 |
ยิ่งมีมลพิษฝาแฝดยิ่งดก:เพราะเกิดการกลายพันธุ์?
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 15 กรกฎาคม 2547 04:50 น.
ปราฟดา - นักวิทยาศาสตร์ด้านสุขภาพสิ่งแวดล้อมได้ข้อสรุปว่า ถ้าผู้หญิงอยู่ในพื้นที่ที่มีมลภาวะมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีโอกาสที่จะได้ลูกฝาแฝดมากขึ้นเท่านั้น นอกจากนี้จากการศึกษายังพบแนวโน้มว่า ผู้หญิงส่วนใหญ่นั้นไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ในพื้นที่ที่ปลอดมลพิษ ซึ่งเป็นข้อวินิจฉัยที่ระบุว่า ภาวะดังกล่าวอาจเป็นการกลายพันธุ์ นักวิทยาศาสตร์ได้คำนวณจำนวนเด็กฝาแฝดเกิดใหม่ที่อาศัยอยู่ใกล้กับพื้นที่โรงงานสารพิษในเยอรมนี พบว่าจำนวนเด็กฝาแฝดที่ในภูมิภาคที่มีมลภาวะนั้นเท่ากับจำนวนเด็กฝาแฝดที่เกิดในเมืองที่ปลอดจากสารพิษ 2 แห่ง และจากการนำข้อมูลดังกล่าวไปเปรียบเทียบกับผลวิจัย ระหว่าง ปี 1999-2003 พบว่าผู้หญิงที่อาศัยอยู่ใกล้บริเวณมีมลพิษนั้นมีอัตราให้กำเนิดลูกฝาแฝดมากกว่าผู้หญิงที่อาศัยอยู่ในพื้นที่อื่น ทั้งนี้พบว่ามีมากกว่าร้อยละ 50 นักวิจัยยังได้คำนวณยอดรวมของผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ตามธรรมชาติ กับผู้หญิงที่ตั้งครรภด้วยวิธีการปฏิสนธิในหลอดแก้ว ปรากฏว่า ผู้หญิงส่วนใหญ่ที่ตั้งครรภ์โดยการใช้วิธีผสมเทียมในหลอดแก้วนั้นอาศัยอยู่ในพื้นที่ปลอดมลภาวะมากที่สุด ขณะเดียวกันจำนวนเด็กฝาแฝดที่เกิดจากแม่ที่ใช้วิธีการผสมเทียมจะมีไม่มากกว่าจำนวนเด็กฝาแฝดที่เกิดจากแม่ในอีกกลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลอัตราการเกิดที่ได้ ชี้ว่า คนที่อาศัยอยู่ใกล้กับโรงงานบำบัดสารพิษหรือในเขตอุตสาหกรรมหนักจะให้กำเนิดลูกแฝดมากกว่าคนที่อยู่ในพื้นที่ที่มีสุขอนามัยเป็น 2 เท่า นักวิทยาศาสตร์สรุปว่า มีความสัมพันธ์โดยตรงระหว่างสิ่งแวดล้อมและจำนวนเด็กแฝดที่เกิด และมากกว่านั้น อัตราการเกิดเด็กแฝด นั้นอาจบ่งชี้สภาวะสิ่งแวดล้อมโดยรวมของพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งได้ นอกจากนี้นักวิจัยสวีเดนยังระบุว่า ผู้หญิงจะตั้งครรภ์เป็นลูกฝาแฝดมากที่สุด หากถ้าได้กรดโฟลิคระหว่างที่ตั้งครรภ์ โดยจากการศึกษาประวัติทางการแพทย์ ก็สามารถสรุปด้วยว่า ผู้หญิงร้อยละ 2.8 ที่เคยได้รับกรดโฟลิคมาก่อน ก็จะให้กำเนิดลูกฝาแฝดในเวลาต่อมา ทั้งนี้ทราบกันดีว่า กรดโฟลิคนั้นจะช่วยลดอัตราเสี่ยงที่เด็กจะพิการตั้งแต่แรกเกิด และเด็กฝาแฝดมักจะเกิดก่อนกำหนด อย่างไรก็ตามเป็นเรื่องยากที่จะสรุปว่ากรดโฟลิคนั้นส่งผลดีทั้งหมดหรือไม่
จากคุณ :
Goya_aTaan
- [
15 ก.ค. 47 11:03:57
]
|
|
|
|
|