วิจารณ์ War Horse(2011) : นิทานเรื่องม้าของสปีลเบิร์ก
|
 |
“หากชื่อของ สตีเว่น สปีลเบิร์ก ไปปรากฏในโปรเจคหนังเรื่องใด หนังเรื่องนั้นย่อมเป็นที่น่าสนใจในทันท่วงที” คำกล่าวอ้างข้างต้นไม่ใช่คำกล่าวเกินเลยแต่อย่างใด สำหรับเจ้าพ่อนักทำหนังฉายาพ่อมดแห่งวงการฮอลลีวูด ที่มีผลงานภาพยนตร์ในฐานะผู้กำกับเกือบครึ่งร้อย และในฐานะโปรดิวเซอร์อีกเกินหนึ่งร้อยกว่าเรื่องไปแล้ว โดยผลงานกำกับล่าสุดของเขาคือ War Horse ภาพยนตร์ดราม่าอิงประวัติศาสตร์สงคราม ที่หวังจะเขาไปเฉิดฉายรับตุ๊กตาทองคำในเทศกาลออสการ์ที่กำลังจะมาถึงอันใกล้นี้
ภาพยนตร์ War Horse ถูกดัดแปลงมาจากวรรณกรรมสำหรับเด็กชื่อเดียวกันกับภาพยนตร์ของ Michael Morpurgo ซึ่งว่าด้วยเรื่องความรักความสัมพันธ์ฉันท์เพื่อนมิตรระหว่างเด็กหนุ่ม อัลเบิร์ต นาราค็อตต์ กับ ม้าโจอี้ ซึ่งมีอันต้องพลัดพรากจากกันในคราวที่ ม้าโจอี้ ถูกเกณฑ์ไปช่วยประเทศอังกฤษรบในสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยอัลเบิร์ตเอง หมายมั่นสัญญาว่าจะต้องหาโจอี้ให้พบในสักวันหนึ่ง
สิ่งที่ สปีลเบิร์ก เน้นย้ำจากภาพยนตร์เรื่องนี้เห็นจะมีจาก 2 เรื่องใหญ่ๆด้วยกัน นั่นคือความรักความผูกพัน และความโหดร้ายของภาวะสงครามโลก ซึ่งทั้งสองสิ่งนี้เป็นสิ่งที่ไม่ใช่แนวความคิดที่แปลกใหม่แต่อย่างใดสำหรับ สปีลเบิร์ก หรือแม้กระทั่งนักทำหนังทั่วโลก แต่สิ่งที่ สปีลเบิร์ก เหนือกว่าใครนั่นคือการทำหนังที่ดูเหมือนเป็นวิธีการง่ายๆ ที่จะทำอย่างไร ที่จะทำให้เกิดความประทับใจให้กับผู้ชมไปไม่รู้ลืม
War Horse เป็นบททดสอบหนึ่งในการทำหนังที่มีพล็อตเรื่องง่ายๆ ให้แสดงวิธีออกมาได้อย่างน่าจดจำ สิ่งหนึ่งที่เป็นจุดเด่นที่หาที่ติไม่ได้ก็คือ วิธีการถ่ายภาพของ ยานุสซ์ คามินสกี(Janusz Kaminski )ผู้กำกับภาพคู่บุญของ สปีลเบิร์ก ที่ได้รับรางวัลออสการ์จากเรื่อง Saving Private Ryan และSchindler's List และแน่นอนทั้งสองเรื่องถูกกำกับโดย สปีลเบิร์ก เอง
การเปิดเรื่องตัวละครในช่วงต้นนั้นถือเป็นช่วงเวลานิ่งเงียบที่ดูจะไม่มีความพิเศษอย่างใด แต่ด้วยวิธีการที่เน้นย้ำ ทั้งการใช้โทนสีเย็นในการสร้างความอบอุ่นให้กับตัวละคร การเคลื่อนกล้องที่ดูนิ่งเงียบแต่สามารรถเล่าเรื่องได้อย่างน่าอัศจรรย์ ดังเช่นการถ่ายภาพโจอี้อยู่ในคอก โดยการให้กล้องถ่ายภาพผ่านคอกที่ทำให้โจอี้ อยู่ในกรอบภาพที่มีความอึดอัด ก่อนที่จะทำให้ผู้ชมรู้ว่า โจอี้กำลังถูกจับไปประมูล เป็นต้น วิธีการสไตล์เช่นนี้จะพบเห็นได้ตลอดเรื่อง และเป็นวิธีการที่น่าสนใจสำหรับนักเรียนหนังที่จะใช้เป็นกลวิธีการศึกษา เป็นการใช้ภาพเล่าเรื่องอย่างง่ายๆแต่น่าสนใจได้อย่างมากมาย
จุดสำคัญที่เป็นจุดเด่นของผู้กำกับ สปีลเบิร์กอีกเรื่องนั่นคือ การเน้นย้ำถึงภาพการแสดงอารมณ์ ที่ทำให้ผู้ชมรู้สึกคล้อยตามและรู้สึกไปกับตัวละคร ถ้าหากสังเกตให้ดี ในช่วงต้น สิ่งที่สปีลเบิร์ก พยายามปูเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างคนกับม้าแล้ว เขายังสามารถปูเรื่องพื้นฐานทางครอบครัว ที่ดูจะมีปัญหารายล้อมรอบด้าน แต่สิ่งหนึ่งที่ครอบครัวนี่ไม่เคยทำหล่นหายไปก็คือความรักที่มีให้กันในครอบครัว (การทำท่าทางดูไม่รัก แต่ใจลึกๆนี่โครตรักมักเด่นชัดอยู่ในหนังของสปีลเบิร์ก) และนี้เป็นคงเป็นจุดเด่นที่หาการเทียบเคียงจากใคร ทำให้ผู้ชมดูหนังของสปีลเบิร์กด้วยความประทับ และรู้สึกร่วมไปกับตัวละครได้อย่างไม่ยาก
--มีต่อ--
แก้ไขเมื่อ 06 ก.พ. 55 15:07:43
จากคุณ |
:
A-Bellamy
|
เขียนเมื่อ |
:
6 ก.พ. 55 15:07:25
|
|
|
|