เอาเรื่องน่าสนใจมาฝากป้าๆค่ะ
หมีแพนด้ารักสันโดษ ...เป็นอย่างไร
ได้อ่านพบความหมายของคำว่า Solitary Panda จาก
http://library.thinkquest.org/27396/solit.htm
กล่าวว่า ความสันโดษนั้นไม่ได้หมายความว่า สิ่งมีชีวิตเหล่านั้น มีชีวิตอยู่ได้ด้วยตัวเอง ซึ่งตรงข้ามกับสิ่งมีชีวิตที่ต้องอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม พวกที่สันโดษนั้นเขายังมีความเกี่ยวข้องกันในความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้าน มีการสืบพันธุ์และ ต่อสู้เพื่อการผสมพันธุ์ และแม้ว่าในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่เป็นสัตว์สันโดษ สัตว์แต่ละตัวก็ถูกผูกมัด ให้มีการสัมพันธ์โดยตรงต่อกันและกันอย่างน้อย2 ครั้งในชีวิต คือ ตัวผู้และตัวเมียต้องพบกันเพื่อผสมพันธุ์และลูกสัตว์เล็กๆ จำเป็นต้องอยู่กับแม่ แม้ว่าจะเป็นช่วงสั้นๆ จนกระทั่ง พวกมันสามารถอยู่ด้วยตัวเองได้
นอกจากนี้ Suzanne Hall นักวิจัยอาวุโส แห่ง San Diego Zoos Institute for Conservation Research ที่มีประสบการณ์ในการเลี้ยงและดูแลครอบครัวแพนด้ามาจนมีลูกหลายตัว มีการวิจัยพฤติกรรมแพนด้าหลายเรื่องได้กล่าวว่า ...
ท่านอาจจะคุ้นเคยกับการอ้างอิงที่ว่าหมีแพนด้าเป็นสัตว์สันโดษ ท่านอาจจะประหลาดใจที่ เรื่องความสันโดษนี้ไมใช่ปัจจัยในการตัดสินใจของเรา ที่ไม่นำพี่น้องแพนด้ามาอยู่ด้วยกัน ในความเป็นจริงแล้ว เรารู้แล้วว่าเมื่อแพนด้าอายุยังน้อย พวกเขาฉลาดในการเข้าสังคมมากกว่าเมื่ออายุมาก
มีหลักฐานบางอย่างว่า หมีแพนด้าป่าวัยรุ่นตัวผู้ อาจจะติดตามหมีแพนด้าเต็มวัยตัวผู้ โดยการเดินทางไปมาระหว่างถิ่นอาศัยของพวกมัน สัตว์ที่อายุน้อยจะไม่เป็นภัยคุกคามต่อสัตว์ที่อายุมากกว่า เราได้เห็นแล้วว่าหมีวัยรุ่นที่ SDZ ชอบการสังคมอย่างไร และต้องการการสัมผัสบางอย่าง ในช่วงหลังจากหย่านม แน่นอนว่าแม่แพนด้าและลูกที่นี่ไม่ได้มีชีวิตที่โดดเดี่ยว
ความสันโดษเป็นรูปแบบวิถีชีวิตที่ใช้กับหมีแพนด้าป่า ส่วนใหญ่เป็นกลยุทธในการจัดการกับแหล่งอาหารของพวกมัน
เราได้เห็นภาพที่หมีสีน้ำตาลรวมกลุ่มกันจับปลาแซลมอนตามแม่น้ำ พวกหมีจะไม่มีปฏิกิริยาด่อกันในถิ่นที่เป็นแหล่งอาหาร เพราะมีอาหารอุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะสารอาหารโปรตีน และไขมัน แต่ทำไมหมีแพนด้าไม่เป็นเช่นนั้น เพราะว่าต้นไผ่มีสารอาหารน้อย แพนด้าต้องการกินไผ่จำนวนมาก เพื่อที่จะได้ปริมาณเพียงพอกับที่ร่างกายต้องการ วิธีที่จะได้อาหารเต็มท้อง ก็คือเมื่อพบดงไผ่ก็ต้องนั่งกินอย่างตั้งใจ ถ้าหากมีฝูงแพนด้ามานั่งกินด้วยกัน อาหารตรงนั้นก็จะน้อยลงอย่างรวดเร็วมาก ทำให้แพนด้าต้องลุกขึ้นไปหาอาหารต่อไป และทำให้เกิดการเผาผลาญแคลอรี่ไปอีก ดังนั้นจึงทำให้ไม่เกิดความรู้สึกอยากแบ่งกันกินอาหารเหมือนสัตว์อื่น
