 |
Hi10p เก็บข้อมูลเพื่อแสดงสีแบบ 10 bit ใช้กับพวกจอภาพที่รองรับแสดงผลในแบบ 10 bit ครับ (จอพวกนี้ใช้กับงานที่ต้องการความแม่นยำของสีมากๆ)
นึกซะว่า 8bit คือ 256 ระดับเฉดสี ถ้่าใน Monitor ปกติ จะใช้สัญญาณแบบ RGB (Red Green Blue) ถ้าเข้ารหัสเป็น 0,0,0 = สีดำ หรือ 255,255,255 = สีขาวเป็นต้น
ซึ่งนั่นเป็นการแสดงผลแบบ True Color ที่เราคุ้นๆกันอยู่ (256x256x256 เฉดสี ที่เรียกว่า 32 bit หรือ 16.7 ล้านสี)
แต่ 10bit คือ 1024 เฉดสี นั่นคือเก็บข้อมูลได้มากกว่า ใช้ความจุมากกว่า แสดงความละเอียดของระดับสีที่มากขึ้น 4 เท่า
แต่ถ้าจอแสดงผลยังเป็นแบบ 8 bit มันก็ไม่มีประโยชน์
แต่สำหรับการเข้ารหัสแบบ H264 แบบ 10 bit มันจะไล่ระดับสีเป็น 1024 เฉด มากกว่า แบบ 8 bit ที่มันแสดงแค่ 256 เฉดสี
ดังนั้น ในไฟล์ Anime ที่ขนาดเท่ากัน (เช่นขนาด 300MB) การเข้ารหัสแบบ 10 bit จะแสดงรายละเอียดของสีออกมาได้ดีกว่า แต่ก็ต้องกินกำลัง CPU สูง และใช้เวลานานกว่า ในการเข้ารหัส
พวก Fansub มักเปลี่ยนมาใช้แบบ 10p เยอะเพราะว่าถึงลดขนาดไฟล์ไปเยอะๆ แต่ก็ยังไม่เกิด Banding (การไล่สีที่ไม่เนียน เห็นสีเป็นริ้วๆ) รวมถึงเก็บรายละเอียดในที่มืดได้ดี
ข้อเสียที่สำคัญเลย
1. โปรแกรมดูหนังรุ่นเก่า จะยังไม่รองรับการเล่นไฟล์ที่เข้ารหัสแบบ 10 bit นั่นคือมันจะแสดงสีเพี้ยน หรือภาพไม่ขึ้น ซึ่งต้องไป update เอาเองนะ (แนะนำ K-lite, SMplayer2)
2. กินกำลัง CPU เวลาดูหนังสูงมาก และยังไม่มีการ์ดจอตัวไหนช่วยได้ (ฺNetbook AMD E350 ตายที่ 1080p แต่ 720p พอดูได้ CPU 80-90%)
จากคุณ |
:
Kj 2nd
|
เขียนเมื่อ |
:
วันพ่อแห่งชาติ 54 16:17:18
|
|
|
|
 |