 |
ภาษาลาวล้านนาจะไม่ค่อยมีสระเสียงเลื่อนค่ะ ถ้าเป็นคำภาษาลาวลื้อนี่จะยิ่งไม่เลื่อน เช่น เมีย = เมือ = ปิ๊ก, กลับ ภาษาอีสานว่า เมือเฮือน = กลับบ้าน เดว = เดียว กำเดวก่อน = ประเดี๋ยวก่อน, สักครู่ เตี้ย = เตื้อ, เทื่อ = ครั้ง, ที
ภาษาไตลื้อ ก็เช่น โผ = ผัว เม = เมีย เต้อ = เตื้อ
มีมุกว่า พะน่อยกิ๋นเหล้า ตุ๊เจ้าเอาเมีย ใผผิด = พระน้อย (เณร) กินเหล้า ธุเจ้า (พระ) เอาเมีย ใครผิด คำตอบก็คือ เณรผิด เพราะพระพากลับ
ภาษาเหนียจะมีตัว ย 2 ตัว คือขึ้นนาสิกกับไม่ขึ้น ขึ้นนาสิกนี่มีในภาษาลาวกับเขมรด้วย แต่ไทยกลางจะไม่มีขึ้นนาสิก ตัวขึ้นนาสิกเดี๊ยนนิยมแทนด้วยตัว ญ ค่ะ
สระอึ มักจะออกเป็นสระเออะ เช่น เผิ้ง = ผึ้ง เกิ่ง = กึ่ง, ครึ่ง (ดึกเดิ่งเกิ่งคืน = ดึกดื่นครึ่งคืน = ดึกดื่นค่อนคืน) เติง, เถิง, ฮอด = ถึง คำว่า ฮอด อาจจะมาจากคำว่า รอด แต่คำว่า หนึ่ง และ นึ่ง ออกเสียงตามปกติ เปิง = พึง, เหมาะ เปิ้ง = พึ่ง
กำไทย = ภาษากลาง กำเมียง = คำเมือง, ภาษาเหนือ ใต้ = ทางใต้ล้านนา เช่น คนใต้ = คนที่มาจากภาคกลาง เช่น กทม. ลุกใต้มา, ลุกตางใต้ = มาจากทางใต้ ลุก = ลุก, มาจาก ปู้น = นู้น, โน้น เพ้ = นี้ บะ, บ่ = ไม่, มะ กุ, ตึง = ทุก เช่น กุ๊วัน = ทุกวัน ตึงวัน = ทุกวัน แต่เดี๊ยนแยกไม่ค่อยออกนะคะ ว่าต่างกันยังไง แล้วแต่บริบทอีกที วันพูก = วันพรุ่ง วันฮือ = มะรืน ตะวา = เมื่อวาน วันซืน, ตะวาวันซืน = วานซืน ขี้จิ๊ = ขี้เหนียว จิ๊บ่าจิ๊แฮง = งกแรง ไม่ค่อยเอื้อเฟื้อแรงงานกับใคร ขี้ค้าน = ขี้เกียจคร้าน ขี้ขะญ้า = ชันโรง (มั้งนะคะ) ปะแล็ด, ผะแล็ด, ผะแล็ดผะแล่ = แพลง (แต่เป็นแพลงที่เป็นคำวิเศษณ์นะคะ) ผัด = หมุน เช่น โคมผัด = โคมที่หมุนด้วยความร้อน ผัดตะเวิ่น = หมุน, หมุนรอบ หนังสมัยก่อนมีมุกนึง ใช้แปลว่า กลับหลังหัน ซุ่น = เจือก ขอย = อิจฉา หญ้อ = ประชด เจี้ย = dirty joke คึ = ยิ่งใหญ่, อลังการ, เริ่ด คึ้ด = ผิดปกติ, ไม่ถูกต้องตามครรลองคลองธรรม เช่น คนคึ้ด = คนที่แปลกประหลาด งึ่ด = ทึ่ง คิง = ตัว (ลำตัว ขนคิงลุก = ขนตัวลุก = ขนลุก ภาษาอีสาน คีงฮ้อน = ตัวร้อน), ตัวเอง (สรรพนามบุรุษที่ 2 ค่อนข้างหยาบ ใช้คู่กับ ฮา) ฮา = ฉัน (สรรพนามบุรุษที่ 1 ค่อนข้างหยาบ ใช้ ตกสะเกิด = ตกตะลึง ญาบ (มักใช้ว่า ญาบ ๆ) = พรึ่บ ๆ เช่น นกบินญาบ ๆ ขนคิงลุกญาบ ๆ ผ่อกอย = คอยเฝ้าดู เช่น ไปผ่อไปกอย ผ่อไจ = เฝ้าดู, ระมัดระวัง เช่น ไปผ่อไปไจ จ่า = ดูแล ดึ้ง = นิ่งเฉย ดัก = นิ่งสงบ, เงียบ เช่น ดักปิ้ง, ดักซิ่งปิ้ง, เงียบปิ้ง, เงียบซิ่งปิ้ง ดักเหียจะไปไห้ = เงียบเสียอย่าร้องไห้ ขาบ = นิ่งเกาะอยู่ เหมย = หมอก เหมยขาบ = แม่คะนิ้ง เหีย = เสีย, ซะ หลุ = เสีย (ของพัง) บ่ดี, จะไป = อย่า เช่น บะดีญะ, จะไปไปญะ = อย่าทำ คันได = บันได สาด = เสื่อ, เสื่อสาด ปู๋ = ปู (เสื่อ, ผ้าปูที่นอน ฯลฯ) หลึก, หลึน, หลึกหลึน = ดื้อ ฮ้าย = ร้าย, ซน ปึก = โง่ (ประมาณสมองไม่ดี) สึ่ง, สึ่งตึง = โง่ (ประมาณสติไม่สมประกอบ ไม่เต็มเต็ง) เช่น ผีบ้าผีสึ่ง ง่าว = เง่า, โง่ (ประมาณทำอะไรงี่เง่า) เหงา = ง่วงเหงา ง่อม = เหงา สวก = ดุ (ดุร้าย) น้อย = คนที่เคยบวชเณร หนาน = ทิด, คนที่เคยบวชพระ ป้อหลวง (พ่อหลวง), แก่บ้าน = อันนี้เดี๊ยนไม่แน่ใจว่าอันไหนคือผู้ใหญ่บ้าน อันไหนคือกำนัน หรือคือผู้ใหญ่บ้านทั้งสองคำ เกี๋ย = เกลือ, ปู (เสื่อ, ผ้าปูที่นอน ฯลฯ อีกเช่นกัน) แต่แปลได้อีกว่า ให้อาหาร(สัตว์) คงประมาณ โรยแผ่อาหารให้สัตว์ บ้านจอง = บ้านช่อง เช่น บะผ่อบ้านผ่อจอง = ไม่ดูแลบ้านดูแลช่อง บ้านเมียง = ชาวบ้านชาวช่อง, ชาวบ้านชาวเมือง เช่น บะผ่อบ้านผ่อเมียงเปิ้นพ่อง = ไม่ดูชาวบ้านชาวเมืองเขาบ้าง
พิมพ์เพลินเลยค่ะ ถ้าอ่านแล้วเครียดก็ขออภัย แหะ ๆๆ
จากคุณ |
:
อวัยวะชิ้นนั้น
|
เขียนเมื่อ |
:
7 ก.ย. 54 17:29:51
|
|
|
|
 |