อ่านเจอมา เรื่องคลอด เลย Copy ให้คุณแม่เตรียมคลอดได้อ่านค่ะ
|
 |
เรียนรู้เรื่องคลอด สัญญาณเตือนเมื่อใกล้คลอด
เมื่อคุณแม่ตั้งท้องมาจนใกล้หรือครบกำหนดคลอดควรสังเกตุอาการที่แสดงว่าคุณแม่เข้าสู่ระยะคลอด เช่น รู้สึกเจ็บท้องสม่ำเสมอและแรงขึ้น ถุงน้ำคร่ำแตก (น้ำเดิน) หรือมีมูกเลือดออกทางช่องคลอด ซึ่งถ้ามีอาการอย่างใด อย่างหนึ่งเกิดขึ้น คุณแม่ควรเตรียมพร้อมที่จะมาพบ แพทย์ที่โรงพยาบาล การดูแลเมื่อแรกรับไว้ในห้องคลอด เมื่อเข้ามาอยู่ในห้องคลอดคุณแม่จะได้รับการดูแลตั้งแต่แรกรับดังนี้ ตรวจดูประวัติการตั้งท้องในใบฝากท้องของคุณแม่ ซักประวัติเกี่ยวกับอาการเจ็บท้อง น้ำเดิน มูกเลือด อาการผิดปกติอื่นๆ และ ประวัติการตั้งท้องทั้งในอดีตและปัจจุบัน ตรวจหาระดับของโปรตีนและน้ำตาลในปัสสาวะ เพื่อค้นหาภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ตรวจร่างกายและตรวจท้อง ดังนี้ -ชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูง -วัดอุณหภูมิร่างกาย ชีพจร การหายใจ และความดันโลหิต ตรวจร่างกายทั่วไปเพื่อหาความผิดปกติระบบต่างๆ ตรวจท้อง เพื่อดูขนาดของมดลูก ส่วนนำ และท่าของลูกในท้อง ฟังเสียงการเต้นของหัวใจลูกในท้อง รวมทั้งตรวจการแข็งตัวของมดลูก คุณแม่จะได้รับการตรวจภายใน เพื่อตรวจดูปากมดลูก โดย แพทย์จะใส่นิ้วมือเข้าไป ในช่องคลอด เพื่อตรวจดูความนุ่ม การบางตัว และการเปิดขยายของปากมดลูกว่า คุณแม่เข้าสู่ระยะคลอดหรือไม่ ส่วนนำและท่าของลุกในท้อง เป็นท่าศรีษะหรือท่าผิดปกติอื่นๆ และส่วนนำอยู่ในระดับใดในอุ้งเชิงการ ถุงน้ำคร่ำ คลำดูว่าถุงน้ำคร่ำยังอยู่หรือแตกแล้ว สีของน้ำคร่ำ ลักษณะของ สีน้ำคร่ำที่รั่ว/แตก ปากมดลูกว่ามีสีปกติหรือมีขี้เทาปน การเตรียมความสะอาดเพื่อการคลอด เพื่อการสะดวกเวลาคลอดและป้องกันการ ปนเปื้อนอุจจาระระหว่างคลอด คุณแม่จะได้รับการเตรียมความสะอาดก่อนคลอดดังนี้ ทำความสะอาดบริเวณฝีเย็บ โดยการฝอกสบู่ และโกนขนบริเวณที่มีขนมาก เพื่อความสะดวกต่อการคลอดและการเย็บแผล สวนอุจจาระ เพื่อขจัดอุจจาระที่ค้างอยู่ในลำไส้ใหญ่ ช่วยให้ส่วนนำของลูกในท้องเคลื่อนต่ำลงมาสะดวกขึ้นระหว่างการคลอด ไม่สวนอุจจาระในรายที่คุณแม่มีเลือดออกทางช่องคลอด ความดันโลหิตสูงมากๆ มีน้ำเดิน หรือตรวจพบปากมดลูกเปิดขยายมากอยู่ในระยะใกล้คลอด การชักนำการคลอด (การเร่งคลอด) เป็นการช่วยให้เกิดอาการเจ็บท้องเพื่อเข้าสู่ระยะคลอด ใช้ในกรณีที่คุณแม่ยังไม่มีอาการเจ็บท้องจริงหรือตั้งท้องเกินกำหนดคลอด วิธีการเร่งคลอด ทำได้หลายวิธี ดังนี้ เจาะถุงน้ำคร่ำใช้เครื่องมือ คล้ายตะขอเล็กๆสอดเข้า ทางช่องคลอดและเกี่ยวถุงน้ำคร่ำให้แตกเพื่อให้ น้ำคร่ำไหลออกมา ให้ยากระตุ้นการแข็งตัวของมดลูก ใช้ 2 วิธีร่วมกัน คือการเจาะถุงน้ำคร่ำร่วมกับให้ยากระตุ้นการแข็งตัวของมดลูก การปฏิบัติตัวเมื่อมีการเร่งคลอด ใส่ผ้าอนามัยหลังจาการเจาะถุงน้ำคร่ำ เพราะอาจมีน้ำคร่ำไหลออกมาเรื่อยๆ คุณแม่ควรนอนพักบนเตียง ไม่ลุกเดินไปมา เพื่อป้องกันการเกิดสายสะดือย้อย การดูแลคุณแม่ในระยะคลอด เมื่อเข้าสูระยะคลอด การดูแลที่คุณแม่จะได้รับมีดังนี้ เมื่อเจ็บท้องมากและถี่ขึ้น แพทย์อาจให้งดอาหาร และน้ำดื่มไว้ก่อนและให้น้ำเกลือดทดแทน เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับกรณีที่อาจต้องคลอดบุตรโดยการผ่าตัด แพทย์และพยาบาลจะดูแล เฝ้าคลอดคุณแม่ โดยตรวจดุการแข็งตัวของมดลูก และฟังเสียงการเต้นของหัวใจลูกในท้องอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งสังเกตุการเปลี่ยนแปลงลักษณะสีของน้ำคร่ำ และอาการผิดปกติอื่นๆ คุณแม่จะได้รับการตรวจภายในเพื่อดูความก้าวหน้าของ การคลอดเป็นระยะ ประมาณทุก 2 ชั่วโมง เมื่อเข้าสู่ระยะคลอด คุณแม่สามารถใช้เทคนิคการหายใจ ลูบหน้าท้อง และนวด เพื่อผ่อนคลายอาการเจ็บ ท้อง ถ้ามีอาการเจ็บท้องมากและถี่ขึ้นแพทย์อาจพิจารณา ให้ยาฉีดเข้าทางกล้ามเนื้อ หลอดเลือด หรือบล็อกหลัง เพื่อระงับปวด เมื่อเข้าสู่ระยะเบ่งคลอดคุณแม่จะอยู่ในท่านอนหงาย ศรีษะสูงเล็กน้อย ชันเข่าทั้งสองข้างขึ้น และเริ่มเบ่งตอนท้องแข็งโดยแพทย์และพยาบาลจะคอยให้คำแนะนำและกำลังใจ เพื่อให้คุณแม่ออกแรงเบ่งคลอดได้อย่างถุกวิธี ซึ่งจะช่วยให้ลูกเคลื่อนต่ำลงมาที่บริเวณปากช่องคลอด เมื่อศรีษะลูกตุงที่ช่องคลอด จะฉีดยาชาที่บริเวณฝีเย็บ และตัดฝีเย็บเพื่อให้ลูกคลอดได้สะดวก เมื่อลูกเกิดจะได้รับการดุดน้ำคร่ำในปากและ จมุกด้วยลุกยางแดง จากนั้นเช้ดตัวให้แห้งและห่อด้วยผ้าอุ่น พร้อมทั้งนำไปให้คุณแม่โอบกอดและให้เริ่ม ดูดนมแม่ เพื่อกระตุ้นและ เสริมสร้างสายใยรักและผูกพัน หลังจากนั้นจะเป้นเรื่องของการคลอดรก โดยผู้ทำคลอดจะกดบริเวณหน้าท้องเพื่อดันไล่รกออกทางช่องคลอด พร้อมทั้งตรวจดูการฉีกขาดของแผลฝีเย็บ และเย็บซ่อมแซมโดยการฉีดยาชาเพื่อระงับความรู้สึก หลังคลอดคุณแม่จะนอนพักดูอาการในห้อง คลอดอีกประมาณ 2 ชั่วโมง จึงจะย้ายไปหอผู้ป่วยหลังคลอดพร้อมลูกต่อไป ข้อมูลโดย ศาสตราจารย์คลินิกแพทยืหยฺงวิบูลพรรณ ฐิตะดิลก ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล http://www.meedee.net/magazine/med/special-report/1781
จากคุณ |
:
Gampumpui
|
เขียนเมื่อ |
:
17 ส.ค. 55 16:28:55
|
|
|
|