อ้างอิงถึงความคิดเห็นที่ 31
"เธอบอกว่า ทำงานมา 8 ปี และเธอรู้เรื่องแพนด้าดี"
การทำงานกับหมีแพนด้า ต่างกับการทำงานกับสัตว์ประจำถิ่นของไทย จำพวก หมู ไก่ วัว หรือแม้แต่ช้าง เพราะคนอื่นเขาเลี้ยงกันมานาน มีองค์ความรู้สะสมอยู่ในวงการเลี้ยงสัตว์เหล่านี้มากมาย คนที่มาทำงานปีแรกก็สามารถดึงเอาองค์ความรู้เหล่านั้นมาใช้ได้เลย...มาเลี้ยงหมูสักสามปีก็รู้เรื่องหมูทุกขั้นตอน แต่กรณีแพนด้า มีตำราภาษาไทยบ้างหรือไม่ น่าจะไม่มี
ช่วง ช่วงกับหลินฮุ่ย เป็นแพนด้าสองตัวแรกในประเทศไทย หลินปิงเป็นลูกหมีตัวแรกที่เกิดในประเทศไทย...สัตวแพทย์ที่ดูแลก็คงจะเป็นสัตวแพทย์แพนด้าคนแรกของไทยที่ได้คลุกคลีกับการเลี้ยงแพนด้าอย่างเต็มตัวเช่นเดียวกัน ดังนั้น คำว่ารู้เรื่องแพนด้าดี จะเป็นจริงและครอบคลุมสักเพียงใด การเลี้ยงหมีทั้งสามตัวยังคงเป็นระยะหาประสบการณ์มากกว่า ถ้าย้อนดูประวัติการเลี้ยงแพนด้าในอเมริกาก็พบว่ามีปัญหาอุปสรรคมามาก กว่าจะมีองค์ความรู้ที่เผยแพร่ได้เช่นปัจจุบัน
การเลี้ยงลูกหมีตัวแรก การหย่านมครั้งแรกโดยที่ไม่เคยเห็นมาก่อนว่า การหย่านมด้วยกระบวนการนี้ วิธีนี้ ที่ดัดแปลงมาจากวิธีของอเมริกาจะเกิดผลอย่างไรกับลูกหมี และแม่หมีที่เลี้ยงมาในบริบทของไทย..ภาพที่ทีมงานได้เห็น ก็เห็นพร้อมกับคนดูทางบ้าน ซึ่งบางคนไม่ได้ทำงานนอกบ้าน ได้ดูแพนด้าเกือบ 24 ชั่วโมงในแต่ละวัน กับเจ้าหน้าที่โครงการ ผู้บริหาร สัตวแพทย์โครงการที่จะต้องมีงานอื่นทำในรอบวัน เขาเหล่านี้จะได้นั่งดูชีวิตแพนด้าแต่ละวันสักกี่ชั่วโมงกัน...และพี่เลี้ยงก็ทำงานเป็นกะ ช่างกล้องก็คงทำงานเป็นกะด้วย
อยากจะเปรียบเทียบกับการรักษาคนไข้ในโรงพยาบาลของทีมงานแพทย์พยาบาล ซึ่งเขาไม่ได้อยุ่กับคนไข้ตลอดเวลา ทำงานเป็นเวรเป็นกะเช่นกัน แต่หมอจะถามถึงกิจกรรม พฤติกรรมของผู้ป่วยจากญาติที่เฝ้าอยู่ตลอดด้วย เพื่อประกอบการวินิจฉัยอาการ ...ในเรื่องหมี คนดูหน้าจอก็ทำงานคล้ายกับญาติผู้ป่วยนั่นเอง...แล้วโครงการแพนด้าควรจะฟังเสียงผู้ชมหรือไม่ ลองคิดดู
ถ้าหากจะคิดว่าสัตวแพทย์ดูเทปบันทึกด้วยตัวเองทุกวัน เช่น ตอนเช้าก่อนเริ่มงาน นั่งดูคลิปหมีย้อนหลังเมื่อคืน ความยาว 12 ชั่วโมง นั้นคงจะเป็นไปไม่ได้ แล้วทุกวันหลังเลิกงาน มานั่งดูเทปวันนั้นตั้งแต่ 6 โมงเช้า ถึง 4 โมงเย็น รวมเวลา 9 ชั่วโมง ก็เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้อีก และกลับไปบ้านแล้วสัตวแพทย์ก็คงไม่ได้นั่งดูหลินปิงจนสว่างเหมือนผู้ชมบางคนอีก... พี่เลี้ยงและเจ้าหน้าที่ ก็คงไม่มีคนไหนทำแบบนี้ได้ ....
สิ่งที่สัตวแพทย์ได้รับรู้ก็คงจะอ่านบันทึกของพี่เลี้ยง ซึ่งคิดว่าการสังเกตและบันทึกพฤติกรรมของสัตว์นั้นขึ้นอยุ่กับวิจารณญาณ และมุมมองของผู้บันทึกด้วย คนที่ทำงานตรงนี้จะต้องมีความรู้พื้นฐานทางด้านพฤติกรรมสัตว์ จิตวิทยาสัตว์อย่างดีด้วย เพราะต้องมีการตีความ ไม่ใช่แค่บันทึกกิจกรรมของหมี...การบันทึกกิจกรรมว่าหมีทำอะไรเวลาเท่าไร ปีนต้นไม้เอาหัวลงหรือเอาขาลง หลินปิงลอดห่วงยาง หลินปิงนั่งบนล้อยาง นักเรียนนักศึกษาก็ทำได้...
แต่ว่าในการตีความเช่นว่าหลินทำสิ่งนั้นเนื่องจากอะไร เป็นสิ่งที่ซับซ้อน การตีความต้องดูบริบทที่เกี่ยวข้องในขณะเวลานั้นๆด้วย...ไม่เช่นนั้นจะไม่เห็นความจริง อย่างเช่นเห็นคนนั่งยิ้มคนเดียวที่ป้ายรถเมล์ จะคิดว่าชายคนนี้มีความสุขเหลือเกินก็คงไม่ได้ ถ้าเห็นเขาใส่เสื้อผ้าของโรงพยาบาลบางแห่ง ก็พอคิดได้ว่าเขาเป้นคนอย่างไร การเห็นเหตุการณ์เพียงเสี้ยวใดเสี้ยวหนึ่ง ไม่อาจมองอะไรตรงความจริงได้ทุกเรื่อง
"เราบอกไปว่า งั้นหลินปิงก็ต้องเป็นหมีโรคจิตไปตลอด
เธอถามว่า เอาอะไรมาตัดสิน
เราบอกว่าก็ที่หลินปิงหลับทั้งวัน
เธอบอกว่าต้องดูที่ฮอร์โมน อย่าตัดสินจากการชม"
เข้าใจว่า คำว่าหมีโรคจิต เป็นคำนามสั้นๆ ที่ผู้ถามใช้แทนอาการที่คิดว่าหลินปิงมีความไม่ปกติอย่างที่ควรจะเป็น เพื่อใช้แทนการอธิบายยาวๆ ว่าหลินปิงไม่ปกติอย่างไร ถ้าจะพูดอีกอย่างก็คือ หลินปิงมีปัญหาทางจิตใจ และแสดงออกโดยการมีพฤติกรรมที่แตกต่างจากที่ควรจะเป็นหรือแตกต่างจากหมีตัวอื่นในวัยเดียวกัน เช่นหลังแยกแม่เด็ดขาด หลินปิงนอนทั้งวัน หยุดเดินสำรวจ ไม่ดื่มน้ำ ไม่ลงมากินอาหาร หยุดทำกิจกรรมที่ทำมาตอนอยู่กับแม่....จนกระทั่งต้องมีการปรับพฤติกรรมขึ้นโดยทีมงานจากองค์การสวนสัตว์เข้ามาร่วมวางแผนดูแล ในการจัดหาเครื่องเล่น อุปกรณ์และกิจกรรม เพื่อส่งเสริมการแสดงพฤติกรรมตามธรรมชาติ...
สิ่งชวนคิดก็คือ ในช่วงการหย่านม มีการตรวจฮอร์โมนความเครียดของแม่ลูก แต่ไม่ได้แถลงใดๆว่าผลฮอร์โมนเป็นอย่างไร แถลงแต่ฮอร์โมนที่เกี้ยวกับการสมพันธ์ สัตวแพทย์บอกใน HL ว่า การหย่านมนั้นจะแยกก็ได้ไม่แยกก็ได้ และจะไม่ส่งผลต่อสุขภาพของแม่และลูกทั้งร่างกายและจิตใจแต่อย่างใด นักท่องเที่ยวที่ไปเห็นหลินฮุ่ยถามพี่เลี้ยงว่าหลินฮุ่ยเป็นอะไร พี่เลี้ยงตอบว่าเป็นสัด ทั้งที่เพิ่งหย่านมมาไม่กี่วัน อยากให้ทีมงานดูคลิป HL ย้อนหลังไปถึงตอนเริ่มหย่านม ว่าใครเคยพูดอะไรไว้บ้าง
....ส่วนหลินปิง เมื่อดูแล้ว ถ้าหลินปิงปกติดีทำไมจึงต้องส่งเสริมพฤติกรรม ทำไมต้องปลุก และเมื่อครั้งแรกที่หลินปิงลุกขึ้นมาเอง ไปปีนขอนไม้ใหม่ ทำเอาเจ้าหน้าที่บอกใน HLว่าหลายคนถึงกับน้ำตาไหล...ความรู้สึกนี้บอกความจริงในใจของหลายๆคน...และที่โครงการควรพิจารณาก็คือ เมื่อหลินปิงได้พบแม่ และได้แลกบ้านกับช่วง ช่วง ...ปรากฏว่าคนรักหมีจำนวนมาก ที่ไม่เคยเรียกร้อง หรือหลีกเลี่ยงการตำหนิ การวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของโครงการ ได้แสดงความรู้สึกพึงพอใจ และมีความสุขกับการได้เห็นหลินปิงและช่วง ช่วงมีความสุข สนุกสนานด้วย...อาจจะมีบ้างที่ไม่เคยรู้สึกว่าหลินปิงเครียดตอนหย่านม และมารู้สึกว่าหลินปิงเครียดตอนพบหน้าแม่
เมื่อหลินปิงได้ไปเที่ยวที่ส่วนจัดแสดงของช่วง ช่วง หลินปิงขึ้นไปนั่งกินไผ่บนเก้าอี้ช่วง ช่วงได้ทันที ไม่รู้สึกกล้าๆกลัวๆ หลินปิงดื่มน้ำในอ่างช่วง ช่วง ทั้งที่ไม่ดื่มในส่วนจัดแสดงของตัวเอง...พฤติกรรมเหล่านี้ชวนให้คิดว่าทำไม... ในการเดินทั่วส่วนจัดแสดงของตัวเอง หลินปิงมีสีหน้าท่าทางว่าค้นหาบางอย่าง...แต่การเดินทั่วส่วนจัดแสดงช่วง ช่วง นั้น หลินปิงเดินไป เล่นไป ท่าทางอยากรู้อยากเห็น เมื่อหิวก็นั่งลงกินไผ่ได้เอง สิ่งที่เห็นเหล่านี้ ทำให้ย้อนกลับไปคิดว่า หลินปิงอยู่ที่ส่วนจัดแสดงของตัวเองอย่างมีความสุขหรือไม่
คำพูดที่กรอกหูประจำว่าหลินปิงเป็นวัยรุ่นแล้ว อยู่ตัวเดียวได้แล้ว โดยไม่ต้องมีแม่ดูแลนั้น คงเป็นการชี้แจงกับเด็กประถม..เพราะผู้ใหญ่ทุกคนย่อมรู้อยู่แล้วว่าหลินปิงโตขนาดนั้นแล้ว แม่จะไม่มาอุ้ม มากอด หรือมาดูแลตรวจสุขภาพเหมือนเมื่อก่อน...แต่ที่ผู้ใหญ่สนใจกันก็คือ ในเมื่อหลินปิงเป็นวัยรุ่นแล้ว แม่ไม่ต้องดูแลแล้วแต่หลินปิงต้องการเพื่อน ต้องการรู้ทักษะชีวิตทางสังคมจากเพื่อน ไม่ต่างจากเด็กวัยรุ่น แต่โครงการไม่พูดถึงต่อไปว่าเมื่อหลินปิงเป็นวัยรุ่นแล้ว หลินปิงต้องการอะไร มีแต่บอกย้ำมาตลอดว่าจะปรับพฤติกรรมให้หลินปิงมีชีวิตประจำวันเหมือนพ่อแม่ ...มีใครเคยได้ยินจากโครงการบ้างว่าหมแพนด้าวัยรุ่นต้องการอะไร ใช้ชีวิตอย่างไร นอกจากหมีแพนด้ารักสันโดษ โดยไม่ยอมระบุว่าวัยไหน
...พยายามแก้ที่พฤติกรรมโดยไม่รับรู้ถึงสาเหตุ ก็คงจะเหนื่อยหน่อย ปลุกมาตลอดจนเคยชิน ทำอะไรเป็น step เหมือนหมีละครสัตว์แล้ว หลินปิงกลับมาอยู่ส่วนจัดแสดงตัวเองก็นอนทั้งวันเหมือนเดิม ทำให้คิดไปว่าหลินปิงจะแสดงพฤติกรรมตามธรรมชาติเมื่ออยู่ใกล้ ได้เห็นหน้าหมีตัวอื่น แต่สำหรับหลินฮุ่ย การทดลองที่เอาหลินปิงไปพบกันในห้องนอนของหลินฮุ่ย อาจจะสร้างความหวาดระแวงจนฝังใจสำหรับหลินฮุ่ยที่จะไม่ยอมให้หลินปิงมาใกล้ๆ ในส่วนจัดแสดงด้วย และอาจจะเป็นธรรมชาติ ที่แม่หมีจะไม่ยอมให้ลูกที่หย่านมไปแล้วมานัวเนียอีก เพราะจะเป็นอุปสรรคต่อการเลี้ยงลูกตัวใหม่
เมื่อก่อนไม่เคยคิดเลยมาถึงการเอาช่วง ช่วงมาอยู่ข้างๆหลินปิงที่บ้านหลินฮุ่ย แต่พอเห็นผลจากการทดลองสามวันที่ผ่านมา ทำให้คิดว่า ถ้ายึดถือว่าต้องการปรับพฤติกรรมของหลินปิงเป็นที่ตั้ง ก็น่าจะลองให้หลินฮุ่ยไปอยู่บ้านหลินปิง และเอาช่วง ช่วง มาอยู่บ้านหลินฮุ่ยดูบ้าง โดยไม่ต้องเอาหลินปิงมาอยู่ในห้องติดกับห้องนอนของช่วง ช่วง เหมือนที่ทดลองกับหลินฮุ่ย...ผลที่ได้อาจดีกับช่วง ช่วงด้วย...อาจจะทำให้ช่วงช่วงมีชีวิตชีวาขึ้น แทนที่จะนั่งกินกับนอน และอาจส่งผลดีต่อการผสมพันธุ์ด้วยวิธีธรรมชาติในครั้งหน้า
ลูกหมีอเมริกาที่อยู่ตัวเดียวหลังจากครบสองปี คงไม่ได้นอนทั้งวันเหมือนหลินปิง เพราะเขามีกิจกรรมทำ มีต้นไม้ให้ปีนในสวนกลางแจ้ง ตามที่ดูจากคลิป Zhen Zhen มักจะปีนป่ายหรือนอนอยู่บนต้นไม้สูง และการวิจัยต่างๆ ของนักวิจัย ซึ่งเป็นการวิจัยทดลองพฤติกรรมของหมีแพนด้าหลายๆเรื่อง ซึ่งหมีจะได้ทำกิจกรรมที่มีนักวิจัย มีคนมาห้อมล้อม
ต่างจากหลินปิงที่มีความพยายามต่ออายุให้อยู่ต่อ เพราะไม่แน่ใจว่าหลินฮุ่ยจะมีลูกใหม่ในปีนี้หรือไม่ ถ้าไม่มี โครงการก็ขาดดารา จึงสร้างความเข้าใจให้คนดูว่าถ้าไม่กลับจีน หลินปิงจะยังได้อยู่กับแม่ ได้ช่วยแม่เลี้ยงน้อง ได้เล่นกับน้อง แต่ในความเป็นจริงหลินปิงจะไม่มีโอกาสเช่นนั้นเลย ถ้าหลินฮุ่ยมีลูกใหม่ในปีนี้...แม้แต่หลินฮุ่ยไม่ท้อง หลินปิงก็อาจจะไม่มีโอกาสพบหน้า ถ้าไม่มีกระแสเรียกร้อง...และแม้แต่มีกระแสเรียกร้อง ก็คงไม่ได้พบเช่นกัน เพราะได้เห็นมาหลายๆเรื่องแล้ว ..
หากไม่ใช่การตัดสินใจของผู้อำนวยการองค์การสวนสัตว์ด้วยแล้วกิจกรรมนี้คงไม่เกิดขึ้น ..เพราะว่าการเปลี่ยนแปลงใดๆเกี่ยวกับแพนด้า เป็นงานที่ยุ่งยากสำหรับผู้ปฏิบัติ...ถ้าไม่มีการเน้นความสำคัญโดยตรงจากผู้บริหาร อยู่ดีๆ คงไม่มีใครอยากเปลี่ยนแปลง เพราะว่าทำแบบไหน แค่ไหน ก็เงินเดือนเท่าเดิม (เรื่องที่ทำให้คิดว่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง เพราะว่าไม่เคยมีการประกาศแผนล่วงหน้ามาเลยว่าจะทำอย่างไรกับชีวิตหลังสองขวบของหลินปิง)...เสียงประชาชนที่เรียกร้องไม่ใช่เสียงของผู้ชี้ชะตาในหน้าที่การงาน ไม่ใช่ผู้พิจารณาความดีความชอบ จึงไม่ค่อยมีใครให้ความสนใจที่จะตอบสนอง.