 |
โดยจากผลงานวิจัยการศึกษาโรงเรียนทางเลือก ตัวอย่างโรงเรียน เช่น เพลินพัฒนา, ดรุณสิกขาลัย, อมาตยกุล, รุ่งอรุณ, ทอสี, สัมมาสิกขา, สันติอโศก, อนุบาลบ้านรัก เป็นต้น มีการส่งแบบสอบถามในการถามสถานะด้านต่างๆ ของโรงเรียนทางเลือกไปยัง 38 โรงเรียนที่ตั้งไว้ ได้รับกลับมา 14 โรงเรียน (เป็นช่วงน้ำท่วม) และได้มีการจัดการประชุมระดมสมองระหว่างผู้ปกครองและครู ผู้บริหาร รวมทั้งการลงพื้นที่สัมภาษณ์เชิงลึกในโรงเรียน ได้แก่ เพลินพัฒนา, ดรุณสิกขาลัย และอมาตยกุล
เป็นการศึกษาที่การกระจายไปในโรงเรียนขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ จนถึงใหญ่พิเศษ นักเรียนที่ได้ทำการศึกษาวิจัย เป็นนักเรียนอนุบาล 1,521 คน ประถมศึกษา 3,369 คน มัธยมศึกษาตอนต้น 866 คน มัธยมศึกษาตอนปลาย 606 คน จากภาพที่เห็น เชื่อว่าจะสะท้อนภาพการศึกษาจริงของโรงเรียนทางเลือกเมืองไทยได้พอสมควร
ทั้งนี้ ภูมิหลังทางเศรษฐกิจของนักเรียนที่เข้าเรียนในโรงเรียนทางเลือกนี้ แบ่งเป็น 2 แบบ แบบแรก คือ ค่าเทอมถูกหรือไม่เก็บค่าเล่าเรียน ผู้ปกครองมีรายได้ไม่สูงนัก ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรหรือรับจ้างรายวัน แบบที่สอง คือ ค่าเทอมสูง ผู้ปกครองส่วนใหญ่รับราชการหรือมีธุรกิจส่วนตัว
แก้ไขเมื่อ 23 ก.ย. 55 11:01:09
จากคุณ |
:
minaey
|
เขียนเมื่อ |
:
23 ก.ย. 55 10:46:39
|
|
|
|
 |