 |
เสียดาย 15 ค่ำฯ เหมือนกัน แต่ มนต์รักทรานซิสเตอร์ สำหรับผมก็เป็น 1 ในภาพยนตร์ไทยที่ดีที่สุดในใจผมเหมือนกันนะ
นึกแล้วมันน่าเสียดาย ช่วงนึง วงการภาพยนตร์ไทยเราเคยมีภาพยนตร์ดีๆ ออกมาให้ดูชนิดชนกันจ้าละหวั่น เรียกว่าแฟนหนังดีๆ อิ่มอกอิ่มใจไปเลย
ทำให้นึกขึ้นได้ จนมาช่วงที่กระแสภาพยนตร์ไทยหันไปทางการตลาดมากขึ้นๆ (ก็เป็นไปตามระบบของมันล่ะนะ ทำหนัง ก็ย่อมอยากได้เงิน) ทำให้คุณภาพของหนังที่ผ่านมามันอิงไปตามกระแสนิยม ซึ่งก็จะวนๆ อยู่กับ หนังตลก, หนังผี, หนังบู๊ หรือ หนังรักวัยรุ่น
ซึ่งจะเป็นภาพยนตร์แนวไหนนั้นมันไม่ได้สำคัญอะไรเลย แต่สำคัญที่ "คุณภาพ" ที่ทำออกมา เสียแต่ว่าหลายๆ ทีเห็นหนังบางเรื่องแล้วก็ปวดใจ
แต่ว่าไปก็มีภาพยนตร์หลายๆ เรื่องที่ผมยังคิดอยู่ว่า เออ ก็ดีนะ เหมือนจะจับเอา "ตลาด" มาผสมกับ "คุณภาพ" ได้ คือไม่ใช่เน้นเทไปด้านใดด้านหนึ่งจนเกินไป ไม่ตลาดจ๋าจนหาสาระอะไรไม่ได้ แต่ก็ไม่เคร่งเกินไปจนคนดูหลายๆ คนเข้าไม่ถึง ทำให้เป็นหนังที่ดูสนุกและก็มีคุณภาพไม่น้อย มีอะไรให้ติดตาม ให้คิดบ้าง
อย่างพวก "เฉือน", "บอดี้ ศพ 19", "จอมขมังเวทย์" หรือ "เด็กหอ" อะไรพวกนี้
ส่วนตัว ผมก็เข้าใจคนทำหนังนะ คนก็ต้องกินข้าว บริษัทก็ต้องการกำไร ดังนั้นบางที (จริงๆ แทบทั้งหมดมากกว่า) ภาพยนตร์ มันจึงเน้นเอาที่ขายได้เข้าว่า แต่เรื่องคุณภาพก็ว่ากันอีกที และคุณภาพที่ว่า ต่ำ ที่สุดของภาพยนตร์ไทย เห็นจะเป็นเรื่อง บท ที่มีหลายเรื่องที่ยัง... นะ
การเน้นไปแต่ที่เอาศิลปิน ดารา นักแสดง ตลก นักร้อง ที่มีชื่อเสียง (ชื่อเสียง ไม่ใช่ ฝีมือ นะ) มาเล่น ,มีคอสตูมแหวกๆ ฮาๆ มันไม่ใช่คุณภาพที่จะทำให้ภาพยนตร์เป็นภาพยนตร์ที่ดีขึ้นเลย จริงๆ นะ
เรื่องเทคนิคพิเศษ เราไม่ว่ากัน รู้ เข้าใจ, เรื่องทุน เราไม่ว่ากัน รู้เข้าใจ
แต่เรื่องพื้นฐานอย่าง บท, นักแสดง (หมายถึง "นักแสดง" จริงๆ น่ะนะ), มุมกล้อง, เสียง, ดนตรีประกอบ, แต่งหน้า, เครื่องแต่งกาย ฯลฯ ผมว่าถ้ามันทำออกมาไม่ประทับใจคนดู ก็สมควรโดนต่อว่าได้นะ เพราะมันอยู่ในวิสัยที่ทำได้
ส่วนเรื่องตัวแทนไป ออสการ์
ผมไม่อยากให้คนไทยคิดว่า การส่งภาพยนตร์ไปชิงออสการ์ คือการส่งโบรชัวร์โฆษณาประเทศไทย คือ จ้องจะส่งหนังที่สะท้อนความเป็นไทยไป ศิลปะ ดนตรี สังคม ประวัติศาสตร์ ฯลฯ ด้วยแนวคิดง่ายๆ ว่า "ให้โลกได้รู้จักไทย ผ่านหนังไทย"
ไม่ใช่นะ
ออสการ์ ไม่ใช่ป้ายโฆษณาขนาดยักษ์ที่โฆษณาผ่านแผ่นฟิล์ม แต่มันคือเวทีที่ตัดสินตัว "ภาพยนตร์" เพียวๆ โดยไม่เกี่ยวกับสัญชาติ, ศาสนา, เชื้อชาติ หรืออะไรทั้งนั้น
ภาพยนตร์ คือศิลปะ ซึ่งศิลปะ มันไม่มีขอบเขต ถ้าหยิบเอาภาพยนตร์จากทุกประเทศทั่วโลกมาวางบนโต๊ะเดียว มันก็คืองานชิ้นที่ 1, 2, 3 ไปเรื่อยๆ เท่าเทียมกัน ไม่ได้แบ่งแยกเรื่องสัญชาติ
ที่จะบอกคือ ให้ตัดสินที่ "คุณภาพ ของการเป็น ภาพยนตร์" เพราะนั่นคือพื้นฐาน คือทั้งหมดของเวทีออสการ์
ถ้าบ้านเราโชคดี มีหนังดีๆ ที่คุณภาพเยี่ยม แล้วยังพูดถึงวัฒนธรรมไทยด้วย ก็ถือว่าดีไป แต่ถ้าต้องเลือกระหว่าง "ภาพยนตร์ที่ดี" กับ "ภาพยนตร์ที่โฆษณาประเทศไทย" ส่วนตัวผมก็ต้องเลือก "ภาพยนตร์ที่ดี" นั่นล่ะครับ
นี่คือ แนวคิดโดยส่วนตัวของผมน่ะนะครับ และที่พูด ก็พูดในภาพรวม ในภาพกว้าง ไม่ได้เฉพาะเจาะจงที่ปีนี้หรือปีไหน และยิ่งปีนี้กับ คนโขน ที่เสียดาย ผมเองยังไม่มีโอกาสได้ดูเลย ดังนั้นจึงยังไม่วิจารณ์แน่นอน
ก็เกริ่นเอาไว้ เพราะจริงๆ ภาพยนตร์ไทยเราหลายๆ เรื่องได้ทั้งเงินและกล่อง ที่ผมยังมองว่าได้รับอานิสงฆ์มาจากกระแส "ชาตินิยม" ที่ฝังอยู่ในหนังเรื่องนั้นๆ คือคนไทยชื่นชอบ เพราะมันเป็นไทย แต่ไม่ใช่ที่ตัวความเป็นภาพยนตร์ของมัน
พูดให้ง่าย ภาพยนตร์บางเรื่องคนไทยอาจจะรักชอบมาก เพราะเราเป็นคนไทย แต่ถ้าเอาให้คนต่างชาติดู เค้าก็จะเฉยๆ เพราะเค้าจะดูที่ความเป็นภาพยนตร์ของมัน โดยไม่ถูกชี้นำโดยเชื้อชาติ เช่นที่เราเป็นกัน
ว่าแล้วก็อยากฝากเอาไว้เสียเลย ถ้าใครอยากทำหนัง และอยากขายความเป็นคนไทย ชาติไทย ลงไปด้วย ผมอยากให้เริ่มจากพื้นฐานของความเป็นหนังของมันก่อน เอาให้แน่น เอาให้ดี ถ้าตัวหนังมันดีแล้ว สิ่งที่หนังพูด มันจะได้รับการตอบรับจากคนดูเอง นั่นล่ะครับ
จากคุณ |
:
art_sarawut
|
เขียนเมื่อ |
:
4 ต.ค. 54 23:55:12
|
|
|
|
 |