ความคิดเห็นที่ 36
- - - + ถ้าคนใหม่ๆ จะก้าวเข้ามาเป็นโปรดิวเซอร์หนังสักเรื่อง เขาต้องก้าวข้ามหรือเรียนอะไรมาก่อน
คือคงต้องอาศัยประสบการณ์ เพราะระบบการเรียนการสอนในบ้านเราก็เหมือนที่เรารู้ๆ กัน จบมาเป็นโน่นเป็นนี่ โอเค เรามีเบสิกมาว่า 4 ปีในมหาวิทยาลัย อะไรก็ช่าง แต่ว่าในสายโปรดิวเซอร์แล้ว เราคิดว่าหนึ่งเลยก็คือควรจะเป็นคนที่เติบโตมาในสาย โปรดักชั่น เมเนเจอร์ คือสายในการจัดการกองถ่าย ก็จะเข้าใจมากขึ้น คืออย่างตัวเอง สมมติว่าตอนนี้อยากจะผลักน้องๆ ให้ขึ้นมา ก็เหมือนกับว่าจบมาปุ๊บ ก็ควรจะเริ่มตรงการเป็นผู้ประสานงาน โตขึ้นมาก็เป็นผู้ช่วยโปรดักชั่น เมเนเจอร์ ต่อมาก็อาจจะให้เป็น ไลน์ โปรดิวเซอร์ จากนั้นถึงจะก้าวขึ้นไปเป็นโปรดิวเซอร์
+ เด็กรุ่นใหม่เรียนรู้วิธีการทำงานของคุณได้ยังไง
ไม่แน่ใจนะ แต่ถ้าพวกเราเมื่อมีโอกาสได้ไปสอนในมหาวิทยาลัย ได้ไปพูด ได้ไปเขียนหนังสือที่ไหน เราก็จะบอกว่า ตำแหน่งในหนังไทยสำคัญทุกตำแหน่ง และหนังจะดีได้ต้องได้คนเก่งทุกตำแหน่ง ผู้กำกับเก่งอยู่คนเดียว แต่ผู้ช่วยแย่ โปรดักชั่น เมเนเจอร์เห่ย คนคุม ?คอนตินิว? ไม่ได้เรื่อง... ไม่ได้นะ เราพยายามจะบอกเด็กรุ่นใหม่ว่า ทำให้มันดีในตำแหน่งที่เหมาะสมกับตัวเองทำแล้วถนัดเถิด อย่างเช่น เป็นผู้ช่วยฯหนึ่งที่ดี ได้มั้ย เป็นโปรดักชั่น เมเนเจอร์ที่ดี ได้มั้ย ไม่ใช่ทุกคนเอะอะอะไร ก็อยากเป็นผู้กำกับหมด
+ อย่างคุณเคยฝันอยากจะเป็นผู้กำกับมั้ย
ไม่เลย อะไรรู้มั้ย คือเราเห็นคนเก่งมาเยอะ และเรารู้สึกว่าตัวเองไม่เก่ง จึงเป็นผู้กำกับไม่ได้ คนที่เป็นผู้กำกับต้องเป็นคนเก่งมากๆ แต่ก็นั่นแหละ มาตรฐานของการเป็นผู้กำกับที่เก่งนั้น คงจะต่างกัน เราเป็นลูกศิษย์ของ รศ.สดใส พันธุมโกมล เราเห็นคนขนาดครูใหญ่แล้ว รู้สึกว่าชาตินี้เราเป็นผู้กำกับไม่ได้แน่ๆ อย่างนี้เป็นต้น หรือแม้แต่ผู้กำกับที่เราทำงานด้วยในตอนนี้ เรารู้สึกว่าเขาเก่ง เราไม่สามารถเป็นได้อย่างเขา เราขอเป็นคนซัพพอร์ตเขาดีกว่า ขอเป็นโปรดิวเซอร์ที่ดี มีความสุขกับสิ่งที่ทำก็พอ หรือบางทีอาจจะเป็นนิสัยของเราด้วยแหละ
สมมติวันหนึ่ง เช้าขึ้นมาผู้กำกับต้อง concentrate กับหน้าที่ของตัวเอง พูดคุยกับนักแสดง ต้องถ่ายบทหน้าเดียวนั้นให้ได้ แต่เราไม่ใช่ เราชอบที่จะตื่นเช้าขึ้นมา ถามแค่ว่า เรียบร้อยแล้วเหรอ... ถ้าเรียบร้อย เราก็ขับรถออกไปติดต่องานโน่นนี่ ก็แล้วกัน บ่ายๆ กลับมาใหม่ เราจะเดินไปนั่นไปนี่ก็ได้ หรืออาจจะติดต่องานเรื่องหน้าก็ได้ อะไรอย่างนี้ คือเราสามารถทำหนังสองสามเรื่องในเวลาเดียวกันได้ แต่ผู้กำกับเขาต้องโฟกัสอยู่กับบทหน้าเดียว
+ดังนั้นจึงไม่ใช่เรา ?
ไม่ใช่เรา แล้วก็เราไม่ใช่เป็นคนเข้าใจมนุษย์พอ คือคนที่เป็นผู้กำกับ ต้องมีความสามารถอะไรหลายๆ อย่าง ขณะเดียวกันเราก็ถูกคนเก่งๆ สอนมา บวกกับธรรมชาติของเราที่มองโลกแบบการ์ตูนดิสนีย์ตลอดเวลา เราจึงไม่ค่อยรู้สึกเหมือนผู้กำกับทั่วไปที่ต้องรู้ด้านมืดด้านสว่างของมนุษย์ เราทำไม่เป็น (หัวเราะ) ไม่เข้าใจ
+ แต่ขณะเดียวกัน ดูเหมือนว่าโปรดิวเซอร์ ต้องเข้าใจผู้กำกับด้วย
ก็ใช่ แต่นั่นมันเป็นหน้าที่ของเราอยู่แล้ว กรณีนี้เราหมายถึงการกำกับที่ลงลึกลงไปในรายละเอียดของเนื้อเรื่อง หรือจุดดรามาติกอะไรแบบนี้
+ เท่าที่เรียนมา คุณเคยทำหนังสั้นอะไรมั้ย
เรียนการละครมาค่ะ ที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ส่วนที่อเมริกาเรียนพวกทฤษฎีการจัดการ Business and Management in Entertainment คือเรารู้ว่าเรามาทางสายงานนี้ และเราก็ชอบมัน
+ ตอนเรียนอยู่ที่โน่น ได้เห็นงานทำงานของโปรดิวเซอร์เก่งจากฮอลลีวู้ดบ้างมั้ย และใครที่เป็นโปรดิวเซอร์คนเก่งในสายตาของคุณ
ถ้าเป็นฝั่งฮอลลีวู้ด เราชอบคริสติน วาชอน ทำหนังอย่าง Boys Don?t Cry, Far from Heaven, One Hour Photo อะไรพวกนี้ คือโปรดิวเซอร์หนังอินดี้พวกนี้จะทำยาก คือหาเงินยาก เพราะเป็นคนทำหนังนอกกระแส เรารู้สึกว่าเขาเป็นฮีโร่ของเรา
+ แล้วอย่าง แคธลีน เคนเนดี้ (โปรดิวเซอร์หญิงที่จับแต่งานไฮคอนเซปต์ เช่น Jurassic Park, Twister, The Sixth Sense) ล่ะ
อ๋อ เขาทำกับสตีเวน สปีลเบิร์ก นี่... คือคนฮอลลีวู้ด บางทีมันเหนื่อยใจนะ คือเขาก็เก่งของเขานะ เขาต้อง lunch ต้อง dinner เพื่อต่อรองกับนายทุน คือคนเหล่านี้อยู่ภายใต้ระบบ ภายใต้เงื่อนไขของฮอลลีวู้ด... อย่างเมืองไทยเป็นอย่างนั้นมั้ย ก็ไม่ สมมติว่าแคธลีน เคนเนดี้ เธออาจจะไปสตูดิโอโน้น สตูดิโอนี้ ไปปาร์ตี้ อะไรแบบนี้ แต่เราเหรอ... ไปนั่งให้เสี่ยเจียง (สมศักดิ์ เตชะรัตนประเสริฐ) ด่า (หัวเราะ) แต่มันสนุกน่ะ ไปหาคุณเจริญ (เอี่ยมพึ่งพร) ไฟว์สตาร์ อย่างงี้ คือเหมือนไปหาลุงๆ ทั้งหลาย มันสนุกกว่ากันเยอะเลย
เราไม่ต้อง dress up ไม่ต้อง... เฮลโล วันนี้อากาศดีนะยะ... คือเราไม่ต้องทำแบบนั้น แต่เรากินเหล้ากับคุณเชน กินหูฉลามกับเสี่ยเจียง หนุกกว่ากันเยอะ
+ ถ้าอย่างนั้น โปรดิวเซอร์ในเมืองไทยก็ประดักประเดิดน่ะสิ และไม่มีอะไรใกล้เคียงกับสิ่งที่ฮอลลีวู้ดเป็นเลย
นี่คือวัฒนธรรมของเรานะ เอาง่ายๆ อย่างการเมือง คุณว่า โทนี แบลร์ หรือ จอร์จ บุช ทำเหมือนที่ป๋าเหนาะทำเหรอ แล้วคุณทักษิณ คงจะทำอะไรเหมือนอย่างที่แบลร์ทำทุกเรื่องไม่ได้หรอก วงการหนังไทยจะให้เหมือนกับที่อื่นๆ ในโลกไม่ได้อีกเหมือนกัน และเรารู้สึกภูมิใจ ที่ประเทศไทยเป็นอย่างนี้ ไม่เห็นเป็นไรเลย
สมมติเราจะไปทาบทามดาราสักคนหนึ่งมาเล่น ในฮอลลีวู้ดต้องผ่านเอเย่นต์ แต่เมืองไทย ดาราบางคนไม่มีผู้จัดการ บางทีอาจจะพูดกันง่ายกว่า แบบชื่นชมพี่ เห็นผลงานพี่อุ๋ย (นนทรีย์) แล้วชอบ หนูอยากเล่น แค่นั้นจบ ถ้าอยากเล่นก็ได้เล่น ไม่ต้องไปผ่านผู้จัดการหรือเอเย่นต์ ในเมื่อทนายความกับทนายความพูดกันไม่รู้เรื่อง ก็เลยอดเล่น อะไรอย่างนี้ หรือดาราฮอลลีวู้ด หากจะเล่นสักเรื่องหนึ่ง มา request เฮลิคอปเตอร์หรือเทรลเลอร์ส่วนตัว มันงี่เง่าน่ะ อยู่แบบไทยๆ นี่แหละ ดารามากองถ่าย หิ้วขนมมาแจกกัน ชวนกันกิน น่ารักดีออก
+ ถ้าดาราต้องการอะไร โปรดิวเซอร์อย่างคุณต้องหามาให้ใช่มั้ย
ถูกต้อง แล้วยิ่งในฮอลลีวู้ดนะ ไหนจะมี contract เซ็นสัญญากันไปแล้ว บิดพลิ้วไม่ได้อีก ซึ่งเหนื่อยกว่าที่เราเป็นอยู่เยอะ โปรดิวเซอร์ก็ต้องมีทีมงาน ด้านกฎหมายอีก วันๆ ก็ได้แต่นั่งอ่านสัญญากัน ว่าผิดสัญญากันหรือเปล่า
+ ไม่ง่ายเลยนะ และถ้าอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยใหญ่ขึ้น คงหลีกเลี่ยงเรื่องเหล่านี้ไม่ได้
ถูกต้อง โดยส่วนตัวแล้ว เราจึงไม่อยากให้วงการหนังไทยต้องก้าวไปเป็นระบบฮอลลีวู้ดแบบนั้น บางทีเราก็เฮิร์ทเหมือนกันนะ อย่างเช่น ไปชวนคนที่เคยไปทำงานในฮอลลีวู้ดมาทำกับเรา เขาปฏิเสธนะ คือเขาดูถูกวงการหนังไทย เอะอะอะไรเขาก็จะบอกว่าหนังฝรั่งมันดีอย่างนั้น ดีอย่างนี้ ทั้งๆ ที่เราก็รู้ว่าไม่ใช่อย่างที่เขาพูดทั้งหมด เขาแค่มองตัวเงินเป็นตัวกำหนด ดังนั้นคนที่เคยทำหนังฝรั่งมาก่อนจึงไม่ค่อยมาทำหนังไทย - - ->ต่อ
จากคุณ :
Quasar
- [
9 ธ.ค. 46 12:44:16
]
|
|
|