ฉากเล็กๆ ใน "บุญชู 9" ...สะเทือนถึงสังคมไทย (ที่คุณควรจะชม)
|
 |
หากใครคิดถึงหนังไทยชุด "บุญชู" ผลงานของอาบัณฑิต ฤทธิ์ถกล คนหนังผู้ล่วงลับแล้ว หลายท่านยังจดจำมุขตลกที่ปล่อยมาแต่ละภาค หรือถ้ามองในความลึกซึ้งที่ไม่ตลกเสมอไปก็จะเห็นมุมมองชีวิตของตัวละครเอกอย่างนายบุญชู และตัวละครเด่นๆ ที่ปรากฏในภาคนั้นๆ รวมถึงการเสียดสีสถานการณ์บ้านเมืองในขณะนั้นๆ แฝงไว้ด้วย
บุญชูจึงเป็นบัลลาดของวงการภาพยนตร์อีกเรื่องหนึ่งที่ยังได้รับการกล่าวขานถึง ถึงแม้จะเคยหยุดพักงานสร้างไปนับสิบปีก็กลับมาทวงความทรงจำจากบรรดาสาวกอีกครั้ง เมื่อเรื่องราวเข้าสู่เจเนอเรชั่นจูเนียร์ ที่มีนายบุญโชค เป็นลูกชายของนายบุญชู แต่สร้างเรื่องต่อได้เพียงสองภาค โดยมีชื่อเรื่องว่า "บุญชู ไอ-เลิฟ-สระ-อู" (บุญชู 9) และ "บุญชู จะอยู่ในใจเสมอ" (บุญชู 10) ก็เป็นอันปิดฉากลง (ภาคสุดท้ายปิดฉากด้วยตัวเลขรายได้ที่เคียงกับรายได้จากหนังภาคแรก) ตามที่แฟนหนังทราบกัน
ในที่นี้จะขอย้อนไปที่ภาค 9 "บุญชู ไอ-เลิฟ-สระ-อู" นับจากวันเข้าโรง (28 ส.ค. 51) จนถึงวันนี้ก็มีอายุได้ 3 ปีกว่าแล้ว กล่าวได้ว่าภาคนี้เป็นการกลับมาอย่างสมเกียรติและสมกับการรอคอยจากภาคที่แล้วนับสิบปี นอกจากทีมนักแสดงรุ่นเก่ากลับมาแสดงหนังที่คุ้นเคยแล้ว เมื่อความใหม่ของหนังไทยอัพเดทตลอดเวลา ก็ต้องเพิ่มนักแสดงรุ่นใหม่อีกหลายคนมาร่วมประกันชื่อเสียง
หากใครรับชมบุญชู 9 ตลอดทุกวินาที ก็จะสรุปเนื้อหาพอเข้าอกเข้าใจ และเก็บรายละเอียด(พร้อมมุข)ต่างๆ ที่น่าจะเป็นประโยชน์ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น อันหมายถึงสังคมของเรา ซึ่งต้องเผชิญกับปัญหามากมายที่ยากจะขจัด โดยเฉพาะฉากหนึ่งของเรื่อง..ซึ่งตัวผมเองเคยชมตอนเข้าโรงแต่ก็รู้สึกไม่เท่าเมื่อกลับมาชมอีกรอบผ่านทางยูทูบ ที่ไม่อยากให้คอหนัง(ที่อยากชมอีก)ผ่านฉากนี้ไปง่ายๆ
ฉากที่ว่าเป็นฉากที่ พิม รับบทโดย น้องฐา พักอาศัยในชุมชนที่มีหัวหน้าแก๊งค์ รับบทโดย ดีเจบ็อบบี้ อาศัยด้วย โดยพิมพยายามหลีกหนีจากแก๊งค์กวนเมือง ขณะที่แก๊งค์รุมล้อมพิม หัวหน้าแก๊งค์ดันอธิบายเรื่องระบบการปกครองของไทยให้พิมเข้าใจ
แม้จะไม่มีพระเอกเข้าฉากก็จริง แต่ใช่ว่านักแสดงที่เข้าฉากจะเล่นดี โดยเฉพาะพี่บ็อบบี้ และน้องฐา ซึ่งพอกลับมาชมอีก คิดว่าเขาและเธอน่าจะได้รับการสนับสนุนให้เข้าชิงรางวัลการแสดงแต่เนิ่นๆ แล้ว(ผลคืิอไม่มีชื่อเข้าชิง คงประเมินว่ายังใหม่ทั้งคู่) ทว่าสาระที่ปล่อยมาเป็นแง่มุมที่สังคมเข้าใจ และคอหนังจะเข้าใจ นับว่าเป็นฉากตลกร้ายสะท้อนสังคมฉากหนึ่งที่หนังไทยควรจดจำ
เช่นเดียวกับ "หมาแก่ อันตราย" ก็จะมีฉากที่ให้สาระต่อคนดูถึงประเด็นทางการเมืองและสังคม นอกเสียจากบทบาท ท่าทาง และหน้าตาของนักแสดง ..ไฉนกลับมีคนเข้าโรงน้อยถึงเพียงนี้(ซึ่งอาจรวมถึงคนที่เรียนรู้ทางสังคมศึกษา การเมือง การปกครอง)
ไม่ว่ารายได้ของ บุญชู 9 บุญชู 10 หมาแก่อะไรนั่นจะห่างกันเพียงใด คำชมจะดีเลิศอย่างไร แต่อย่างน้อย บทหนังยังให้ความรู้ต่อสังคมไทย ตราบที่เยาวชนยังหลงเหลิงกับแสงสีดารา และความเกรงต่อหนังไทยไปพึ่งรสนิยมหนังตะวันตก น้ำท่วมก็ไม่ดูหนังไทย ทั้งที่หนังไทยที่เข้าโรงช่วงน้ำท่วม(ลูกใหญ่ในรอบหลายปี) ยังให้อะไรดีๆ กลับไปคิดทบทวน หรือเป็นการบ้านเป็นรายงานส่งครู
อย่าลืมแล้วกัน
จากคุณ |
:
คนหยังเขียด
|
เขียนเมื่อ |
:
6 ต.ค. 54 14:12:13
|
|
|
|