 |
เราได้มีโอกาสไปฟังสัมมนา ที่วิทยากรคือผู้กำกับละครของช่อง3 เช่น พี่คิง สมจริง ศรีสุภาพ, พี่งัด สุพล วิเชียรฉาย และ พี่ปุ้ม ก่อนบ่ายคลายเครียด
มีคำพูดหนึ่งของพี่ๆ เค้า เราจำได้ดี พอสรุปได้ว่า "บ้านเรามีนักประพันธ์เยอะ จึงไม่แปลกที่จะมีเรื่อง มีนิยายให้หยิบมาทำละคร ทำหนัง ได้เยอะ ในตลาดก็มีหนังสือนิยายออกมามากมายแทบทุกวัน แต่ที่เราขาดคือ ผู้เขียนบทโทรทัศน์ เพราะคนเขียนบทรุ่นใหม่ๆ ไม่ค่อยทำรีเสิร์ท จะเขียนบทเรื่องไหน แนวไหน ก็ต้องทำการบ้านให้เยอะ รีเสิร์ทให้เยอะ"
"ดังนั้น เราจึงมักเห็นตัวเอก หิ้วกระเป๋าไปทำงาน นั่งทำงาน ประชุม แต่ไม่รู้ว่าเขาทำงานอะไร ประชุมเรื่องอะไร มีปัญหาอะไร แค่ตัดฉากไปเห็นห้องประชุม แล้วมีบทพูดสักไม่กี่ประโยค เราไม่ค่อยเห็นละครแนวที่ลงลึก เพราะเราไม่มีคนเขียนบทที่มีความรู้ขนาดนั้น" (สำหรับประเด็นนี้เราเห็นด้วยอย่างยิ่ง ละครแนวสืบสวนสอบสวน หรือเรื่องราวที่เป็นอาชีพเฉพาะทาง เช่น หมอ พยาบาล บทพูดตัวละครดูแล้วจะรู้สึกว่า ไม่ใช่)
ประเด็นที่เราตั้งกระทู้ก็คือ ไม่ได้ดูว่าเรื่องไหนเกิดก่อนเกิดหลัง แต่บทที่พูดนั้น มันมาจากคนละเรื่องกัน มีผู้กำกับหลายคนที่ละเอียดในการสร้างผลงาน เวลาที่เราอ่านเรื่องราวของท่านเหล่านั้น บางครั้งถึงกับทึ่ง เช่น
เชิด ทรงศรี จากเรื่องอำแดงเหมือนกับนายริด เป็นเรื่องราวสมัยรัชกาลที่ 4 ขณะถ่ายทำฉากพระเอกนางเอกลงเล่นน้ำในคลอง แล้วมีผักตบชวาลอยเข้ามาในฉาก ถึงกับต้องสั่งคัต เพราะผักตบชวามีเข้ามาในเมืองไทยสมัยรัชกาลที่ 5 ก่อนหน้านั้นไม่มี เราก็ เออ...จริงซิ ได้ความรู้ไปด้วย
ปัจจุบันมีหนังหรือละครย้อนยุคหลายเรื่องที่ตัวละครทักทายกันด้วยคำว่า "สวัสดี" ทั้งๆ ที่คำนี้เริ่มบัญญัติใช้เมื่อ 22 มกราคม 2486 ในสมัยของ จอมพล ป.พิบูลสงคราม นี่เอง (อ้างอิง http://th.wikipedia.org/wiki/สวัสดี )
แก้ไขเมื่อ 25 ก.ย. 54 00:07:58
จากคุณ |
:
ปูน้อยลอยลม
|
เขียนเมื่อ |
:
25 ก.ย. 54 00:06:57
|
|
|
|
 |