′แม่มณี′ และทัศนคติว่าด้วย ′ผู้หญิงทันสมัย′
|
 |
เห็นว่ากระทู้เก่าโดนลบ อ่านยังไม่จบเลย เลยเอามาตั้งใหม่ ^^
(ที่มา หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับประจำวันที่ 15 สิงหาคม 2554)
ท่ามกลางนวนิยายไทยที่ออกมาล้นตลาดหนังสือ จนจำชื่อทั้งคนเขียน ทั้งชื่อเรื่องที่เขียนกันแทบไม่หวัดไม่ไหว อ้อ ยกเว้นพล็อตที่จำได้ค่อนข้างแม่นเพราะส่วนใหญ่ไม่ค่อยหนีกันไปไหนแล้ว สิ่งหนึ่งที่น่าจะเป็นบทพิสูจน์ได้อย่างดีว่าเรื่องไหนได้รับความชื่นชอบมากมายเพียงใดจากคนอ่าน คือการหยิบนิยายเรื่องนั้นๆ มารีเมกเป็นละครแบบซ้ำแล้วซ้ำเล่า
"ทวิภพ" โดยนักเขียนนามอุโฆษ "ทมยันตี" ก็เข้าข่ายที่ว่าไปแบบเต็มๆ
เพราะจะข้ามมากี่ภพ ทวิภพก็ยังโดนใจคนดูอยู่เรื่อย มนต์ขลังของบทประพันธ์นำไปสู่การสร้างในลักษณะของภาพเคลื่อนไหวทุกรูปแบบ ทั้งภาพยนตร์ ละครโทรทัศน์ และละครเวที
รวมถึงล่าสุด ทวิภพ ที่สร้างโดยดาราวีดีโอ ซึ่งได้แพนเค้ก-เขมนิจ จามิกรณ์ มารับบทเป็นแม่มณีที่ทะลุกระจกไปหาคุณหลวงอัครเทพวรากร อ๋อม-อรรคพันธุ์ นะมาตร์ ทางช่อง 7 สี
ในฐานะที่อ่านนวนิยายเรื่องนี้มาตั้งแต่เด็ก และไม่ได้อ่านเพียงครั้งเดียวด้วย น่าจะมีสิทธิที่พอบอกได้ว่าสาเหตุที่ทำให้ทวิภพครองใจและสามารถเดินทางข้ามผ่านกาลเวลาไม่ต่างกับสถานการณ์ในเรื่องนั้น ส่วนหนึ่งนอกจากเพราะซาบซึ้งกับการพรรณนาผ่านตัวอักษรอย่างละเมียดละไม ซึ่งฝีมือการเขียนระดับทมยันตีก็คงไม่ต้องอธิบายอะไรกันให้มากความอีก ว่าเขียนได้เลิศขนาดไหนแล้วนั้น
จุดเด่นอีกประการของนวนิยายเรื่องนี้คือ การเรียนรู้และการแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกันในสิ่งที่ดีงามของแต่ละห้วงสมัยระหว่างคนยุคสมัยรัชกาลที่ 5 และคนยุคปัจจุบัน ในทัศนคติ กิริยา และวิถีชีวิตต่างๆ ทั้งในเรื่องเล็กๆ เชิงปัจเจกอย่างความรักทั้งในระดับคู่รัก ครอบครัว เพื่อนฝูง คนใกล้ชิด จนไปถึงเชิงชาตินิยม (ประเด็นสุดท้ายเข้าใจดีว่าหลายคนอาจไม่เห็นด้วยกับในสิ่งที่ทมยันตีเขียน แต่ก็ควรให้เกียรติในสถานะของทัศนคติหนึ่ง)
ทมยันตีสร้างตัวละครหลักอย่างคุณหลวงอัครเทพวรากร และมณีจันทร์ ให้เป็นตัวแทนแห่งความดีงามเหมาะสมในยุคสมัยนั้นๆ ส่วนที่ดีสุดของอดีตและปัจจุบันถูกนำมาผสานกลมกลืนระหว่างกัน โดยใช้ประเด็นเรื่องชาตินิยมมาเป็นพอยต์หลัก
จากคุณ |
:
วรดา
|
เขียนเมื่อ |
:
16 ส.ค. 54 12:06:03
|
|
|
|