั้งทางตรงและทางอ้อม โดย SM ซึ่งเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ในธุรกิจวงการบันเทิง SM ปฏิเสธคำร้องข้อนี้และโต้แย้งว่าไม่สามารถทำการตัดสินใดๆได้ทั้งสิ้น จนกว่าจะมีการไต่สวนและพิสูจน์หลักฐานทั้งหมดในศาล ศาลให้ทนายความของ JYJ ยื่นเหตุผลสำหรับคำร้องขอให้ตัดสินในบางประเด็นก่อนเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อพิจารณา *กรุณาสังเกตว่าในการสืบพยานครั้ง นี้ ส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับการจัดสรรรายได้เป็นหลัก และคำตัดสินชี้ขาดเกี่ยวกับสัญญาระหว่าง JYJ และ SM นั้นได้รับการตัดสินรับรองแล้วว่าไม่เป็นธรรมและเป็นโมฆะไปเรียบร้อยแล้ว ด้วยคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวในปี 2009 ทนายของ JYJ ร้องขอให้มีการตัดสินในบางประเด็นก่อนเนื่องจาก JYJ ยังคงพบกับอุปสรรคในการทำงาน เนื่องด้วยมีการเข้าใจผิดว่าสมาชิกทั้งสามอาจมี “สัญญาซ้อน” ตั้งแต่การฟ้องร้องขอยุติสัญญากับ SM ยังคงอยู่ในชั้นศาล 3. การคัดเลือกพยานและการยื่นรายชื่อพยานเพิ่มเติม 1) พยานที่ถูกเรียกมาให้การในวันที่ 15 มีนาคม 2011 - Seong Hui YUN เป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องหลักในเรื่องที่เกี่ยวกับทางบัญชีของ TVXQ ตั้งแต่ปลายปี 2007 2) รายชื่อพยานเพิ่มเติมซึ่ง SM จะเรียกมาให้การในการสืบพยานครั้งหน้า a. So Young NAM หัวหน้า (ผู้บริหาร) SM JAPAN โดย SM ยืนยันว่าเธอสามารถอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับกิจกรรมของ TVXQ ในญี่ปุ่นและการลงทุนของ SM ใน AVEX ได้ดีกว่า i. ทนายของ JYJ คัดค้านการเรียกตัว So Young NAM มาเป็นพยานเนื่องจากเธอเป็นเจ้าหน้าที่ของ SM Japan และไม่สามารถเป็นพยานเกี่ยวกับสัญญาผูกมัดในเกาหลีได้อย่างสมบูรณ์ ii. SM ยืนกรานว่า So Young NAM สามารถให้รายละเอียดเกี่ยวกับกิจกรรมของ TVXQ ในญี่ปุ่นได้ และดังนั้นจึงจำเป็นที่เธอควรถูกเลือกให้มาเป็นพยาน iii. ศาลเรียกดูเอกสารเพิ่มเติมเกี่ยวกับการคัดเลือกพยาน และยอมรับเธอในฐานะพยาน เธอจะต้องเข้าร่วมในการสืบพยานนัดถัดไป b. พยานเพิ่มเติมอื่นที่ยื่นโดย SM : ทีมงานจาก AVEX และอดีตผู้จัดการของ TVXQ ศาลได้ขอให้ SM ยื่นรายชื่อพยานทั้งหมดพร้อมกันในการไต่สวนครั้งเดียว ดีกว่าการยื่นขอเพิ่มพยานผ่านการไต่สวน (ตีความได้ว่า SM ไม่ควรจะพยายามทำให้คดียืดเยื้อออกไปอีก) ศาลเห็นด้วยกับทนายของ JYJ ว่า SM ควรทำรายชื่อพยานทั้งหมดที่จะเรียกมาให้การและยื่นให้ทนายฝ่าย JYJ และศาลเพื่อคัดเลือกก่อนการไต่สวนนัดต่อไป II. รายละเอียดการสืบพยาน (Seong Hui YUN) * สรุปความต่อไปนี้นำมาจากคำตอบของ Seong Hui YUN พยานทางฝ่าย SM ทั้งสิ้น เธอเคยทำงานให้กับ Fandango Korea ตั้งแต่เดือนเมษายน 2004 และเริ่มทำงานให้กับ SM เมื่อ Fandango Korea ถูกรวมกิจการเข้ากับ SM ในปี 2006 ต่อมาเธอได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายบริหารธุรกิจในปี 2007 และมีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดสรรผลประโยชน์ให้กับศิลปินนับแต่นั้นมา 1. วิธีการคิดคำนวณการจ่ายเงินสำหรับกิจกรรมในวงการบันเทิงของ TVXQ 1) การจัดสรรผลกำไรจะทำทุกๆ 6 เดือน และการจ่ายเงินโดยปกติจะทำปีละ 2 ครั้ง ดังนั้นจึงมีช่องว่างของรายได้เกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ตามคำให้การของพยานแล้ว การจัดสรรรายได้จะเกิดขึ้นบ่อยแค่ไหนนั้น สามารถปรับเปลี่ยนได้โดยขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของศิลปินด้วย ในกรณีของศิลปินที่มีการแบ่งผลกำไรกับ SM บ่อย ศิลปินคนนั้นจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นแทนที่จะแบ่งกัน จ่ายกับ SM และรับผลกำไรหลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้ว การแบ่งผลกำไรด้วยวิธีนี้สะดวกสำหรับ SM อย่างมาก แต่ไม่ได้เอื้อประโยชน์และยังเป็นปัญหาสำหรับศิลปินผู้ซึ่งมีรายรับไม่สม่ำ เสมอแต่ไม่เคยว่างเว้นจากการทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับ TVXQ ผู้ซึ่งมีกิจกรรมตลอดทั้งปี ยกเว้นวันหยุดประจำปีของพวกเขาซึ่งก็มีระยะเวลาเพียงแค่ประมาณอาทิตย์เดียว เท่านั้น พวกเขาไม่มีความจำเป็นที่จะต้องรับส่วนแบ่งรายได้ทุก 6 เดือนแต่อย่างใด เพราะมีรายได้เข้ามาอยู่ตลอดเนื่องจากไม่เคยว่างเว้นจากการทำงาน ยิ่งไปกว่านั้นความจริงก็คือสมาชิกของ TVXQ ยังคงทำกิจกรรมของพวกเขาโดยไม่ได้หยุดพักและทำรายได้มากเกินกว่าการแบ่งราย ได้ในแต่ละเดือนที่บริษัทจัดการ (SM) ยึดติดกับนโยบายการแบ่งผลกำไรครึ่งปี 2)ไม่มีนักกฎหมายหรือนักบัญชีอาชีพไปพร้อมกับ JYJ ด้วยในการประชุมเพื่อจัดสรรรายได้ พยานขึ้นเบิกความให้กับข้อซักถามของ SM ว่า กระบวนการจัดสรรรายได้นั้นมีความโปร่งใสอย่างที่ควรเป็นและไม่มีข้อร้อง เรียนจากศิลปินในกระบวนการนี้แต่อย่างใด อย่างไรก็ตามความเห็นนี้ไม่เกี่ยวข้องกับประเด็นนี้เลย การฟ้องร้องนี้ถูกนำขึ้นสู่ศาลเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพการณ์อัน เนื่องมาจากการรับรู้ถึงปัญหาที่สมาชิกไม่เคยตระหนักในอดีต ความเห็นของ “ศิลปิน SM คนอื่น” หรือตัวศิลปินเองจะเคยมีการบ่นถึงเรื่องนี้หรือไม่ก็ตามนั้นไม่มีความสำคัญ แต่ประการใด ศาลได้เตือนพยานถึงจุดนี้อยู่หลายครั้งระหว่างการตอบคำถาม เนื่องจากมีความแตกต่างกันอย่างมากของระดับความรู้ความสามารถในการทำความ เข้าใจในกระบวนการจัดสรรรายได้ให้ถูกต้อง ดังนั้นจึงไม่สามารถกล่าวได้ว่าข้อตกลงที่ทำขึ้นระหว่างการจัดสรรผลกำไรนั้น ยุติธรรม 3) JYJ ไม่เคยเห็นบันทึกรายละเอียดของการจัดสรรรายได้ สมาชิกทั้งสามคนไม่เคยเห็นสัญญา ใบเสร็จรับเงิน หรือเอกสารอื่นๆที่ทีมงาน SM เป็นผู้จัดเตรียมขึ้น เนื่องจากพวกเขาไม่เคยร้องขอและในความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ เอกสารเหล่านี้ก็เป็นไปไม่ได้ที่จะทำความเข้าใจได้อยู่แล้ว ตั้งแต่การเป็นเอกสารที่ไม่มีนักบัญชีในฐานะตัวแทนของสมาชิกปรากฏอยู่ (T/N : แปลได้ง่ายๆว่ามันเป็นเอกสารที่คนธรรมดาอ่านไม่รู้เรื่องน่ะค่ะ ต้องใช้ผู้ชำนาญเฉพาะอ่าน และก็หมายความว่าน้องๆควรจะมีผู้ชำนาญเฉพาะทางบัญชีช่วยดูเรื่องนี้ด้วย ตั้งแต่ต้น) และนอกจากนั้น SM ไม่เคยนำเอกสารเหล่านี้มาให้สมาชิกดูเพื่อเป็นการยืนยันเลย พยานยืนยันว่าเอกสารทั้งหมดซึ่งศิลปินจำเป็นต้องตรวจสอบรายละเอียดของผลกำไร นั้นได้จัดเตรียมไว้ให้พวกเขาในการประชุมแล้ว แต่อย่างไรก็ตาม จากการไต่สวนซักค้านจากทางฝ่าย JYJ เธอยอมรับว่าเธอไม่เคยแสดงรายละเอียดของบัญชีให้สมาชิกทั้งสามดูแต่อย่างใด - มีเหตุการณ์เกี่ยวกับ “การจ่ายเป็นเงินสดโดยไม่ได้เขียนสัญญา (T/N : อาจจะหมายถึงหลักฐาน)” สำหรับการตรวจสอบการจ่ายเงิน ในกรณีที่พิจารณาแล้วว่าเป็นการจัดสรรผลกำไร จำเป็นที่จะต้องมีการยืนยันการจ่ายเงินเป็นลายลักษณ์อักษรว่า “จ่ายเป็นเงินสด” ซึ่งจัดเตรียมโดยผู้จัดการซึ่งก็เป็นพนักงานของ SM ด้วยเช่นกัน โดยพื้นฐานแล้ว SM ยืนยันว่าการจ่ายเงินสดโดยไม่ต้องเขียนหลักฐานนั้นเป็นที่ยอมรับของ SM และนอกเหนือไปจากนั้น สิ่งเหล่านี้ไม่เคยนำมาแสดงต่อสมาชิกในรายละเอียดของการจัดสรรเลย 2. การจัดสรรผลกำไร 1) กิจกรรมภายในประเทศ a. TVXQ วงบอยแบนด์ที่มีชื่อเสียงที่สุดในเอเชีย มีค่าตัวในการปรากฏตัว = 0 ? –รายละเอียดที่ไม่เคยถูกเปิดเผยมาก่อน คำตอบของพยานเป็นเอกสารจากการทำกิจกรรมในประเทศของ TVXQ ในปี 2008 สถานีโทรทัศน์จ่ายค่าตัวในการออกรายการ 40 รายการ ใน 60 รายการที่ TVXQ ไปปรากฏตัว แต่เงินส่วนนี้กลับเป็นรายได้ที่ไม่ได้รับการนำมาจัดสรร พยานเบิกความว่าค่าตัวในการออกรายการโทรทัศน์อยู่ที่ประมาณ 200,000 – 300,000 วอน (ประมาณ 180-270 ดอลลาร์สหรัฐ) ต่อรายการ และรายได้ในส่วนนี้ไม่นำมาจัดสรรเนื่องจากจัดอยู่ในค่าใช้จ่ายในการโปรโมท ดังนั้น สถานีโทรทัศน์เชิญคนดังไปออกรายการโทรทัศน์ (+) และจ่ายสำหรับการปรากฏตัว (-) ดังนั้นพวกเขาไม่เสียอะไรเลย (0) SM ได้รับค่าตัวในการออกรายการ (+) และนับเป็นค่าใช้จ่ายในการโปรโมท แทนที่พวกเขาจะต้องลงทุน (+) ดังนั้นจึงเป็นกลยุทธ์แบบ win-win สำหรับ SM (+ +) แต่สำหรับศิลปินผู้ซึ่งไม่ได้รับค่าตัวในการออกรายการที่สมควรได้รับเนื่อง จากวัตถุประสงค์คือ “การลงทุน”ในกิจกรรมของพวกเขา (-) ทั้งที่พวกเขาต้องใช้แรงงานในการปรากฏตัวในรายการ (-) จึงสูญเสียทุกอย่าง (- -) นี่เป็นวิธีการจัดสรรรายได้ที่น่าสนใจมาก ซึ่งเป็นประโยชน์สำหรับผู้รับเพียงฝ่ายเดียวและผู้ให้ก็ได้แต่ให้เท่านั้น เช่นกัน สิ่งที่เลวร้ายยิ่งกว่านั้นคือค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการออกรายการนั้นต้อง จ่ายโดยศิลปินด้วยเช่นกัน b. ค่าใช้จ่ายในการออกแบบท่าเต้นและค่าใช้จ่ายอื่นๆ ถือเป็นการลงทุนจากบริษัทจัดการซึ่งจะต้องแบ่งกันรับผิดชอบระหว่างศิลปินและบริษัท บริษัทจัดการได้รับสิทธิที่จะมีส่วนในรายได้ของศิลปิน เพราะบริษัทได้ลงทุนในตัวศิลปิน แต่เมื่อการลงทุนเหล่านี้ถูกดึงออกมาจากรายได้ของศิลปินในรูปของค่าใช้จ่าย จึงไม่สามารถกล่าวได้ว่าบริษัทจัดการมีการลงทุน เหตุใดบริษัทจัดการจึงยืนกรานว่าพวกเขาลงทุนในตัวศิลปิน ในขณะที่บีบบังคับให้ศิลปินต้องแบกรับค่าใช้จ่ายและภาระในลงทุน เมื่อมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นจะแบ่งกันรับผิดชอบระหว่างบริษัทกับศิลปิน แต่เมื่อมีกำไร บริษัทกลับฮุบเอาไปหมดแล้วไม่นำมาแบ่งกัน นี่มันประหลาดเกินไปแล้วนะ c. การจัดสรรที่เที่ยงตรง แล้วรายได้จากดิจิตอลดาวน์โหลดหายไปไหน? ในสัญญา (ซึ่งเป็นโมฆะและไม่เป็นธรรมอย่างที่มันเป็นอยู่) กล่าวว่า 10% ของยอดขายเพลงดิจิตอล (เช่น MP3) จะถูกแบ่งให้กับศิลปิน แต่ไม่มีการแบ่งกำไรในส่วนนี้ในปี 2009 ซึ่งกำไรทั้งหมดจากเพลงดิจิตอลในปี 2009 เท่ากับ 650,000,000 วอน (ประมาณ 574,000 เหรียญสหรัฐ) และ 10% ของยอดขายนี้ประมาณ 65,000,000 วอน (ประมาณ 57,400 เหรียญสหรัฐ) ยังคงเป็นปริศนาต่อไป d. เหตุผลอะไรที่ทำให้ 9 แสนล้านวอน (ประมาณ 795,000 เหรียญสหรัฐ) สำหรับการแบ่งผลกำไรจากทัวร์คอนเสิร์ตรอบโลกในปี 2007-2008 ตกหล่นไป ค่าใช้จ่ายทั้งหมดรับผิดชอบโดย ‘Dreammaker’ (ผู้ทำสัญญา) และผลกำไรทั้งหมดที่ได้รับคือ 3.4 พันล้านวอน (ประมาณ 3,000,000 เหรียญสหรัฐ) จากทัวร์คอนเสิร์ต Mirotic รอบโลกในปี 2007-2008 โดยมีการจ่ายล่วงหน้า 2.8 พันล้านวอน และอีก 600 ล้านวอน จ่ายหลังจากทัวร์คอนเสิร์ตแล้ว และอีก 9 แสนล้านวอนที่ถูกจ่ายเป็นค่านายหน้า ซึ่ง 9 แสนล้านวอนนี้ไม่ถูกนำมาแบ่งกันเนื่องจากนับเป็น “ค่าใช้จ่าย” ทั้งที่ Dreamaker เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดแล้ว พยาน Seong Hui YUN ผู้ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องในบัญชีเหล่านี้ เบิกความยืนยันว่า เธอได้จัดสรรผลกำไรอย่างเที่ยงตรงและเป็นธรรมโดยมีการตรวจสอบจากภายนอก แต่เธอไม่สามารถตอบได้ว่ารายรับ 9 แสนล้านวอนนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร ถ้าเป็นสัญญาที่แยกต่างหากแล้วเหตุใดรายรับซึ่งมาจากการทำงานร่วมกันของ TVXQ และบริษัทจัดการ จึงไม่ถูกนำมารวมในการจัดสรรผลกำไร 2) ยอดขายเพลงในประเทศ a. ไม่มีวรรคที่กล่าวถึงรายรับจากต่างประเทศในข้อตกลงที่กำหนดไว้ (สัญญา) พยานกล่าวว่าผลกำไรจะถูกจัดสรรก็ต่อเมื่อมียอดขายทั้งในประเทศและต่างประเทศ เกิดขึ้น ถึงแม้ว่าในสัญญาจะไม่ได้กล่าวถึงการแบ่งสัดส่วนตรงนี้เอาไว้ แต่ TVXQ ก็ออกอัลบั้มมากมายในญี่ปุ่นในระยะเวลาไม่นานนัก และอัลบั้มเหล่านี้ก็ได้รับลิขสิทธิ์ในเกาหลี ทุกครั้งที่ออกอัลบั้มจะมีกำไรเกิดขึ้น แต่ไม่มีการแบ่งรายได้ในส่วนนี้และรายละเอียดของบัญชีก็ไม่เคยถูกนำมาแสดง ต่อ JYJ เนื่องจาก JYJ ไม่เคยเรียกร้องขอดูรายรับของพวกเขา (หลังจากการฟ้องร้อง) b. ยอดขาย 3-4 เดือนแรกหลังจากวันออกอัลบั้มเท่านั้นที่จะนำมาคำนวณผลกำไร และไม่มีการแบ่งผลกำไรสำหรับยอดขายที่เกิดขึ้นภายหลังจาก 3-4 เดือนแรกอีก หลังจากการปรับผลกำไรของยอดขาย ‘HUG’ ซิงเกิลเปิดตัวของ TVXQ ในเดือนกันยายน 2004 แล้ว TYVQ ก็ไม่เคยได้รับผลกำไรใดๆจากยอดขายซิงเกิลนี้ในภายหลังอีกเลย ทั้งๆที่ในความเป็นจริงก็คือ ยอดขายอัลบั้มของ TVXQ มีความสม่ำเสมอโดยตลอด เนื่องจาก TVXQ ได้รับความนิยมและขยายฐานแฟนออกไปอย่างสม่ำเสมอจากการทำงานของพวกเขา อย่างไรก็ตาม ไม่มีการแบ่งผลกำไรจากรายได้ส่วนนี้ ถึงแม้ว่าจะมีการจัดสรรรายได้ขึ้น แต่กำไรไม่ได้ถูกจัดสรรจากยอดขายอย่างเป็นทางการ แต่จัดสรรตามจำนวนการขายที่ประเมินโดยบริษัทจัดการ ยกตัวอย่างเช่น อัลบั้มที่ 4 ของ TVXQ ‘MIROTIC’ มียอดขายประมาณ 549,000 แผ่นเฉพาะในเกาหลี แต่ SM กลับนับยอดขายเพียง 480,000 แผ่น เพื่อนำมาคำนวณการแบ่งรายได้ และเป็นอีกครั้งหนึ่งที่ไม่มีการแบ่งรายได้จากยอดขายเพิ่มเติม สัญญาระหว่าง SM และ TVXQ กล่าวว่า SM จะจ่ายเงินเพิ่มให้อีก 50 ล้านวอนสำหรับศิลปินในตอนที่ออกอัลบั้มถัดไป ถ้าหากอัลบั้มที่แล้วขายได้มากกว่า 500,000 แผ่น การคาดเดาที่สมเหตุสมผลก็คือ SM ทำการประเมินยอดขายต่ำกว่าความเป็นจริงเพื่อหลีกเลี่ยงการจ่ายเงิน 50 ล้านวอนนั้นให้กับสมาชิก c. น่าเจ็บใจที่พวกเขาจะได้รับเพียง 5% ของรายได้ต่อยอดขาย 200,000 แผ่น แต่ที่น่าเจ็บใจกว่าก็คือ 5% ของยอดขายอัลบั้ม Mirotic พวกเขาก็ยังไม่เคยได้รับ พยานผู้ซึ่งพิสูจน์ตัวเองว่าเป็นนักบัญชีที่เที่ยงตรงและน่าเชื่อถือที่สุด หลีกเลี่ยงที่จะตอบคำถามจากทนายฝ่าย JYJ โดยกล่าวว่า เธอจำเป็นต้องกลับไปตรวจสอบเอกสารอีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากข้อกำหนดเหล่านั้นแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับประเภทของยอดขาย d. ทุกอย่างกลายเป็นค่าใช้จ่าย พระเจ้า! ทุกอย่างกลายเป็นค่าใช้จ่ายไปหมดเลยเหรอ?!?! มิวสิควีดิโอถูกนับเป็นค่าใช้จ่ายเพราะจะถูกนำไปใช้เป็นแบคกราวน์ในรายการ โทรทัศน์ ดังนั้นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการทำมิวสิควีดิโอ ทั้งการผลิต ค่าโทรศัพท์ระหว่างประเทศ ค่าจอดรถสำหรับพนักงานที่มากับสมาชิกในการถ่ายทำ หรือแม้แต่ค่าที่พัก (เป็นค่าใช้จ่ายซึ่งจะไปรวมกับค่าการจัดการหาอพาร์ทเมนท์ที่สมาชิกอาศัยอยู่ ด้วยกัน) เป็นความรับผิดชอบร่วมกันระหว่าง SM และศิลปิน ถ้าอย่างนั้น เราขอถามอีกครั้งตรงนี้เลยว่า SM ในฐานะบริษัทจัดการของ TVXQ จริงๆแล้วลงทุนอะไรให้กับศิลปินบ้าง? ทำไม SM ถึงยังมาแบ่งผลกำไรกับศิลปินอีก ถ้าหากว่าศิลปินเป็นผู้จ่ายค่าใช้จ่ายทุกอย่างในการโปรโมทและการทำกิจกรรมของพวกเขาเอง?
(ต่อคห.ถัดไป....)
จากคุณ |
:
zylibub
|
เขียนเมื่อ |
:
27 ก.ค. 54 21:21:03
|
|
|
|
 |