 |
ยกคำสอนของหลวงพ่อชามาให้อ่านด้วยน่ะค่ะ
สำหรับการปล่อยวางบางคนไม่เข้าใจความหมาย คำว่า ปล่อยวาง อุเบกขาหรือวางเฉย จึงมีการตีความหมายสับสนต่างๆนานา ดังศิษย์ของหลวงปู่ชารูปหนึ่ง ที่ฝึกปฏิบัติการปล่อยวาง ในฤดูฝนหลังคากุฎีพระรูปหนึ่งมีรอยรั่ว พระรูปนั้นไม่ขวนขวยหาวัสดุมุงหลังคาใหม่ จึงปล่อยให้ฝนรั่วอยู่อย่างนั้น และได้เก็บบริขารไปไว้อีกมุมหนึ่งของกุฎี หลายวันผ่านไป หลวงปู่ชาไปถามที่กุฎี พระรูปนั้นตอบว่า ผมกำลังฝึกการปล่อยวาง หลวงปู่ชา จึงกล่าวว่า นี่เป็นการปล่อยวางที่ไม่ใช้ปัญญา เปรียบเหมือนการปล่อยวางของควายเท่านั้นเอง
(สันติภูมิ, 2530: 76) ที่มา: http://www.tairomdham.net/index.php?topic=5035.0
คำสอนหลวงพ่อชาต่อ
ครั้งหนึ่งท่านได้รับนิมนต์ให้ฉันภัตตาหารในพระบรมมหาราชวัง เนื่องในพิธีวันเฉลิมพระชนมพรรษาของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ซึ่งหลวงพ่อกลับมาเล่าให้ฟังว่า "มีพระ 9 รูป เป็นพระป่า 3 รูป หลังจากที่สมเด็จพระญาณสังวรถวายเทศน์แล้ว สมเด็จฯ พระบรมราชินีนาถได้ถวายจตุปัจจัยองค์ละสองหมื่นห้าพันบาท ส่วนองค์เทศน์ถวายห้าหมื่นบาท"
ภายหลังเทศน์จบแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงนิมนต์พระป่าเพื่อซักถามปัญหาส่วนพระองค์ ปีนั้นเป็นปีที่บ้านเมืองกำลังระส่ำระสาย นักศึกษากำลังมีเรื่องประท้วงกับรัฐบาล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตรัสถามพระป่าทั้งสามรูปถึงปัญหาของบ้านเมือง และทรงถามความเห็นว่า ท่านควรจะวางพระองค์อย่างไรในสถานการณ์เช่นนี้ พระอีกสองรูปให้วางอุเบกขา แต่ไม่ได้อธิบายอะไรต่อ ครั้นมาถึงหลวงพ่อ ท่านก็ตอบว่า "การวางเฉยนั้นต้องมีปัญญาเข้าประกอบด้วย การวางเฉยอย่างมีปัญญาจะต้องศึกษาว่า เหตุการณ์เป็นอย่างไร ควรใช้สติปัญญา พิจารณาถึงการควร การไม่ควร" ท่านเล่าว่าพอตอบเสร็จ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงแย้ม พระสรวล
ที่มา: http://www.silapasart.com/budha/papong.html
จะเห็นได้ว่าหลวงพ่อชาท่านสอนให้ใช้ปัญญาก่อนจะวางอุเบกขาเสมอน่ะค่ะ ก็อยากฝากไว้ให้คิดพิจารณาให้ดีค่ะ ทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ที่คุณจะเลือกเอง
สิ่งต่างๆที่ผ่านมาเราอาจจะแก้ไขมันไม่ได้ แต่เราสามารถเลือกที่จะทำปัจจุบันให้ดีที่สุดได้น่ะค่ะ ยังไงก็ขอให้มีสติ มีศีล มีธรรมในใจ ทำปัจจุบันให้ดีที่สุดน่ะค่ะ
จากคุณ |
:
puff
|
เขียนเมื่อ |
:
30 ส.ค. 55 00:14:43
A:129.8.198.76 X: TicketID:369212
|
|
|
|
 |