 |
ขอแสดงความเห็นที่ต่างสักหน่อยนะคะ
1. สิ่งที่พ่อแม่ควรจะใส่ใจบ่มเพาะให้ลูกไม่ใช่แค่การศึกษา แต่คือ "ศีลธรรม" ค่ะ จากเรื่องที่คุณยกตัวอย่างมาทั้งหมดปัญหาเราว่าไม่ใช่การศึกษา แต่เป็นความเหลาะแหละทางศีลธรรมมากกว่า รวมถึงการขาดภูมิคุ้มกันทางจิตใจด้วย (สติ)
2. การให้ความสำคัญกับวุฒิการศึกษามากเิกินไปนั้น เราพบเห็นเฉพาะในบางประเทศเท่านั้นเช่นในไทยเป็นต้น แต่เป็นเรื่องน่าแปลกประหลาดที่เรามีบัณฑิตปริญญามากมาย แต่การพัฒนาประเทศกลับสู้ประเทศอื่นไม่ได้เลย รวมถึงความสามารถทางการวิเคราะห์ของประชาชนด้วยค่ะ เป็นเหตุว่าทำไมคนไทยเชื่ออะไรง่าย ขาดสติ และไหลตามกระแสขาดความพินิจพิเคราะห์กันมาก
พอดีเราอยู่ห้องเฉลิมไทยบ่อยค่ะ มักจะเห็นกระทู้เสียดสีว่าดาราคนนั้นคนนี้ยังเด็กทำไมไม่เรียนให้จบ มัวมาเป็นดาราอยู่ได้
คือเราอยากถามกลับว่าศิลปินระดับโลกที่ประสบความสำเร็จนั้นกี่คนกันที่จบการศึกษาสูงๆ และจำเป็นอะไรที่ต้องมีวุฒิการศึกษาเป็นใบเบิกทางชีวิต ในสาขาอาชีพที่ไม่เกี่ยวข้องเลย
เช่นคุณตูน บอดี้แสลม ตูนจบนิติศาสตร์จากจุฬาฯ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐและมีรายได้ส่วนหนึ่งมาจากภาษีของประชาชน เราอยากถามว่าหนึ่งที่นั่งในคณะนิติศาสตร์ที่เป็นของตูน คุ้มค่าภาษีของประชาชนหรือไม่หากตูนรู้แต่แรกแล้วว่าอยากเป็นนักร้องและมีพรสวรรค์ทางดนตรีแต่ต้องจำใจมีวุฒิการศึกษามาเป็น "นักร้องปริญญา" ให้ดูดีในสังคม สนองความต้องการของสังคม และใน 1 ปี ตูนสามารถหารายได้ได้เท่าไหร่ กับ 4 ปีที่เสียไปเพื่อ "มาตรฐานสังคม" ตูนสูญเสียรายได้ไปแล้วเท่าไหร่ และนั่นก็คือภาษีของชาติที่เสียไปทั้งต้นทาง (ภาษีที่นำมาพัฒนาทำนุบำรุงจุฬาฯ) และปลายทาง (ภาษีที่ได้จากรายได้ของตูนในแต่ละปี)
และที่สำคัญ หากวันหนึ่งตูนไม่ได้เป็นนักร้องดังแล้ว คิดว่าตูนจะไปทำงานเบื้องหลังหรือจะออกมาเป็นทนายความคะ วุฒินิติศาสตร์บัณฑิตมีประโยชน์อะไรกับเขานอกจากเป็น "เครื่องยกระดับทางสังคม เพื่อบอกว่าไม่ใช่นักร้องไก่กาแต่มีปริญญานิติศาสตร์"
เทียบกับกรณีดาราบางท่านที่ตัดสินใจหยุดการศึกษาเพื่อพัฒนาประสบการณ์ในสาขาอาชีพของตนเองจริงๆแล้วโดนกระแสสังคมหาว่าโง่บ้างอะไรบ้างที่ไม่เรียนให้จบ ทำให้เราสงสัยว่าสังคมนี้เป็นอะไร ทำไมแค่วุฒิการศึกษาถึงมีคุณค่าขนาดนั้น
ทุกวันนี้เรามีบัณฑิตปริญญามากมายที่ไร้คุณภาพ เพราะสถาบันการศึกษาก็เร่งผลิตเพื่อหาเงิน สนองความต้องการมีวุฒิของสังคม แล้วเราได้อะไรจากตรงนั้นกันคะ
ทุกวันนี้เรามีบัณฑิตปริญญามากมายที่ไม่ได้ประกอบอาชีพในสาขาทีีตนเรียนมา (เช่นตูน) สังคมได้อะไรจากสิ่งนั้นบ้างคะ
การศึกษากับปัญญาต่างกันนะคะ บางทีการศึกษาก็ไม่ใช่คำตอบของทุกสิ่งคน คนเรียนสูงๆจบมาโกงบ้านเมือง (ดูนักการเมืองสิคะทั้งฝ่ายค้านฝ่ายรัฐบาลประวัติการศึกษายาวเหยียด แต่จบมาแล้วเป็นอย่างที่เห็น) หรือเป็นมิจฉาชีพก็มากมาย
เรายังเชื่อ ว่าสิ่งที่คนรุ่นเราๆควรปลูกฝังให้รุ่นต่อไปไม่ใช่การศึกษาเท่านั้น แต่เป็น EQ, สติ, และศีลธรรมค่ะ ที่จะชักนำให้ตัวเขามีชีวิตที่ดีได้ และสังคมก็จะพัฒนาไปในทางที่ดีด้วย
อย่าให้การศึกษาเป็นแค่เครื่องประดับสถานะทางสังคมกันเลยค่ะ ทุกวันนี้ปริญญากับแบรนด์เนนมแทบจะเหมือนกันมากเข้าทุกทีแล้วคะ ฉันถือ Chanelกับฉันจบปริญญาโท บางทีแทบแยกไม่ออกแล้วว่าเป็นสิ่งมีประโยชน์หรือเป็นสิ่งสนองค่านิยม
3. อีกสิ่งที่ควรพัฒนาคือ "คุณภาพการศึกษา" ประเทศไทยมีจำนวนคนศึกษาระดับปริญญามากขึ้นทุกปี แต่น่าใจหายที่คนส่วนใหญ่ในประเทศยังไม่มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลเอาเลย
เห็นอะไร ได้ยินอะไร ถูกจริตกับอะไรก็เชื่อทันที เป็นเหตุให้ถูกยุยงได้ง่าย อ่อนไหวง่าย ไม่หนักแน่นไปอย่างน่าเสียดาย
เราถูกสอนให่อ่าน ให้ท่อง ให้ตอบตามตำรสเขียน แต่ไม่เคยถูกสอนให้ "คิด" ซึ่งขัดกับวัตถุประสงค์ของการเรียน ซึ่งควรสอนให้คนเกิดความคิดใหม่ๆมากกว่าท่องอยู่กับสิ่งเก่าๆ
ยกตัวอย่างให้เห็นง่ายๆ เมือเกิดเรื่องใดๆขึ้นในสังคมที่ คนในสังคมส่วนใหญ่จะวิจารณ์ตามที่เห็น แต่จะไม่มองลึกลงไปว่าสาเหตุที่เกิดขึ้นคืออะไร เพื่อการป้องกันหรือแก้ไขที่ถูกต้อง ขออนุญาตยกตัวอย่างกรณีง่ายๆเช่น "การใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อเสพย์สื่อลามก และขายบริการ"
พ่อแม่ส่วนใหญ่จะโทษไปที่ "คอมพิวเตอร์และเว็ปไซท์" ทันที ว่าเป็นสาเหตุให้เด็กเสียคน มอมเมาเยาชน ไปจนถึงภาครัฐบาลจะพยายามอกกกฎหมายข่อบังคับต่างๆ บล็อกเว็ปไซท์บ้าง หรือควบคุมการใช่บริการ ingernet cafe ต่างๆนานา และคิดว่านั่นคือทางแก้ปัญหา
ในทางกลับกัน หากมีคนมิอเปียกน้ำจับปลั๊กไฟแล้วถูกไฟดูดตาย อย่างนี้ต้องออกกฎห้ามใช้ไฟฟ้าหรือไม่ หรือจะโืทษว่า "ผู้ใช้ ใช้ผิดวิธี"
นี่ล่ะค่ะ การวิเคราะห์ที่จำกัดของสังคมเรา
สิ่งเหล่านี้เป็นผลโดยตรงกับอนาคตของสังคมนะคะ คนเราไม่ใช่แค่เรียนสูง เรียนเก่ง แต่ควรจะคิดวิเคราะห์ให้เป็นด้วย เพราะหากคิดไม่เป็น ก็คงต้องเชื่อต้องพึ่งตำราไปจนวันตาย โดยใชไม่ก่อให้เกิดการพัฒนาใดๆเลย
ขออภัยที่เห็นต่างนะคะ
จากคุณ |
:
Love Actually is..
|
เขียนเมื่อ |
:
12 ก.ย. 55 18:17:48
|
|
|
|
 |