 |
วิจารณ์ Wolf Children(2012)
|
|
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว.... มีความเชื่อโบร่ำโบราณตามเทพปกรณัมหรือคติชนพื้นเมืองอเมริกันว่า ‘มนุษย์หมาป่า’ เป็นสิ่งมีชีวิตครึ่งมนุษย์ครึ่งหมาป่าที่แสนโหดร้าย น่ากลัว และออกตามล่าฆ่าผู้คน โดยเฉพาะการประทุษร้ายทางเพศต่อหญิงสาวแรกรุ่น โดยเชื่อกันว่ามนุษย์เหล่านี้จะแปลงร่างในค่ำคืนที่พระจันทร์เต็มดวง เสียงเห่าหอนของพวกมันจะนำพาให้ชาวบ้านขนลุกขนพองและเก็บซ่อนตัว-อย่างหวาดกลัวในเคหสถาน
อิทธิพลของตำนานเหล่านี้ถูกส่งตรงในรูปแบบนิทาน วรรณกรรม กระทั่งสู่แผ่นฟิล์ม เราถูกหล่อหลอมให้รู้จักมนุษย์หมาป่าในรูปแบบของความน่ากลัว ชั่วร้าย ทำร้ายความวัยเยาว์ของเราจนสูญสิ้น ปรากฏตัวในฐานะตัวร้ายของนิทานไม่ว่าจะเป็นหมาป่า หรือมนุษย์หมาป่าก็ตาม เราถูกปลูกฝังเช่นนั้นมาตลอด ภาพความทรงจำของเรากับคำว่า ‘มนุษย์หมาป่า’เป็นเสมือนสิ่งขัดแย้งแสนเลวที่มิอาจให้ตัวละครพานพบไปถึงจุดหมายปลายฝันได้
เมื่อเวลาล่วงเลย นิทานเช่นนี้ถูกเล่าแล้วเรื่อยไป โดยไม่มีใครนึกแคลงสงสัยว่าเพราะเหตุใด ‘หมาป่า’ จึงเป็นได้เพียงตัวร้ายในวรรณกรรมเท่านั้น จนกระทั่งผู้กำกับ มาโมรุ โฮโซดะ ได้สร้างนิทานของตัวเองขึ้นมา โดยลดทอนความทรงจำสามัญของผู้คน ตัวร้ายอย่างหมาป่ากลับกลายเป็นตัวละครหลักในอนิเมชั่นสุดน่ารักของสตูดิโอจิซุ(Chizu) ที่ร่วมสร้างกับบริษัททำอนิเมชั่น ‘แมดเฮ้าส์’(Madhouse) ที่มีผลงานจวบจนปัจจุบันเกินกว่า 100 เรื่อง ซึ่งหากเทียบศักดิ์ศรีแล้วก็ไม่ได้เหลื่อมล้ำไปกว่าสตูดิโอจิบลิเลย เกิดก่อนจิบลิด้วยซ้ำไป (แมดเฮาส์ 1972,จิบลิ 1985) เพียงแต่รายหลังนั้นเน้นไปที่การผลิตภาพยนตร์อย่างเดียว ชื่อเสียงจึงขจรขจายไปไกลถึงขั้นระดับโลก
กลับมาสู่ตัวเนื้อหาซึ่งใช้วิธีการเปิดเรื่องไม่ต่างจากนิทานปรัมปราโดยใช้เสียงบรรยายของลูกสาวคนโตยูกิ เล่าเรื่องตั้งแต่ตำนานของมนุษย์หมาป่าเรื่อยมายันเรื่องราวของครอบครัวชีวิตตนเอง ระหว่างแม่ฮานะ และพ่อโอคามิที่เป็นมนุษย์หมาป่า ก่อนที่จะรักและลงเอยด้วยการมีลูกสองคน แต่แล้วจุดเปลี่ยนของชีวิตก็เกิดขึ้น เพราะพ่อได้มาด่วนจากไปเสียก่อน ทำให้ฮานะต้องเผชิญหน้ากับการเลี้ยงดูลูกครึ่งมนุษย์หมาป่าโดยลำพัง โดยไม่มีแม้แต่ความรู้หรือประสบการณ์เลี้ยงดูมนุษย์หรือหมาป่าเลย
--มีต่อ--
จากคุณ |
:
A-Bellamy
|
เขียนเมื่อ |
:
15 พ.ย. 55 01:09:10
|
|
|
|  |