3. ขึ้นอยู่กับเนื้อเรื่อง-เหตุผล
ตัวเลือกข้อนี้สามารถมองได้หลายแง่นะคะ เหมือนเฉดสีน่ะแหละสีเดียวกันแต่มีหลายเฉด ถ้าคุณมองข้อนี้เป็นสีเทาบางคนบอกเทาแก่บางคนบอกเท่าอ่อนแต่มันก็เป็นสีเทาเหมือน ๆ กัน สำหรับข้อนี้เรามองว่า แง่แรกคือการหาเหตุผลเพื่อมารับรองการข่มขืนว่าถูกต้อง แง่ที่สองคือมองว่าฉากการข่มขืนที่เกิดขึ้นมามีหน้าที่อะไรตามเนื้อเรื่องนั้น และ มีการสะท้อนผลกระทบของการข่มขืนอย่างเป็นเหตุเป็นผลหรือไม่
ส่วนตัวแล้วเราไม่ได้มองแง่แรกเลย เพราะ มันเป็นไปไม่ได้และเป็นเรื่องผิดที่จะมานั่งหาเหตุผลเพื่อรองรับการกระทำ แต่เราก็ยังคิดว่าฉากประเภทนี้บางทีมันจำเป็นต้องมีหากเกี่ยวพันกับเนื้อหาของเรื่อง เช่นถ้าแก่นของเรื่องคือการถูกล่วงละเมิดทางเพศจากคนที่ไว้ใจ (อาทิ แฟน) ซึ่งคน ๆ นั้นอาจเป็นพระเอก (หรือ ในความเห็นของเราอยากจะเรียกว่าตัวนำฝ่ายชาย) ไม่จำเป็นว่าคนที่มีบทบาทนำในเรื่องต้องดีเลิศเสมอไปอาจจะเป็นคนร้ายก็ได้ แต่ท้ายที่สุดแล้วคน ๆ นี้เมื่อทำสิ่งไม่ดีจะต้องได้รับผลที่สาสม
ถังนั้นเราเห็นด้วยกับ คุณ art_sarawut ว่าขึ้นอยู่กับเนื้อเรื่องและเหตุผลหนึ่งความหมายของมันนั้นคือการพิจารณาดูว่าฉากข่มขืนมี function ใดในเเนื้อเรื่อง แล้วการสะท้อนเป็นไปทั้งกระบวนการตามความจริงหรือไม่ ตัวอย่างฉากแนว ๆ นี้แบบสะท้อนครบทั้งกระบวนการอยู่ใน Last Friend กับ One Million Stars falling from the sky