 |
เส้นเสียงที่อยู่ในฟิล์มยุคแรกๆ จะเป็นรอยขีดตามขวาง และต่อมาก็พัฒนาคุณภาพในการบันทึกเสียงให้ดีขึ้นจนกลายเป็นแบบ "ออพติค ซาวด์" ในแนวเดียวกับฟิล์ม ซึ่งเป็นแบบโมโน 1 แทร็ค และถูกพัฒนาต่อยอดออกมาเป็นโมโน 2 แทร็ค และ ดอลบี้ สเตอริโอ
นอกจากนี้ยังมีแบบ "แม็คเนติก ซาวด์" ซึ่งบันทึกแถบเสียงด้วยแม่เหล็กซึ่งมีหลักการเดียวกับเส้นเทป แต่ก็มีข้อเสียอีกเช่นกัน (โดยมากจะใช้กับฟิล์มภาพยนตร์ ขนาด 70 มิลลิเมตร)
ในปัจจุบันนี้ ไม่มีฟิล์มภาพยนตร์ที่ใช้ "ไนเตรด" แล้วเนื่องจากมีข้อจำกัดในเรื่องนี้ ซึ่งอันตรายมาก แม้แต่ในบ้านเราในยุคนั้นเองก็เกิดเหตุเพลิงไหม้ในโรงภาพยนตร์อยู่หลายครั้ง ในที่สุดพลาสติกที่ถูกนำมาผลิตเป็นฟิล์มแทนที่นั่นคือ "เซลลูลอยด์" ซึ่งมีคุณสมบัติดีกว่า จึงนิยมใช้เป็นฟิล์มเนกาตีฟ และโพสิตีฟอยู่พักหนึ่ง ก่อนที่พลาสติกที่เรียกว่า "โพลีเอสเตอร์" ซึ่งมีคุณสมบัติที่ดีกว่า "เซลลูลอยด์" (รายละเอียดมันเยอะ และจะยังไม่ขอกล่าวถึง) จึงถูกนำมาใช้เป็นฟิล์มโพสิตีฟที่เป็นก็อบปี้สำหรับฉาย (Release Print) ส่วนฟิล์มสำหรับถ่ายทำ หรือแม้แต่ฟิล์มสำหรับถ่ายภาพนิ่งก็เป็น "เซลลูลอยด์" อย่างเดิม
สำหรับการเก็บรักษาฟิล์มภาพยนตร์ที่เป็นไนเตรด มีความเข้มงวดกว่าฟิล์มเซลลูลอยด์ เพราะจะต้องอยู่ในห้องเย็นที่ควบคุมอุณหภูมิตลอดเวลา และจะมีการทำสำเนาเพื่อเป็นต้นฉบับชุดใหม่ขึ้นมาเป็นระยะๆ อย่างภาพยนตร์ต่างประเทศที่เป็นหนังขาวดำในยุคนั้น หรือแม้เต่หนังตลกอย่าง ชาร์ลี แชปปลิน, อ้วน-ผอม, สามเกหลอหัวแข็ง ฯลฯ ก็จะถูกเก็บรักษาเป็นอย่างดี จึงยังสามารถนำออกมาฉาย หรือผลิตลงแผ่นได้เรื่อยๆ
ในส่วนของหอภาพยนตร์ของเราเองก็มีเหมือนกัน ส่วนใหญ่จะถูกจัดพิมพ์เป็นฟิล์มชุดใหม่ขึ้นมาแทนที่ และเก็บรักษาต้นฉบับไว้ เช่น ฟิล์มภาพยนตร์บันทึกการเสด็จประพาสต่างประเทศของรัชกาลที่ 5, ฟิล์มภาพยนตร์ "โชคสองชั้น" ที่มีเศษเหลือเพียงนาทีกว่าๆ, ฟิล์มภาพยนตร์บันทึกเหตุการณ์สำคัญๆ ในรัชกาลที่ 7 ซึ่งถ่ายโดยภาพยนตร์เสียงศรีกรุง (บางส่วนก็มีฟุตเตจจากโรงถ่ายภาพยนตร์เสียง "ศรีกรุง" ด้วย) ฯลฯ
ภาพยนตร์เรื่อง "พระเจ้าช้างเผือก" นี่ก็ใช่ แต่ต้นฉบับฟิล์มซึ่งเป็นแบบไนเตรดนั้นถูกทำลายในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง จึงเหลือแต่สำเนา (ก็อบปี้) ที่จดทะเบียนในอเมริกาและถูกนำกลับมาฉาย ก่อนที่จะผลิตเป็นดีวีดีในลักษณะ 2 เวอร์ชั่น คือเวอร์ชั่นที่ฉายในไทย และเวอร์ชั่นในต่างประเทศ ก่อนที่จะนำฟิล์มชุดดังกล่าวไปบูรณะ (Restoration) และจัดทำเป็นฟิล์มชุดใหม่โดยบริษัท "เทคนิคคัลเลอร์" แบบให้เปล่า คู่กับภาพยนตร์ไทยเรื่อง "เรือนแพ" ล่าสุดนี้ได้ถูกนำกลับมาพิมพ์ใหม่โดยใส่เสียงพากย์ภาษาไทยในฟิล์ม และมีดีวีดีออกวางจำหน่ายแล้ว อาการเสื่อมสภาพของฟิล์มไนเตรด จะออกเหลืองเหมือน "ดีซ่าน" ก่อนที่ด้านที่ฉาบบนฟิล์มจะล่อนออกมาครับ ว่ากันว่าฟิล์มไนเตรดนี้ ถ้าเก็บรักษาอย่างดีตั้งแต่แรก จะอยู่ได้นานถึง 60 ปีครับ
ปิดท้ายกระทู้ด้วยภาพนี้ ซึ่งเป็นฟิล์มภาพยนตร์ไนเตรด 35 ม.ม. แบบสีครับ
จากคุณ |
:
หนามเตยแมน (หนามเตยแมน)
|
เขียนเมื่อ |
:
26 ก.พ. 55 12:37:50
|
|
|
|
 |