 |
อาการและอาการแสดง : Herpangina จะมีไข้อย่างเฉียบพลัน บางครั้งไข้อาจสูงมากกว่า 40 องศาเซลเซียส โดยเฉพาะในเด็กเล็ก ในเด็กโตจะบ่นปวดศีรษะ ปวดหลัง อาจมีอาเจียน เจ็บคอ น้ำลายไหล จากนั้นจะพบตุ่มพองใส ขนาด 1-2 มิลลิเมตร 2 ข้างของบริเวณเหนือต่อมทอนซิล (anteriar fauces) ซึ่งอาจแตกเป็นแผล หลังจากระยะ 2-3 วันแรก แผลจะใหญ่ขึ้นเป็น 3-4 มิลลิเมตร จะเห็นเป็นสีขาวเหลืองอยู่บนฐานสีแดงโดยรอบ ทำให้มีอาการเจ็บคอหรือกลืนลำบากเวลาดูดนมหรือกินอาหาร เด็กจะมีอาการน้ำลายไหล ส่วนใหญ่จะหายได้เองภายใน 3-6 วัน ยังไม่เคยมีรายงานการเสียชีวิต
วิธีติดต่อ กินเชื้อผ่านเข้าปากโดยตรงจากมือที่เปื้อนน้ำมูก น้ำลาย และอุจจาระของผู้ป่วยหรือผู้ติดเชื้อ (ซึ่งอาจจะยังไม่มีอาการ) หรือน้ำในตุ่มพองหรือแผลของผู้ป่วย และโดยการหายใจเอาเชื้อที่แพร่กระจายจากละอองฝอยของการไอ จาม ของผู้ป่วยหรือผู้ติดเชื้อ ( droplet spread) การแพร่เชื้อมักเกิดได้ง่ายในช่วงสัปดาห์แรกของการป่วย ซึ่งมีเชื้อออกมามาก เชื้อจะอยู่ในลำคอ ประมาณ 2-3 สัปดาห์ ไวรัสเข้าสู่ร่างกายทางเยื่อบุของคอหอยและลำไส้ เพิ่มจำนวนที่ทอนซิลและเนื้อเยื่อของระบบน้ำเหลืองบริเวณลำไส้ และเชื้อจะออกมากับอุจจาระ ยังไม่มีหลักฐานที่เชื่อถือได้ว่า การแพร่กระจายของโรคเกิดจากแมลง น้ำ อาหาร หรือขยะ ระยะติดต่อ ตั้งแต่เริ่มมีอาการ และอาจยาวนานหลายสัปดาห์ ระยะฟักตัว ปกติ 3-5 วัน
การรักษา : รักษาตามอาการ ซึ่งส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องรับไว้รักษาเป็นผู้ป่วยใน เช่น ให้ยาลดไข้ แก้ปวด ทายาที่ลดอาการปวดในรายที่มีแผลที่ลิ้นหรือกระพุ้งแก้ม แต่ในกรณีผู้ป่วยมีอาการแทรกซ้อนรุนแรง ต้องรับไว้รักษาเป็นผู้ป่วยใน เช่น รับประทานอาหารหรือนมไม่ได้ มีอาการสมองอักเสบเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ภาวะปอดบวมน้ำ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ กล้ามเนื้ออ่อนแรงคล้ายโปลิโอ จำเป็นต้องให้การรักษาแบบ intensive care และดูแลโดยผู้เชี่ยวชาญ
การป้องกันและควบคุมโรค มาตรการป้องกัน ลดการสัมผัส คนสู่คน เท่าที่จะทำได้ โดยไม่ควรนำเด็กเล็กไปในที่ชุมชนสาธารณที่มีคนอยู่เป็นจำนวนมากๆ เช่น สนามเด็กเล่นและห้างสรรพสินค้า ตลาด สระว่ายน้ำ ควรอยู่ในที่ที่มีการระบายถ่ายเทอากาศได้ดี หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยและระมัดระวังการไอจามรดกันให้ใช้ผ้าปิดปากปิดจมูก ล้างมือให้สะอาดก่อนและหลังเตรียมอาหาร และรับประทานอาหารและภายหลังการขับถ่าย ใช้ช้อนกลางและหลีกเลี่ยงการใช้แก้วน้ำหรือหลอดดูดน้ำร่วมกัน
สายพันธ์ที่ก่อโรค Herpangina ได้แก่ coxsackievirus, group A, type 1-10; 16 และ 22 และ enterovirus 71 ความทนทานของเชื้อ enteroviruses ถูกทำลายโดยแสงอุลตราไวโอเล็ต ในสภาพที่แห้งเชื้อจะมีชีวิตอยู่ไม่นาน ถูกทำลายโดยการต้มที่ 50 องศาเซลเซียส นาน 30 นาที แต่ถ้ามีเกลือ magnesium อยู่ด้วย จะยังทนอยู่ได้ เชื้อมีชีวิตอยู่ได้หลายวันในอุณหภูมิห้องและเมื่ออยู่ในสภาพที่มีโปรตีนผสมอยู่ด้วย เช่น ในน้ำนม ไอศกรีม หรือครีม จะมีชีวิตอยู่นานกว่าในน้ำ การทำให้น้ำนมปราศจากเชื้อ โดยวิธี pasteurization สามารถทำลายเชื้อได้ คลอรีนผสมน้ำ 0.1 ppm, (part per million) สามารถทำลายเชื้อได้ หากทำลายเชื้อในอุจจาระจะต้องใช้คลอรีนที่เข้มข้นมากกว่านี้ ฟอร์มาลินขนาด 0.3% สามารถทำลายเชื้อได้ เชื้อนี้ค่อนข้างทนทาน ไม่ถูกทำลายโดยอีเธอร์ แอลกอฮอล์ และสาร deoxycholate
การควบคุมผู้ป่วย ผู้สัมผัส และสิ่งแวดล้อม :-
การรายงานโรค = ระบบเฝ้าระวังโรค สำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข การแยกผู้ป่วย = ระวังสิ่งขับถ่ายของผู้ป่วย ถ้าผู้ป่วยในหอผู้ป่วยแม่และเด็กเกิดอาการเจ็บป่วยที่ บ่งชี้ว่าจะเป็นการติดเชื้อ enterovirus จะต้องระวังเรื่องสิ่งขับถ่ายอย่างเข้มงวด เพราะอาจทำให้ทารกติดเชื้อและเกิดอาการรุนแรงได้ ห้ามญาติหรือเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลผู้ป่วยที่สงสัยว่าติดเชื้อ enterovirus เข้ามาในหอผู้ป่วยหรือหอเด็กแรกเกิด หรือห้ามเข้าใกล้ทารกหรือหญิงท้องแก่ใกล้คลอด การทำลายเชื้อ= ต้องทำลายเชื้อในน้ำมูก น้ำลาย อุจจาระ ของผู้ป่วยอย่างรวดเร็วปลอดภัย ล้างทำความสะอาด หรือทำลายสิ่งของปนเปื้อน หลังสัมผัสสิ่งของปนเปื้อนหรือสิ่งขับถ่าย การกักกัน= ไม่ต้อง การให้ภูมิคุ้มกันแก่ผู้สัมผัส =ไม่มี การสอบสวนผู้สัมผัสและค้นหาแหล่งโรค= ค้นหา ติดตามผู้ป่วยและผู้สัมผัสโรคอย่างใกล้ชิดในกลุ่มเด็กอนุบาลหรือสถานเลี้ยงเด็ก มาตรการเมื่อเกิดการระบาด =วิเคราะห์สถานการณ์เป็นรายวัน จำแนกและแยกผู้ป่วยนอก ค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติม เฝ้าระวังผู้สัมผัสอย่างใกล้ชิด ทำการควบคุม ป้องกัน โดยทำลายสารคัดหลั่งต่างๆจากผู้ป่วยทั้งในบ้าน สถานรับเลี้ยงเด็ก และโรงพยาบาล มาตรการควบคุมโรคระหว่างประเทศ= ไม่มี โอกาสที่เกิดการระบาดใหญ่ =ในสถานรับเลื้ยงเด็ก หากมีผู้ป่วยในสถานรับเลี้ยงเด็ก มีโอกาสแพร่ระบาดได้
ข้อมูลจาก..ICD-10 : B08.4(HFM), B08.5 (Herpangina) กลุ่มระบาดวิทยาโรคติดต่อ
ปกติโรค Herpangina ไม่มียารักษา คือต้องรักษาตามอาการ ถ้าเป็นไข้ ต้องให้ยาลดไข้ หลังจากนั้นก็ต้องพยายามไม่ให้ลูกมีอาการขาดน้ำ (เพราะลูกเจ็บคอจะพาลไม่อยากกินอะไร) ให้ลูกดื่มน้ำเย็น ให้อาหารอ่อน หรือไม่ก็กินเจลลี่ของเด็กค่ะ ทราบมาว่า มีน้องเป็นโรคนี้แล้วนะคะ เลยเอาความรู้มาฝากค่ะ
ระยะนี้ต้องหมั่นทำความสะอาด โดยการเอาอุปกรณ์เครื่องใช้ มาตากแดด เพราะเชื้อตายง่ายในแสงแดด การถูพื้นต้องใช้น้ำยาที่ผสมคลอรีน และสามารถติดต่อกันได้เรื่อยๆค่ะ เน้นล้างมือบ่อยๆ ป้องกันการติดเชื้อได้ดีที่สุด
จากคุณ |
:
แม่น้องปีใหม่
|
เขียนเมื่อ |
:
22 เม.ย. 54 11:42:20
|
|
|
|
 |