ความคิดเห็นที่ 11
พระนามาภิไธยย่อ และพระนามย่อ อยากทราบว่าพระนามาภิไธยย่อ หรือพระนามย่อ มีข้อกำหนดยังไงบ้างครับ เช่นบางพระองค์จะมีมงกุฎ สีผืนหลังคือสีประจำวันพระราชสมภพ หรือวันประสูติใช่มั๊ยครับ แล้วจะสามารถหาดูภาพได้ที่ไหน ขอทราบรายละเอียดด้วยครับ.
จากคุณ : ผดุงกรุงเกษม - [ 9 พ.ค. 47 16:50:06 A:203.172.119.248 X: ]
ความคิดเห็นที่ 1
ก็ ในหลวง ก็จะใช้เปน ภปร (ภูมิพลอดุยเดช บรมราชาธิราช หรือ ภูมิพลอดุลยเดช ปรมินทรมหาราชา)ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎ อยู่บนพื้นสีเหลือง (สีประจำวันพระบรมราชสมภพ) พระราชินี จะได้เปน สก (สิริกิติภายในมงกุฎขัตติยะราชนารี อยู่บนพื้นสีฟ้า (สีประจำวันพระราชสมภพ)
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช จะแต่เดิม จะเปนสัญลักษณ์ ลายพระเกี้ยวของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช มีขนนกเปนรัศมี ครอบอยู่บน ลาย มวก(มหาวชิราลงกรณ์ มกุฎราชกุมาร ) ไขว้กันเปนรูปเพชร อยู่บนพื้นสีเหลือง (สีวันพระราชสมภพ) ปัจจุบันทรงใช้ เปนตราพระอนุราชมงกุฎ มีตรา มวก ไขว้กัน อยู่บนพื้นสีเหลือง (สีวันพระราชสมภพ)
สมเด็จพระเทพ ใช้เปน พระจุลมงกุฎขัตติยราชนารี (มงกุฎแบบพระราชินี แต่ไม่มีจอน) ครอบบน พระนามาภิไธยย่อ สธ (สิรินธร) ไขว้ อยู่บนพื้นสีม่วง
สมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ใช้เปน พระเกี้ยวยอด มีพระนามย่อ จภ ไขว้ บนพื้นสีชมพู
สมเด็จเจ้าฟ้าเพ็ชรรัตน์ เปน มงกุฎขัตติยะราชนารี มีพระนามย่อ พร พื้นสีชมพู บนพื้นสีชมพู
สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เปนพระเกี้ยว ครอบบนพระนามย่อ กว บนพื้นสีน้ำเงินเข้ม (สีทรงนิยม)
ทูลหม่อมอุบลรัตน์ เปน พระนาม อร ไขว้ บนพื้นสีแดง (สีวันประสูติ)
องค์โสม เปน สส ไขว้ มีอุณาโลม บนพื้นสีน้ำเงิน
องค์ภา เปน พระนามย่อ พภ มีพื้นสี แดง
ท่านหญิง เปน พระนามย่อ สร บนพื้นสีส้มเข้ม
จากคุณ : natthaset - [ 9 พ.ค. 47 19:40:33 ]
ความคิดเห็นที่ 2
พระราชินี
จากคุณ : natthaset - [ 9 พ.ค. 47 19:42:18 ]
ความคิดเห็นที่ 3
สมเด็จพระบรมโอ
จากคุณ : natthaset - [ 9 พ.ค. 47 19:44:36 ]
ความคิดเห็นที่ 4
ขอบคุณ คุณ natthaset ครับ มีรูปอื่นๆอีกมั๊ยครับ
แล้วเจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณ์ กับทูลกระหม่อมหญิง ประสูติวันพฤหัส เป็นสีส้มไม่ใช่หรอครับ พระองค์โสม ก็น่าจะเป็นสีม่วง ส่วนพระองค์ภา เท่าที่ทราบไม่ใช่วันอาทิตย์นะครับ แล้วหม่อม เป็นสีส้ม(วันพฤหัส) ใช่มั๊ยครับ ผิดพลาดอย่างไรขออภัยด้วย ขออนุญาตครับ
จากคุณ : ผดุงกรุงเกษม - [ 9 พ.ค. 47 20:35:37 A:203.172.119.220 X: ]
ความคิดเห็นที่ 5
ใช้ว่าอักษรพระปรมาภิไธย อักษรพระนามาภิไธย อักษรพระนาม และอักษรนาม ดีกว่า
ผมเห็นเป็นดังนี้นะครับ 1. สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ มีอักษรพระนามาภิไธย สก ภาย บนพื้นสีน้ำเงิน 2. สมเด็จพระเจ้าลูกเธออ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี มีอักษรพระนาม จภ บนพื้นสีแสด 3. สมเด็จพระเจ้าภคิณีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี มีอักษรพระนาม พร บนพื้นสีเหลือง 4. สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ มีอักษรพระนาม กว บนพื้นสีฟ้า 5. ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี มีอักษรพระนาม อร บนพื้นสีแดง 6. พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาธินัดดามาตุ มีอักษรพระนาม สส บนพื้นสีม่วง 7. พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา มีอักษรพระนาม พภ บนพื้นสีส้ม 8. พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ มีอักษรพระนาม สภ บนพื้นสีฟ้า 9. หม่อมเจ้าสิริวัณวลี มหิดล มีอักษรนาม สร บนพื้นสีส้ม 10. หม่อมศรีรัศมิ์ มหิดล ณ อยุธยา มีป้ายชื่อ บนพื้นสีชมพู
เคยเห็ยอักษรพระปรมภิไธย ภอ ใต้พระมหาพิชัยมงกุฎ เบื้องหลังเป็นรูปพระนพปฎลมหาเศวตฉัตร องค์นี้ใช้สำหรับส่วนพระองค์จริง หรือไม่ก็ประดับคู่กับ อักษรพระนามาภิไธน สก แก้ไขเมื่อ 09 พ.ค. 47 22:08:55
จากคุณ : GeminiGuy - [ 9 พ.ค. 47 22:04:42 ]
ความคิดเห็นที่ 6
ขออนุญาตเสริมน้องnatthaset นิดนึงนะครับ...
อักษร "ปร" ในพระปรมาภิไธยอย่างย่อ ของพระมหากษัตริย์ในพระราชวงศ์จักรี หมายถึง "ปรมราชาธิราช" อย่างเช่น "จปร" คือ "จุฬาลงกรณ์ ปรมราชาธิราช" ครับ
ส่วนคำว่า "ปรมินทร" และ "ปรเมนทร" เป็นคำที่กำหนดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 ครับ "ปรมินทร"ใช้สำหรับพระเจ้าแผ่นดินรัชกาลเป็นเลขคี่ อย่างเช่น พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นต้น ส่วน "ปรเมนทร"ใช้สำหรับรัชกาลที่เป็นเลขคู่ อย่างเช่น พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฏฐมรามาธิบดินทร เป็นต้นครับ ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับอักษรย่อ "ปร" นะครับ...
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ รัชกาลที่ 6 ครับ ซึ่งท่านไม่โปรดใช้คำว่า "ปรเมนทร" แต่ไปใช้คำว่า "รามาธิบดี" ใส่เข้าไปในพระปรมาภิไธยแทนครับ เป็น "พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ" และยังคงใช้อักษรพระปรมาภิไธยย่อว่า "วปร" (วชิราวุธปรมราชาธิราช) อยู่ครับ
จากคุณ : ออกญาศรีราชเดโชชัย - [ 10 พ.ค. 47 01:02:44 A:202.57.181.24 X: ]
ความคิดเห็นที่ 7
อ่าครับ ขอบคุณครับ พอดีว่าจะโพสหมด แต่หมดแรงงงง
จากคุณ : natthaset - [ 10 พ.ค. 47 11:40:06 ]
ความคิดเห็นที่ 8
เจ้าคุณศรีราชฯ ครับ ภปร ย่อมาจาก ภูมิพลอดุลยเดช ปรมินทรมหาราชา ครับ ไม่ใช่ ภูมิพลอดุลยเดช ปรมราชาธิราช เคยเรียนมาตอน ม. ปลาย รู้สึกว่าผมจะตอบข้อสอบถูกด้วยครับ
จากคุณ : ลพบุรี - [ 10 พ.ค. 47 19:08:31 A:203.209.107.223 X: ]
ความคิดเห็นที่ 14
หามิได้ครับ คุณลพบุรี....
"ปร" มาจากคำว่า "ปรมราชาธิราช" แน่นอนครับ แต่ก่อนผมก็เข้าใจอย่างคุณน่ะครับ ตอนหลังพอมาเรียนมหาลัย ดันไปตอบอาจารย์อย่างคุณว่าเข้า โดนอาจารย์หม่อมสุริยวุฒิเอ็ดคาพระที่นั่งจักรีเลยครับ (เด็กปีหนึ่งคณะโบราณ มีธรรมเนียมว่าต้องเข้าพระบรมมหาราชวังในวันไหว้ครู โดย อ.หม่อมท่านจะเป็นคนพาชมครับ) นับแต่นั้นผมจำจนวันตายเลยครับ ว่า "จปร" คือ "จุฬาลงกรณ์ปรมราชาธิราช", "ภปร" คือ "ภูมิพลอดุลยเดชปรมราชาธิราช"...
มีหลักฐานเป็นลายลักษณ์ด้วยครับ คือ แผ่นจารึกที่อนุสาวรีย์สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ ที่พระราชวังบางปะอิน ซึ่งออกพระนามของล้นเกล้าฯรัชกาลที่ 5 ว่า "จุฬาลงกรณ์ปรมราชาธิราช" โดยเทียบกับคำภาษาละตินที่ว่า "Rex" ครับ
ไม่เคยคิดว่ายังมีเรื่องเข้าใจผิดเช่นนี้ในบรรดาคุณครูทั้งหลายอยู่ เรื่องนี้ผมถือนะครับ ด้วยตัวเองก็เคยเข้าใจผิดมาก่อน มีท่านผู้รู้ชี้แนะให้เข้าใจถูกแล้ว ก็อยากให้ทุกๆคนเข้าใจตรงกันด้วยครับ เพื่อไม่ให้เข้าใจกันผิดจนไปอธิบายคลาดเคลื่อนต่อไปครับ
ผมอธิบายโดยยกตัวอย่างรัชกาลที่ 6 ไปแล้วนะครับ ตลอดรัชกาลท่านไม่ใช้ "ปรเมนทร" ในพระปรมาภิไธยเลย แต่ใช้ "รามาธิบดี" ถึงกระนั้นอักษรพระปรมาภิไธยก็ยังเป็น "วปร" อยู่ครับ.....ดังนั้น จะเป็น "ปรมินทร,ปรเมนทร" ไปได้อย่างไรกันครับ.....
จากคุณ : ออกญาศรีราชเดโชชัย - [ 11 พ.ค. 47 00:29:54 A:202.57.176.52 X: ]
ความคิดเห็นที่ 15
สังเกต มั้ยคะว่าในพระนามาภิไธย ใต้มหามงกุฎของในหลวง และ ใต้มงกุฎของ สมเด็จพระภคิณีเธอฯ มีตราอุณาโลมเหมือนกันเลย หมายความว่าอย่างไรค่ะ
จากคุณ : อบเชย รากฝังดิน (อบเชย รากฝังดิน) - [ 11 พ.ค. 47 01:17:29 ]
จากคุณ :
ว่านน้ำ
- [
25 พ.ย. 47 17:29:52
]
|
|
|