 |
ขออนุญาตนำบทความเกี่ยวกับโรคนี้มาเผยแพร่ เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ และระมัดระวังในกรณีคลอดบุตรนะคะ
สาระน่ารู้ ll "น้ำคร่ำ" ฆ่าแม่ตายในระหว่างคลอดได้ยังไง ??? [ เผยแพร่เมื่อ : วันอาทิตย์ ที่ 8 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2552 ] น้ำคร่ำร้าย ฆ่าแม่ตายระหว่างคลอด
เหตุการณ์แล้วเหตุการณ์เล่าที่หลายครอบครัวต้องสูญเสียทั้งแม่และลูกไปจากการคลอดซึ่งมีมานับแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีสาเหตุได้หลายประการ ที่พบบ่อยที่สุดและวิทยาการก้าวหน้ายังไม่สามารถหยุดยั้งได้คือเพชฌฆาตร้ายต ัวนี้ การเกิดเหตุการณ์น่าเศร้าสลดนี้เกิดขึ้นในรอยต่อช่วงชีวิตอันงดงามที่ ทุกครอบครัวต่างเฝ้ารอคอยลูกที่น่ารัก และต้องกลับมาเสียทั้งแม่และลูกไปด้วยโดยไม่ได้ร่ำลา ยังความโศกเศร้าเสียใจอย่างยิ่งต่อสามี,แพทย์ผู้รักษาและต่อสังคมอย่างมาก หลายรายนำไปสู่การฟ้องต่อสื่อมวลชน ตำรวจ และศาล จากความรู้สึกผิดหวังร่วมกับความเสียใจที่สูญเสียคนรักไป..บทความนี้ขอนำท่า นมารู้จักเพชฌฆาตร้ายรายนี้ในเบื้องต้นดังนี้
1. น้ำคร่ำคืออะไร .. เมื่อแม่ตั้งครรภ์ มดลูกจะขยายตัว มีเด็กล่องลอยอยู่ในถุงบางๆภายในบรรจุน้ำที่ทำให้เด็กลอยไปมา ชื่อว่า น้ำคร่ำ เมื่อเด็กโตขึ้นจะมีการขับถ่ายของเสีย รวมถึงขี้ไคลจากผิวหนังหลุดออกมาและลอยละล่องปะปนอยู่ในน้ำคร่ำ... ดังนั้นน้ำคร่ำจึงเต็มไปด้วยของเสียมากมายรวมถึงเศษเซลล์เล็กๆที่ลอกออกมาจา กตัวเด็ก ที่มักไม่ใช่กลุ่มเลือดเดียวกับแม่ ถุงน้ำคร่ำนี้ ปิดเหนียวแน่นจนของเสียเหล่านี้จะไม่สัมผัสกับแม่เลย ..จึงไม่เกิดปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์ 2. น้ำคร่ำเป็นน้ำ ทำไมไปอุดตันจนแม่ตายได้..โรคน้ำคร่ำอุดตันในกระแสเลือด (Amniotic fluid embolism) ชื่อนี้มาจากสมัยก่อนเวลามีการคลอดแล้วแม่ตายโดยไม่ทราบสาเหตุ จะมีการนำไปผ่าศพชันสูตร พบว่าปอดแม่จะมีเศษเนื้อ(เซลล์)ของเด็กอยู่ในเส้นเลือด จึงคิดเอาว่าแม่ตายจากการที่มีเศษขี้ไคลทารกจากน้ำคร่ำเข้าไปอุดตันที่ปอดจน ปอดเสียหาย หายใจไม่ได้และเสียชีวิตในที่สุด ... แต่ภายหลังก็ได้มีการศึกษาเรื่องอาการและกลไกต่างๆ จึงได้รู้ว่าแท้จริงแล้ว มันไม่ใช่แค่การที่ปอดทำงานไม่ได้เท่านั้น ความตาย เกิดจากหลายกลไกร่วมกัน.. 3. แม่ตายจากอะไร..จากน้ำคร่ำซึ่งเป็นของเสียของเด็ก ปกติจะต้องคลอดพร้อมเด็กและออกสู่ภายนอก ไม่มีการไหลย้อนเข้าไปในเลือดของแม่ เพราะจะเกิดปฏิกิริยา เช่นเดียวกับอาการแพ้รุนแรงได้ เนื่องจากเลือด น้ำเหลือง และสารต่างๆเป็นคนละกรุ๊ปกัน ลองคิดง่ายๆ ว่าคล้ายกับการตายจากให้เลือดผิดกรุ๊ปนั่นเอง กระบวนการแพ้ชนิดรุนแรง หัวใจ ปอด ล้มเหลว เลือดไหลไม่หยุด และแม่ครึ่งหนึ่งตายใน 60 นาทีแรกหลังน้ำคร่ำรั่วเข้าไป 4. แม่ตายคลอดจากน้ำคร่ำอุดตันปอดมีมากเท่าไร...โรคนี้น่ากลัวมากเพราะมีอัตรา การเกิดถึงหนึ่งในแปดพันถึงสามหมื่น คนไทยคลอดปีละกว่าเจ็ดแสนคน (เฉลี่ยวันละสองพันคน) จะเกิดโรคนี้ ปีละ 26-100 คน หรือ ราว 2-8คนต่อเดือน ทำให้มีข่าว มารดาเสียชีวิตขณะคลอด อยู่เนืองๆ โดยเฉพาะหากอ่านแต่ข่าวโดยที่ไม่รู้จักโรคนี้ อาจจะสงสัยไปว่าทำไมการคลอดที่น่าจะปลอดภัยจึงกลับกลายเป็นเรื่องที่ถึงตายไ ด้ง่ายๆ และโทษสาเหตุต่างๆนาๆได้ 5. ความร้ายแรงขนาดไหน..ความรุนแรงสูงน่ากลัวมาก แม้ว่าจะอยู่ในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ที่มีผู้เชี่ยวชาญและเครื่องมือครบถ้วน เช่นโรงเรียนแพทย์ ก็ตายได้ ไม่ใช่เฉพาะแต่ รพ.บ้านนอก ทั้งที่มีหมอล้อมรอบเตียงคนไข้ และรักษาอย่างเต็มที่ท่ามกลางยาเวชภัณฑ์ อุปกรณ์ช่วยชีวิตครบถ้วนก็ตาม สถิติบ่งว่า แม่ 6 ใน10 รายจะเสียชีวิต 3 รายพิการทางสมอง หรือเป็นเจ้าหญิงนิทรา และมี 1 จาก10 รายเท่านั้น ที่รอดเป็นปกติ 6. ทำนายล่วงหน้าได้ก่อนไหมว่าจะเป็น..ยากมากๆ ..เวลาเป็นข่าวมักพูดถึงอาการหลายๆอย่างที่มีนำมาก่อนเป็นวันๆหรือเป็นชั่วโ มง เช่นเจ็บท้อง แน่น เหนื่อย เพลีย ... แต่หากถามคนเคยคลอด อาการเหล่าก็พบว่าเป็นกันแทบทุกคน ไม่มีอาการใดบ่งเฉพาะโรคนี้เลย.. และกลไกที่เกิดการรั่วของน้ำคร่ำ ใช้เวลาเป็นนาที เข้ากระแสร์เลือด ไปอุดปอด แพ้ช๊อก เลือดออกไม่หยุด ทันที เหมือนฉีดสารที่เราแพ้เข้าไปในเส้นเลือดฉับพลัน แม้รู้ล่วงหน้าว่ารักษาอย่างไรก็แทบจะใส่ยาแก้ไม่ทัน อาการที่รุนแรงทันที หัวใจหยุดเต้นและตายได้ หากรอดจากนาทีแรกๆ จะตายในชั่วโมงต่อไปด้วยเลือดไม่ยอมแข็งตัว ไหลจากแผลไม่หยุดตาย(คล้ายพิษงูบางชนิดของกัดตายนั่นเอง) และเกิดเลือดออกในสมอง หากรอดได้จะทำให้ส่วนหนึ่งเป็นอัมพาต หรือกลายเป็นเจ้าหญิงนิทราไป 7. สาเหตุจากอะไร- วงการแพทย์ปัจจุบันยังไม่ทราบแน่ชัด แต่ทราบว่าปัจจัยที่ทำให้เกิดคือ การที่มารดาอายุมาก, ตั้งครรภ์หลายท้อง, เบ่งแรง, เด็กตัวโตเกินไป,น้ำคร่ำมาก,เด็กผิดปกติ,มีการติดเชื้อในน้ำคร่ำ เป็นต้น 8. ป้องกันได้ไหม -โรคนี้มีมาตั้งแต่สมัยโบราณมาจวบจนทุกวันนี้ แต่กลับเป็นสิ่งที่วิทยาการการแพทย์ปัจจุบันยังเอาชนะไม่ได้ แม้การฝากท้องที่ดีและสม่ำเสมอ จะลดปัจจัยเสี่ยงได้ ในระดับหนึ่ง ทำให้โอกาสเกิดลดลง แต่การจะป้องกันให้ได้100%คงจะยังทำไม่ได้ ในยุคปัจจุบัน 9. การรักษาอย่างไร-มีมาตรฐานการรักษาตามแนวทางราชวิทยาลัยสูติ-นรีแพทย์ ชัดเจน สูติแพทย์ทุกท่านเรียนรู้อย่างดียิ่ง และในมาตรฐานเหล่านั้นก็ระบุว่าโรคฉับพลันนี้ แม้ให้การรักษาเต็มที่แล้วส่วนใหญ่จะเสียชีวิต มีโอกาสรอดปกติเพียง 1 ใน 10 ราย ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาลดีที่สุด ในมืออาจารย์สูติแพทย์ ที่ทำคลอดมาชั่วชีวิต ให้กำเนิดเด็กนับพันราย มีเครื่องมือพร้อมมูล ก็ไม่อาจช่วยชีวิตแม่ได้ทันเหมือนกัน.. และหลายโอกาสที่แพทย์ต้องเป็นผู้ตัดสินใจช่วยชีวิตลูกในครรภ์ยามที่แม่มีอาก ารรุนแรงจนไม่สามารถฟื้นคืนได้อีก ..ท่ามกลางความเจ็บปวดของวิชาชีพที่ต้องรักษาชีวิตน้อยๆเหล่านั้นแม้ว่าส่วน ใหญ่จะไม่สำเร็จ หรือหากสำเร็จก็กลายเป็นลูกกำพร้าแม่ตั้งแต่วันแรกเกิดซึ่งเป็นสภาวะที่ไม่ม ีแพทย์ผู้ใดอยากให้เป็นเช่นนั้น.. 10. การวินิจฉัยโรคนี้- ต้องพิสูจน์ด้วยผลการผ่าชันสูตรชิ้นเนื้อเป็นมาตรฐาน เพื่อวินิจฉัยแยกจากโรคอื่นๆที่อาจเกิดการเสียชีวิตในลักษณะเดียวกัน เช่นมดลูกแตกจากเหตุอื่นๆ หรือโรคอื่นๆที่คล้ายคลึงกัน หากวันนี้ท่านเติบโต มีคุณแม่ดูแล จนมาได้อ่านบทความนี้ แสดงว่าท่านรอดพ้นจากเพชฌฆาตน้ำคร่ำ ที่จะหลุดไปในกระแสร์เลือดของแม่ขณะคลอด ซึ่งเกิดขึ้นเดือนละ 2-8รายนี้ จากเด็กทารกไทยที่เกิดใหม่ปีละกว่าเจ็ดแสนคน โรคนี้เป็นโรคที่หมอสูติทุกคนกลัวเกรงความร้ายกาจ จากการเกิดฉับพลัน ป้องกันไม่ได้ ไม่รู้ล่วงหน้าและเกือบทุกรายตายหรือพิการ ที่สำคัญคือทุกการคลอด..แม่ของเราทุกคน ต้องเสี่ยงชีวิตกับเพชฌฆาตน้ำคร่ำ ในวันที่เราเกิดมาด้วยกันทั้งนั้น หากแต่ไม่มีผู้ใดรู้ว่า ใครจะเป็นผู้โชคร้าย..รายต่อไป นาวาอากาศเอก(พิเศษ)นายแพทย์ อิทธพร คณะเจริญ กรรมการแพทยสภา 5 กุมภาพันธ์ 2552
บทความจาก http://mor-maew.exteen.com/
จากคุณ |
:
sugarcane
|
เขียนเมื่อ |
:
24 ต.ค. 55 18:39:07
A:180.183.102.81 X: TicketID:379465
|
|
|
|
 |