Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
ใครมีลูกที่เล่นเน็ต ฝากเนื้อข่าวนี้ด้วยนะครับ เพื่อสุขภาพจิตของลูกคุณครับ :)) ติดต่อทีมงาน

ประเด็นหลัก


เรื่องที่พ่อแม่ไม่เคยรู้

เป็นเรื่องปกติ เมื่อเด็กคนหนึ่งรู้ตัวว่าถูกรังแกบนโลกไซเบอร์ เด็กจะนำปัญหาไปบอกเพื่อน การแก้ปัญหาก็เป็นแบบเด็กแนะนำเด็ก ที่อยู่บนพื้นฐาน 'แกล้งมา-แกล้งไป' เมื่อเป็นการตอบโต้ในลักษณะนี้ วงจรความรุนแรงก็จะถูกสร้างไปเรื่อยๆ ไม่มีที่สิ้นสุด ...เรื่องเหล่านี้ ผู้ปกครองไม่เคยรู้เลย

ดร.วิมลทิพย์ มุสิกพันธ์ หัวหน้าโครงการวิจัยฯ กล่าวว่า  การทำวิจัย 'การจัดการพฤติกรรมการข่มเหงรังแกผ่านโลกไซเบอร์ด้วยการมีส่วนร่วมของครอบครัว' ได้สอบถามความคิดเห็นโดยเจาะกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มเด็กและเยาวชนที่กำลังศึกษาในระดับมัธยมศึกษาทั้งตอนต้น ตอนปลาย และอาชีวศึกษา อายุระหว่าง 15-24 ปี ที่พบว่าเป็นกลุ่มที่มีพฤติกรรมการรังแกผ่านโลกไซเบอร์สูงที่สุด 2. กลุ่มพ่อแม่ผู้ปกครองที่มีอายุอยู่ในช่วง 37-63 ปี แยกผลการศึกษาเป็น เชิงปริมาณ จำนวน 1,600 ตัวอย่าง และเชิงคุณภาพ กลุ่มละ 30 คน รวมทั้งสิ้น 60 คน พบข้อเท็จจริงที่น่าสนใจหลายประการ ที่อาจเป็นสัญญาณของ Cyber- bullying ที่รุนแรงในอนาคต

อาทิ ...ครอบครัวใช้เวลารับประทานอาหารเช้าร่วมกันน้อยกว่า 2 วัน/สัปดาห์ (ร้อยละ 38.2) เช่นเดียวกับประเด็นการรับประทานอาหารเย็นร่วมกันน้อยกว่า 2 วัน/สัปดาห์ ในอัตราส่วนร้อยละ 32.8 เท่ากัน

...ผู้ปกครองไม่ทราบว่าเด็กในปกครองใช้คอมพิวเตอร์วันละเท่าไร (ร้อยละ 27.1)  และไม่ทราบว่าเด็กในปกครองใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการใด (ร้อยละ 21.8)

"เราถามพ่อแม่ รู้ไหม-เด็กในปกครองของตนใช้คอมพิวเตอร์วันละกี่ชั่วโมง ส่วนใหญ่ตอบว่ารู้ แต่ที่น่าเป็นห่วงคือเกือบ 30% บอกว่าไม่รู้ ไม่รู้เลย ส่วนพ่อแม่ที่ตอบว่ารู้ ก็บอกว่าลูกใช้คอมพิวเตอร์ทำการบ้าน ไม่ได้เล่นเกมหรอก แต่กลับกัน เราถามเด็ก เด็กบอกว่า ทำการบ้านครึ่งหนึ่ง อีกครึ่งหนึ่งเล่นเกม และทำอย่างอื่น"









_____________________________________________________
 
'รังแก' ผ่านโลกไซเบอร์ ด้านมืด เด็กยุคไอที ที่พ่อ-แม่ไม่รู้

การข่มเหงรังแกของเด็กยุคนี้ไปไกลกว่าสำนึกของผู้ใหญ่จะนึกถึง ไม่จำเป็นต้องลงไม้ลงมือให้เจ็บตัว หรือด่าทอ-ล้อเลียนให้อับอาย แค่นั่งโพสต์ “รูป” หรือ “ข้อความ” เพื่อให้ร้าย ก็ทำลายเด็กอีกคนให้เจ็บช้ำกว่าโดนชกหรือโดนถีบ ในหลายกรณี เด็กบางคนเสียใจจนฆ่าตัวตาย...ก็มี

คลิป 'เรื่องนี้ถึงครูอังคณาแน่' เป็นตัวอย่างหนึ่งของการข่มเหงกันของเด็กๆ ในโลกไซเบอร์ ที่เด็กเจ้าของคลิปโพสต์ระบายความคับข้องใจ หลังถูกเพื่อนตัดออกจากกลุ่มของห้องที่ตั้งขึ้นในเฟซบุ๊ก

เมื่อคลิปดังกล่าวกลายเป็นข่าว สายตาในสังคมมองพฤติกรรมเด็กเจ้าของคลิปเป็นเรื่องตลก และความบันเทิงรายวัน พร้อมนำวลี 'เรื่องนี้ถึงครูอังคณาแน่' มาพูดกันเล่นจนติดปาก สร้างความครื้นเครงและเสียงหัวเราะให้คนรอบข้าง โดยไม่รู้เลยว่า ที่มาของวลีดังกล่าวมาจากความอัดอั้นตันใจของเด็กคนหนึ่งที่รู้สึกว่า ไม่ได้การยอมรับจากเพื่อนฝูง

โลกตะวันตกนิยามพฤติกรรมการกลั่นแกล้งระหว่างเด็กด้วยกันผ่านโลกไซเบอร์นี้ว่า Cyber-bullying สำหรับประเทศไทย คำนี้อาจไม่ใช่คำคุ้นหู มวลชนทั่วไปยังคิ้วขมวดเมื่อได้ยิน พ่อแม่ผู้ปกครองส่ายหัวไม่รู้จัก

เวลาเปลี่ยน พฤติกรรมคนย่อมเปลี่ยน เทคโนโลยีได้ขยายช่องทางแสดงความประพฤติของมนุษย์ ความรุนแรงของเด็กในวันนี้อาจไม่เห็นได้ด้วยตา หากพ่อแม่ละเลยที่จะใส่ใจในโลกอีกใบที่ชื่อ "อินเทอร์เน็ต"

อะไรคือ Cyber-bullying?


เอกสารงานวิจัยโครงการ 'ศึกษาการจัดการพฤติกรรมการข่มเหงรังแกผ่านโลกไซเบอร์ ด้วยการมีส่วนร่วมของครอบครัว' โดย สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ความหมาย Cyber- bullying ว่าเป็น การรังแกผ่านโลกไซเบอร์ระหว่างเด็กด้วยกัน ซึ่งเป็นวิธีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในการแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว ทุกคนสามารถเข้ามาร่วมในการรับรู้และแสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระ ในขณะที่ผู้ถูกกระทำไม่สามารถตอบโต้ได้ จนนำมาซึ่งความรู้สึกเครียด เจ็บปวด อับอาย และสูญเสียความมั่นใจในการอยู่ในสังคม บางกรณีนำมาสู่ปัญหาด้านอารมณ์อย่างรุนแรง

"พฤติกรรมที่เข้าข่าย Cyber-bullying มีตั้งแต่การโพสต์รูปภาพ-ข้อความที่ไม่เป็นจริง การด่าทอ การให้ร้าย ลบเพื่อนที่อยู่ในกลุ่มออกไป สิ่งเหล่านี้สำหรับผู้ใหญ่อาจรู้สึกเฉยๆ แต่สำหรับเด็กเป็นความรู้สึกเจ็บปวด ที่สำคัญ Cyber- bullying จะต้องเป็นการกระทำอย่างต่อเนื่อง ยาวนาน สร้างความเจ็บปวดเรื้อรังให้กับเด็กที่ถูกกระทำ

"ในต่างประเทศ Cyber- bullying ถือเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะเคยมีเด็กฆ่าตัวตาย มีการดร็อป การลาออกกลางคันจากกรณีดังกล่าว เยอะมาก แต่ในประเทศไทยยังไม่รุนแรงขนาดนั้น อาจเพราะสังคมเราเป็นสังคมที่มีความประนีประนอม เรื่องนี้จึงยังดูเหมือนไม่มีอะไร ยิ่งถ้าเทียบกับปัญหาเด็กติดเกมซึ่งดูรุนแรงกว่ามาก เรื่อง Cyber- bullying จึงถูกซุกไว้ใต้พรม แต่วันนี้เด็กไทยกำลังมีพฤติกรรม Cyber- bullying ที่รุนแรงขึ้น" ดร.วิมลทิพย์ มุสิกพันธ์ หัวหน้าโครงการวิจัยฯ กล่าว

เรื่องที่พ่อแม่ไม่เคยรู้

เป็นเรื่องปกติ เมื่อเด็กคนหนึ่งรู้ตัวว่าถูกรังแกบนโลกไซเบอร์ เด็กจะนำปัญหาไปบอกเพื่อน การแก้ปัญหาก็เป็นแบบเด็กแนะนำเด็ก ที่อยู่บนพื้นฐาน 'แกล้งมา-แกล้งไป' เมื่อเป็นการตอบโต้ในลักษณะนี้ วงจรความรุนแรงก็จะถูกสร้างไปเรื่อยๆ ไม่มีที่สิ้นสุด ...เรื่องเหล่านี้ ผู้ปกครองไม่เคยรู้เลย

ดร.วิมลทิพย์ มุสิกพันธ์ หัวหน้าโครงการวิจัยฯ กล่าวว่า  การทำวิจัย 'การจัดการพฤติกรรมการข่มเหงรังแกผ่านโลกไซเบอร์ด้วยการมีส่วนร่วมของครอบครัว' ได้สอบถามความคิดเห็นโดยเจาะกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มเด็กและเยาวชนที่กำลังศึกษาในระดับมัธยมศึกษาทั้งตอนต้น ตอนปลาย และอาชีวศึกษา อายุระหว่าง 15-24 ปี ที่พบว่าเป็นกลุ่มที่มีพฤติกรรมการรังแกผ่านโลกไซเบอร์สูงที่สุด 2. กลุ่มพ่อแม่ผู้ปกครองที่มีอายุอยู่ในช่วง 37-63 ปี แยกผลการศึกษาเป็น เชิงปริมาณ จำนวน 1,600 ตัวอย่าง และเชิงคุณภาพ กลุ่มละ 30 คน รวมทั้งสิ้น 60 คน พบข้อเท็จจริงที่น่าสนใจหลายประการ ที่อาจเป็นสัญญาณของ Cyber- bullying ที่รุนแรงในอนาคต

อาทิ ...ครอบครัวใช้เวลารับประทานอาหารเช้าร่วมกันน้อยกว่า 2 วัน/สัปดาห์ (ร้อยละ 38.2) เช่นเดียวกับประเด็นการรับประทานอาหารเย็นร่วมกันน้อยกว่า 2 วัน/สัปดาห์ ในอัตราส่วนร้อยละ 32.8 เท่ากัน

...ผู้ปกครองไม่ทราบว่าเด็กในปกครองใช้คอมพิวเตอร์วันละเท่าไร (ร้อยละ 27.1)  และไม่ทราบว่าเด็กในปกครองใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการใด (ร้อยละ 21.8)

"เราถามพ่อแม่ รู้ไหม-เด็กในปกครองของตนใช้คอมพิวเตอร์วันละกี่ชั่วโมง ส่วนใหญ่ตอบว่ารู้ แต่ที่น่าเป็นห่วงคือเกือบ 30% บอกว่าไม่รู้ ไม่รู้เลย ส่วนพ่อแม่ที่ตอบว่ารู้ ก็บอกว่าลูกใช้คอมพิวเตอร์ทำการบ้าน ไม่ได้เล่นเกมหรอก แต่กลับกัน เราถามเด็ก เด็กบอกว่า ทำการบ้านครึ่งหนึ่ง อีกครึ่งหนึ่งเล่นเกม และทำอย่างอื่น"

รังแกไหม? รุนแรงไหม?  

...ผู้ปกครองส่วนใหญ่ ไม่ทราบเลยว่าบุตรหลานมีประสบการณ์รังแกหรือถูกรังแกผ่านโลกไซเบอร์หรือไม่ (ร้อยละ 21.3-33.1)

ผลการวิจัยที่ใช้วิธีตั้งคำถามประเด็นสถานการณ์สมมติ 15 ประเด็น เพื่อเช็กว่าผู้ปกครองจะทราบหรือไม่ว่าสถานการณ์นั้นจัดเป็นความรุนแรงผ่านโลกไซเบอร์หรือไม่ มีบางประเด็น พ่อแม่ตอบ ไม่รู้ว่า “สิ่งนี้” คือความรุนแรง

ผู้ปกครองไม่ทราบว่าสถานการณ์ส่ง MSN ดูถูกเหยียดหยามหรือข่มขู่บ่อยๆ จัดเป็นความรุนแรงที่กระทำผ่านโลกไซเบอร์ (ร้อยละ 44.1)

ผู้ปกครองส่วนใหญ่เข้าใจว่าประเด็นเรื่องโทรศัพท์เข้ามารบกวนโดยที่ไม่พูดสาย ไม่ใช่ความรุนแรงผ่านโลกไซเบอร์ ซึ่งเป็นคำตอบที่ไม่ถูกต้อง (ร้อยละ 74.8)

และผู้ปกครองจำนวนมาก (ร้อยละ 83.6) ไม่รู้ว่า การไม่ยอมรับเด็กเข้าไปอยู่ในกลุ่มรายชื่อเพื่อนในห้อง เป็นความรุนแรง

คำตอบเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่า ผู้ปกครองมีความเข้าใจต่อปัญหาการรังแกผ่านโลกไซเบอร์ที่คลาดเคลื่อนอยู่ไม่น้อย

เลิกเรียน = เวลา "แกล้ง"

วงจร Cyber-bullying เกิดที่บ้าน ไม่ใช่โรงเรียน เกิดขึ้นตั้งแต่ 6 โมงเย็นถึง 3 ทุ่ม ซึ่งเป็นช่วงที่เด็กใช้อินเทอร์เน็ตและทำการบ้าน และมากกว่านั้น...แกล้งเพื่อน

การกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์เป็นการทำร้ายจิตใจ ชื่อเสียง ไม่ใช่ร่างกาย เป็นวิธีการทำร้ายที่รุนแรงและเจ็บลึก

"อย่างการกลั่นแกล้งโดยโพสต์ว่าขายบริการ แน่นอน วันนั้นน้องคนนั้นรับโทรศัพท์ไม่หวาดไม่ไหวแน่" ศิวัตร เชาวรียวงษ์ นายกสมาคมผู้ดูแลเว็บไทย ยกตัวอย่างการกระทำความรุนแรงบนโลกไซเบอร์ที่ทำไม่ยาก แต่ 'โหดสัส' (ภาษาที่ชาวเน็ตใช้เรียกการกระทำให้อารมณ์รุนแรง!) ให้เห็นภาพ


"หรือถ้าใครอยากแกล้งผม ก็เพียงแค่โพสต์ ขาย iPhone 4s แล้วลงราคาถูกๆ พร้อมเบอร์โทรศัพท์ แค่นี้ผมก็แย่แล้ว"

หากการโพสต์นั้นเป็นรูปที่ไม่เหมาะสม หรือคลิปวิดีโอวาบหวิวของใครสักคนที่เด็กไม่ชอบ บางครั้งผลลัพธ์อาจเลยเถิดกว่าการ 'ทำร้าย' เป็น 'ทำลาย' ชีวิตคนคนหนึ่ง เพราะความไม่รู้

ที่สำคัญ Cyber-bullying นั้นเกิดขึ้นที่บ้าน เวลาหัวค่ำ ซึ่งเป็นเวลาที่ลูกกับพ่อแม่อยู่ใกล้กันที่สุด

กด report อย่า share

ศิวัตร ตั้งข้อสังเกตว่า หลายครั้งความรุนแรงเล็กๆ กลายเป็นเรื่องใหญ่โตจนเป็นที่สนใจของสังคม เกิดจากการกด 'share' ต่อๆ กันไป แม้บางทีสิ่งที่แชร์จะเป็นสิ่งที่สร้างความเสียหายให้แก่ผู้อื่นก็ตา

คลิปหลุดของดาราวัยรุ่น ภาพหลุดของคู่รักวัยหวาน ภาพใต้กระโปรงของเด็กมัธยม ฯลฯ ต่างถูกแชร์ส่งต่อๆ กัน ให้สายตาสาธารณะเสพสนองอารมณ์ ถูกหรือผิด รู้แต่ไม่สน เพราะไม่ใช่ลูก ไม่ใช่หลาน

"ถ้าเราเข้าไปเห็นในสิ่งที่ไม่เหมาะสม ก็ควรกด report แจ้งแก่ทางเว็บไซต์ เพื่อทำการกำจัดไฟล์หรือข้อมูลเหล่านั้นออกไป”

"ต้องยอมรับว่า บางครั้งเรื่องความรุนแรงที่เกิดขึ้น เป็นความผิดของหลายๆ คนบนโลกอินเทอร์เน็ตที่กด 'share' ส่งต่อกันไปเรื่อยๆ จนทำให้เรื่องนั้นกลายเป็นกระแส แล้วเราก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เรื่องบานปลาย"

ข้อสังเกตของ ศิวัตร ชวนให้นึกถึงข่าวเมื่อหลายปีก่อน คลิปเด็กนักเรียนสาวที่ถูกแฟนหนุ่มถ่ายเก็บไว้ ขณะมีอะไรกัน จากนั้นคลิปดังกล่าวก็ถูกนำไปบันทึกเป็นวีซีดี ขายให้คนทั่วไปซื้อหามาดู คนที่มีก็ไรท์แผ่นแบ่งเพื่อนที่อยากได้ของฟรีให้ได้ชม สุดท้าย...มีบางเสียงบอกว่า เมื่อเด็กสาวคนดังกล่าวรู้ เธอทนไม่ได้ และฆ่าตัวตาย

ทว่า การ share บนโลกอินเทอร์เน็ตส่งต่อไปถึงผู้คนได้มากและรวดเร็วกว่าไรท์แผ่นแจกหลายเท่าตัวนัก

"เอาเป็นว่าคนที่โตๆ กันแล้ว เป็นผู้ใหญ่กันแล้ว ก่อนจะแชร์ก็คิดก่อนสักนิด" ศิวัตร กล่าว

ทางออกของวงจร Cyber-bullying

“ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า ผู้ปกครองส่วนใหญ่มีความคิดจะแก้ปัญหาโดยการต่อว่า ตักเตือน ห้ามปราม ควบคุมการใช้สื่อ ลงโทษ และคอยสอดส่องพฤติกรรม ในกรณีที่ลูกเป็นฝ่ายกระทำ แต่หากเป็นกรณีที่ลูกถูกกระทำ ส่วนใหญ่คาดว่าจะใช้วิธีการสืบหาตัวผู้กระทำและเจรจาปัญหา ให้กำลังใจลูก บอกให้หลีกเลี่ยงและระมัดระวังตัวมากขึ้น มีจำนวนน้อยรายที่บรรยายถึงมาตรการเชิงรุกอย่างเป็นรูปธรรม เช่น การแจ้งความ หรือตรวจสอบประวัติการใช้สื่อ ประเด็นสำคัญคือข้อมูลการแก้ปัญหาส่วนใหญ่สื่อออกมาในลักษณะ 'วิถีเชิงอุดมคติ' ทั่วไปอย่างที่ควรจะเป็น มากกว่าการเฉพาะเจาะจงต่อปัญหา ซึ่งหากไม่มีการดำเนินการใดต่อปัญหาอย่างเร่งด่วนตั้งแต่บัดนี้ หรือปล่อยทิ้งไว้นานอาจเรื้อรังหรือไม่ก็ทวีความรุนแรงมากขึ้นอย่างไม่ต้องสงสัย” หัวหน้าโครงการวิจัยฯ กล่าว

"ผมว่า ผู้ปกครองต้องเริ่มจากความใส่ใจก่อน พอใส่ใจแล้ว ก็จะนำมาซึ่งความเข้าใจ โดยเฉพาะเรื่องกฎหมายที่เกี่ยวข้อง มีบางเรื่องที่เข้าใจไม่ยากเลย เช่น เรื่องของตัดต่อภาพโป๊ ก็ผิดมาตรา 16 ปรับ 60,000 บาท และ/หรือ จำคุก 3 ปี หรือพ่อแม่ควรรู้ว่า ถ้าลูกส่งอีเมล์หลายฉบับไปป่วนเพื่อนจนเดือดร้อนรำคาญ เข้าข่าย 'สแปม' โดนปรับ 100,000 บาท ผมคิดว่าเมื่อพูดถึงเรื่องนี้ในแง่ของกฎหมาย มีการสื่อสารถึงบทลงโทษที่ชัดเจน พ่อแม่กลุ่มหนึ่งจะต้องรู้สึกแล้วว่านี่เป็นเรื่องต้องใส่ใจ เพราะเป็นเรื่องที่ถึงคุกถึงตะราง ไม่ใช่แค่เรื่องเด็กๆ คุยกันแล้ว" นายกสมาคมผู้ดูแลเว็บไทย กล่าวทิ้งท้าย

พ่อ-แม่ ผู้ปกครอง คือกุญแจดอกสำคัญที่จะปลดล็อกปัญหา Cyber-bullying ของเด็กและเยาวชน หากพ่อ-แม่ไม่ใส่ใจลูกของตน ก็ยากจะหาใครอื่นมาใส่ใจได้

telecomjournal
http://www.tjinnovation.com/Section.php?cat=14&id=1813


เครดิต
http://www.pantip.com/cafe/mbk/topic/T12116902/T12116902.html

จากคุณ : corelooy
เขียนเมื่อ : 20 พ.ค. 55 00:28:24




ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com