 |
อธิบายประวัติของ จิตรกรคนนี้สักหน่อย
กุสตาฟ คลิ้มท์ ( Gustav Klimt , 1826 - 1981 ) เป็นบุคคลสำคัญคนหนึ่งที่สนับสนุนให้ศิลปะ อาร์ตนูโว เป็นที่ประจักษ์และเป็นที่นิยมกันอย่างกว้างขวางในแวดวงของศิลปินในประเทศออสเตรีย เขามีส่วนร่วมก่อตั้งกลุ่มศิลปินที่สร้างสรรค์ผลงานตามแบบฉบับของ อาร์ต นูโว ในปี ค. ศ. 1897 โดยใช้ชื่อกลุ่มของตนว่า " VIENNA SEZESSION " และคลิ้มท์ได้รับการเลือกตั้งให้เป็นประธานคนแรกของกลุ่ม
( อาร์ตนูโว หรือ อาร์นูโว ภาษาฝรั่งเศสแปลว่า ศิลปะแขนงใหม่ เป็นลักษณะศิลปะ สถาปัตยกรรม และศิลปะประยุกต์ ซึ่งได้รับความนิยมสูงสุดในช่วงค.ศ. 1890 ถึง 1905 โดยมีจุดเด่นคือใช้รูปแบบธรรมชาติ โดยเฉพาะดอกไม้และพืชอื่นๆ มาทำเป็นลวดลายเส้นโค้งที่อ่อนช้อย ลักษณะรูปแบบจะเป็นการลดทอนรูปแบบจากรุขชาติ แมลง และเปลือกหอย ใบไม้ เถาวัลย์ ตามธรรมชาติ นำมาประดิษฐ์เป็นลวดลายประดับทั้งภายในภายนอก อาคารตลอดจนเครื่องใช้ ของประดับบ้านและเครื่องแต่งกาย )
เกิดที่ Baumgarten ใกล้กรุงเวียนนา เป็นบุตรชายคนโตของช่างทอง ซึ่งได้มีส่วนช่วยปลูกฝังศิลปะนิสัยให้กับเค้ามาตั้งแต่เยาว์วัย ความสามารถทางด้านศิลปะของเขาเริ่มปรากฎให้เห็นได้ในงานวาดเส้นและระบายสี
เมื่อเขาเริ่มใช้ชีวิตเป็นศิลปินอย่างจริงจังนั้น ผลงานในระยะแรกเริ่มประสบความสำเร็จอย่างสูง ผลงานที่กล่าวถึงนี้คือ งานเขียนภาพจิตรกรรมบนฝาผนัง (mural painting) ซึ่งเขียนให้กับ Burgtheatre และ The Kunsthistorisches Museum ในระหว่างปี ค .ศ. 1886 ถึงปี ค.ศ.1892 ต่อมาในปี ค.ศ.1898 เขาได้รับมอบหมายจากรัฐบาลออสเตรียให้เขียนภาพบนผนังให้กับหอประชุมแห่งมหาวิทยาลัยเวียนนาอันเป็นภาพที่จะต้องมีเรื่องราวเนื้อหาเกี่ยวกับศาสตร์ต่างๆ 3 แขนงคือ ปรัชญา แพทยศาสตร และนิติศาสตร์
ภาพที่คลิ้มท์ขึ้นนี้เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความขัดแย้งกันอย่างรุนแรงในวงการศิลปะสมัยใหม่ในเวียนนา บรรดาอาจารย์ทั้งหลายของมหาวิทยาลัยได้พากันเซ็นชื่อประท้วง และไม่ยอมรับผลงานชุดนี้ สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาวุ่นวายขึ้นนั้น มีผลมาจากรูปแบบที่คลิ้มท์เสนอในงาน คือแทนที่เขาจะเขียนภาพให้มีรูปแบบที่เป็นตัวแทนศิลปะของออสเตรียอย่างแท้จริง เขากลับเขียนภาพที่มีลักษณะเฉพาะตนจนเกินไป อีกทั้งเรื่องราวเนื้อหาในภาพไม่สู้จะสัมพันธ์กับศาสตร์ต่างๆที่ได้กำหนดให้
การจัดวางองค์ประกอบของภาพมีลักษณะแปลกไปจากงานของศิลปินคนอื่นๆ ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันในขณะนั้น คลิ้มท์เขียนภาพคนเปลือยอยู่รวมกันเป็นกลุ่มๆ ลักษณะท่าทางการแสดงออกเน้นในเรื่องอารมณ์ความรู้สึกมาก ผู้คนส่วนใหญ่ในเวลานั้น ไม่สามารถจะทำความเข้าใจกับผลงานของคลิ้มท์ได้ ดังนั้นผลงานชุดนี้จึงไม่สู้จะเป็นที่ชื่นชอบเท่าใดนัก
ภาพเขียนในช่วงแรกๆ มักจะเป็นภาพเขียนในแนวเหมือนจริง ตัวเค้าสามารถเขียนภาพคนจากภาพถ่ายได้เหมือนจริงและดูเป็นธรรมชาติราวกับเขียนจากคนที่มาเป็นแบบโดยตรง นอกจากนี้ยังมีการใช้สีทอง อันเป็นสีที่ค่อนข้างจะมีความสำคัญอยู่ไม่น้อย สีทองของคลิ้มท์เป็นสีที่ได้รับอิทธิพลและความบันดาลใจมาจากศิลปะยุค Byzantine ส่วนผลงานในช่วงระยะหลังๆ รูปทรงจะมีลักษณะแบนและเรียบง่ายขึ้น มีการใช้สีที่สดใสกว่าเดิม ภาพเหมือนของผู้ที่มานั่งเป็นแบบให้คลิมท์นั้น มักจะแสดงให้เห็นถึงอารมณ์ความรู้สึกที่ปรากฎบนใบหน้า เป็นความรู้สึกที่สงบระคนเศร้า นางแบบเหล่านั้น จะได้รับการจัดทำให้ดูสง่างาม หากเป็นท่านั่งก็จะจัดให้นั่งเฉียงค่อนไปทางข้างหนึ่งข้างใดของภาพ ส่วนที่เป็นท่ายืนมักจะจัดให้ยืนอยู่ตรงกึ่งกลางของภาพ ภาพเหมือนแทบทุกภาพของเขาส่วนใหญ่จะหันหน้ามองตรงมายังคนดูภาพ และคลิ้มท์ไม่นิยมเขียนภาพคนที่แสดงเพียงแค่ศีรษะหรือหน้าอกเท่านั้น เขาชอบที่จะเขียนคนทั้งตัวเลย
บุคลิกของคลิ้มท์ค่อนข้างจะมีลักษณะตรงกันข้ามกับความละเอียดอ่อนละเมียดละไมดังปรากฎให้เห็นได้ในงานศิลปะของเขา คลิ้มท์เป็นศิลปินที่พูดน้อย ดังนั้น เขามักจะให้งานศิลปะที่สร้างสรรค์ขึ้นนั้น เป็นตัวสื่อสารหรือพูดแทนเขาเสมอ สุดท้าย ชีวิตของคลิมต์ก็เช่นเดียวกับศิลปินผู้ยิ่งใหญ่ในอดีตที่ต้องจบชีวิตลงด้วยยากจน โดดเดี่ยว คลิ้มท์ล้มป่วยและต้องทนทุกข์ทรมานอยู่ในแฟลตในกรุงเวียนนาตั้งแต่วันที่ 11 มกราคมจนถึงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1918 เขาก็ถึงแก่กรรม ท่ามกลางผลงาน จิตรกรรมที่เขียนไม่สำเร็จจำนวนมาก
จากคุณ |
:
Blackrx
|
เขียนเมื่อ |
:
14 ก.ค. 55 02:31:11
|
|
|
|
 |