Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
สื่อสารมวลชนกับความรับผิดชอบต่อสังคมในการลงข่าวการฆ่าตัวตาย-=Byหมอแมว=- ติดต่อทีมงาน

การนำเสนอข่าวและผลสืบเนื่องอันเกี่ยวกับการจบชีวิตตนเอง

บทความต่อจากนี้เนื้อหาส่วนมากมาจาก preventing suicide a resource for media professionals โดยองค์การอนามัยโลกและ องค์การป้องกันการฆ่าตัวตายสากล ฉบับปี2008

และ Reporting on suicide:Recommendation for the media ที่จัดทำโดยองค์กรชั้นนำนานาชาติด้านสุขภาพ-

ก่อนจะเข้าไปในรายละเอียด เรามาดูถึงสิ่งที่ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อสารมวลชนทำได้เพื่อสังคมในประเด็นเรื่องการฆ่าตัวตายครับ

สิ่งที่สื่อทำได้คือ

1. การใช้โอกาสนำเสนอข่าวนี้ เพื่อจุดประสงค์หลักในการให้ความรู้สังคมเกี่ยวกับการฆ่าตัวตาย

2. หลีกเลี่ยงการใช้ภาษาที่อ่อนไหวกระทบกระเทือนใจ ภาษาที่ทำให้การฆ่าตัวตายเป็นเรื่องปกติ หรือบอกว่ามันคือทางออกของปัญหาชีวิตนั้น

3. หลีกเลี่ยงการระบุสถานที่หรือการเล่าเท้าความถึงเหตุการณ์นั้นซ้ำๆในข่าว

4. หลีกเลี่ยงวิธีการ อุปกรณ์ หรือข้อมูลในเหตุการฆ่าตัวตาย

5. หลีกเลี่ยงการระบุถึงรายละเอียดของพื้นที่เกิดเหตุในเนื้อข่าว

6. ใช้คำพาดหัวอย่างระวัง

7. ระวังการเสนอรูปและภาพข่าว

8. ระวังการเสนอข่าวฆ่าตัวตายของคนที่เป็นที่รู้จักในสังคม

9. ระวังและให้ความเคารพสิทธิของผู้ที่กำลังเสียใจจากเหตุการณ์ฆ่าตัวตายนั้น

10. ต้องให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่และวิธีการขอความช่วยเหลือหากมีความคิดฆ่าตัวตาย

11. นักข่าวที่นำเสนอข่าวเหล่านี้ต้องระวังอาจได้รับผลชักจูงให้เกิดความคิดฆ่าตัวตายรัฐ-และการฆ่าตัวตาย10องค์กร

 
 

จากคุณ : หมอแมว
เขียนเมื่อ : 5 ก.ค. 55 22:28:05




ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com