 |
จากหนังสือพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยและพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่องบทละครเรื่องรามเกียรติ์และบ่อเกิดรามเกียรติ์ , ออกตัวไว้เป็นรายลักษณ์อักษรแล้วว่าเราไม่เคยไปตู่ว่าเรื่องรามายณะเป็นของเราแต่งครับ เรื่องนี้ถูกนำเข้ามาพร้อมกับพราหมผู้เข้ามาเผยแพร่ศาสนาฮินดู มีหลากหลายสำนวน และหลายผู้รจนา มีแม้กระทั้งเป็นเรื่องเล่าประจำท้องถิ่นก็มีได้รับการจารึกเป็นลายลักษณ์อักษรหลังยุคพุทธกาล 200-300 ปี มันจึงมีีอิทธิพลของความเชื่อที่หลากหลายที่มาปะปนอยู่ด้วยกันครับ เป็นทำเนียมการแต่งหนังสือประเภทมหากาพย์ หนึ่งในนั้นเป็นอิทธิพลความเชื่อของพุทธศาสนา เราสังเกตุได้จากไคลแมกซ์ของเรื่องตอนศึกสุดท้ายของพระรามกับราวณะที่กวีไทยนำเคล้าโครงเรื่องมาแต่งเป็นตอนกล่องดวงใจในเรื่องรามเกียริ์
ผมเคยถามตัวเองว่า"...ทำไมแนวความคิดเรื่องหัวใจซึ่งถ้าจะเรียกกันตามหลักคือการให้ความสำคัญกับฐานจิตที่หัวใจถึงไปปรากฏอยู่ในวรรณกรรมของศาสนาอื่น ผมลองหาข้อมูลจากหนังสือหลายเล่มเพื่อศึกษาประวัติศาสตร์การแผ่อิทธิพลของหลักธรรมในพุทธศาสนาตั้งแต่พุทธศักราชที่ 1 เป็นต้นมาจนพบว่าวรรณกรรมเรื่องนี้มีจารึกเป็นลายลักษณ์อักษรหลังยุคพุทธกาลล่วงมาแล้ว 200-300 ปีซึ่งเป็นช่วงที่พุทธศาสนาเริ่มตั้งหลักปักฐานได้อย่างมั่นคงแล้ว มีสมณะชีพราหมณ์และนักบวชนอกศาสนานับรับเอาอิทธิพลแนวคิดไปจากพุทธศาสนานำไปศึกษาและปรับปรุงหลักการเดิมของลัทธิตน ผมจึงตั้งข้อสังเกตไว้ว่าผู้รจนาเรื่องรามายณะคงได้รับอิทธิพลเรื่องฐานจิตที่หัวใจไปไม่มากก็น้อยจึงสะท้อนออกมาในผลงานชิ้นนี้ซึ่งกลายเป็นว่าเปลี่ยนจากการให้ความสำคัญกับแนวความเชื่อดั่งเดิมเรื่องฐานจิตอื่นๆซึ่งมีปรากฏในวรรณกรรมโดยทั่วไปมาเป็นฐานจิตที่หัวใจ(หทัยวัตถุ)แทน...”
*(มีหนังสืออ้างอิงมายืนยันความคิดนี้ครับ ขออณุญาติยกข้อความและอ้างอิงที่เคยใช้แต่งนิยายในบล๊อกมาแปะครับ)
* ดวงมน จิตร์จำนง,คุณค่าและลักษณะเด่นของวรรณคดีไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น,พิมพ์ครั้งที่2,(กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,๒๕๔๔),๑๓๖
แก้ไขเมื่อ 20 ธ.ค. 54 13:00:18
แก้ไขเมื่อ 20 ธ.ค. 54 12:59:21
จากคุณ |
:
วาโย (wayoodeb)
|
เขียนเมื่อ |
:
20 ธ.ค. 54 12:57:12
|
|
|
|
 |