 |
#5, tpbs เป็นช่องเดียวที่ไม่ขึ้นเรทครับ, ดังนั้นคำแย้งของคุณไม่น่าจะถูกต้องครับ.
#6, ผมว่า tpbs ควรจะมีมาตรฐานที่สูงกว่าที่ กม. กำหนด
#8, ไม่เห็นด้วยกับการทำภาพเบลอเช่นเดียวกันครับ, ถ้าจะเอาออกก็ให้ตัดฉากนั้นไปเลย. แต่ว่ามีสถิติจากการวิจัยพบว่า ประเทศที่ห้ามโฆษณาเหล้าเบียร์ มีผลให้สถิติอุบัติเหตุจากการเมาลดลงและจำนวนการดื่มก็ลดลงครับ, ดังนั้นที่บอกว่า คนจะกินมันก็กินอยู่วันยังค่ำ ก็ใช่ แต่ก็มีคนกลุ่มที่อยู่กลางๆ ที่จะกินหรือไม่ก็ขึ้นกับแรงจูงใจของสื่อด้วยครับ, ส่วนคนที่จะกินก็กินอยู่วันยังค่ำ สื่อก็อาจมีผลให้คนนั้นกินบ่อยกว่าเดิมก็ได้.
http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%9A%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%94%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B9%81%E0%B8%AD%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%AE%E0%B8%AD%E0%B8%A5%E0%B9%8C `` 23. งานวิจัยในปี ค.ศ. 1987 พบว่าเมื่อรัฐนอร์ธ แคโรไลนา ประเทศสหรัฐอเมริกา อนุญาตให้จำหน่ายสุรากลั่นใน Pub และร้านอาหาร มีผลให้การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์สูงขึ้นร้อยละ 6 – 8 และอุบัติเหตุจากการเมาสุราสูงขึ้นร้อยละ 16 – 24''
``งานวิจัยที่ตีพิมพ์เดือนมกราคม 2549 ของ Leslie B. Snyder และคณะ ศึกษาเพื่อทดสอบว่าค่าใช้จ่ายในการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และ ระดับการรับรู้การโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีผลต่อการดื่มของเยาวชนหรือไม่ โดยการสำรวจทางโทรศัพท์บุคคลอายุระหว่าง 15 – 26 ปี ต่อเนื่อง 4 ครั้ง ใน 23 เดือน ระหว่าง เมษายน 2542 – กุมภาพันธ์ 2544 ในประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่า เยาวชนที่พบเห็นการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากกว่าโดยเฉลี่ยจะดื่มมากกว่า โดยที่ทุก 1 โฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่พบเห็นเพิ่มขึ้นต่อเดือน จะส่งผลให้เพิ่มปริมาณการดื่มขึ้นร้อยละ 1 และ เยาวชนที่อยู่ในพื้นที่ที่มีการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากกว่าจะดื่มมากกว่า โดยที่งบโฆษณาที่เพิ่มขึ้นทุก 1 ดอลล่าร์สหรัฐ จะส่งผลให้เพิ่มปริมาณการดื่มร้อยละ 3''
``ในปี 1991 มีรายงานการศึกษาชิ้นใหญ่ชิ้นหนึ่งเกี่ยวกับการควบคุมโฆษณาในหลายประเทศในกลุ่ม OECD ในช่วงทศวรรษที่ 1970 ของ Saffer พบว่า กลุ่มประเทศที่มีการห้ามการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีการบริโภคปริมาณน้อยกว่ากลุ่มที่ไม่มีการห้ามหรือจำกัดการโฆษณา ถึงร้อยละ 16 และ ที่สำคัญคือ อัตราการตายจากอุบัติเหตุจราจรในกลุ่มประเทศที่มีการห้ามการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่ำกว่าถึงร้อยละ 23 เมื่อเทียบกับประเทศที่ไม่มีการห้ามหรือจำกัดการโฆษณา
46. รายงานการศึกษาของ Saffer H. and Dave D. ในปี 1997 ระบุว่าการห้ามการโฆษณาโดยสิ้นเชิงจะส่งผลให้การบริโภคต่อสัปดาห์ของเยาวชนลดลงจากร้อยละ 25 เหลือร้อยละ 21 และการดื่มแบบเมาหัวราน้ำ (Binge Drinking) ลดลงจากร้อยละ 12 เหลือร้อยละ 7 ''
แก้ไขเมื่อ 18 ม.ค. 55 12:08:03
จากคุณ |
:
อานนท์ ศรีเจริญชัย
|
เขียนเมื่อ |
:
18 ม.ค. 55 12:03:39
|
|
|
|
 |