ความคิดเห็นที่ 1
http://www.9leang.com/webboard2/question.asp?QID=860
http://www.doa.go.th/botany/foot.html
เท้ายายม่อม-ไม้เท้ายายม่อม http://www.royin.go.th/th/knowledge/detail.php?ID=734
ถ้าจะถามถึงแป้งที่ใช้ประกอบอาหารหรือทำขนมไทยชนิดต่าง ๆ กับคนรุ่นใหม่ ส่วนใหญ่มักจะนึกถึง แป้งข้าวเจ้า แป้งข้าวเหนียว แป้งมันสำปะหลัง แป้งข้าวโพด แป้งข้าวสาลี (แป้งหมี่) ที่จะนึกถึง แป้งถั่วเขียว คงมีบ้าง แต่ที่จะเลยไปถึง แป้งเท้ายายม่อม คงเกือบไม่มี เพราะน้อยคนที่จะรู้จัก ยิ่งถามว่าทำมาจากอะไร บางทีคงจะได้คำตอบที่น่าขัน คนไทยโบราณรู้จักและเห็นคุณค่าแป้งชนิดนี้ดี โดยนำมากวนกับน้ำตาลกรวด เป็นอาหารบำรุงคนป่วยและคนชรา แก้อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ทำให้เกิดกำลังชุ่มชื่นใจ ขนมบางชนิดใช้แป้งเท้ายายม่อมผสมเพื่อให้ตัวเนื้อขนมนุ่มนวล เพิ่มรสชาติขึ้น เช่น ผสมกับแป้งข้าวเจ้า ในการทำขนมชั้น ผสมกับแป้งถั่วเขียวเพื่อทำซ่าหริ่ม
แป้งเท้ายายม่อม ได้จากหัวของพืชที่มีชื่อว่า เท้ายายม่อม ชื่อพฤกษศาสตร์ว่า Tacca leontopetaloides Ktze. ในวงศ์ Taccaceae เป็นไม้ล้มลุก มีหัวลักษณะกลมแบนอยู่ใต้ดิน ในฤดูฝนจะงอกงามดี แต่จะโทรมลงในฤดูหนาวเช่นเดียวกับพืชจำพวกบุก ของวงศ์ Araceae ต้นสูงประมาณ ๘๐ เซนติเมตร ก้านใบ??งอกตรงขึ้นจากหัว มีจำนวน ๑-๓ ก้าน ใบเป็นใบเดี่ยวออกที่ปลายก้าน สีเขียวอ่อน มีจุดประสีขาวหรือม่วงดำ ขอบใบจักเว้าลึก ออกดอกคราวละ ๑-๒ ช่อ แต่ละช่อมี ๑๐-๒๐ ดอก ใต้กลุ่มดอกมีกลีบรองดอกใหญ่และกลีบรองดอกย่อยรองรับ ดอกสีเหลืองอ่อน เหลืองแกมเขียว หรือเขียวแกมม่วงดำ ที่ช่อดอกสายยาว สายนี้จะติดอยู่จนผลแก่ ผลสีเขียว สุกสีเหลือง
เท้ายายม่อมมีเขตการกระจายพันธุ์อยู่ตามป่าดิบทั่วไปในเขตร้อนชื้นในดินทุกสภาพ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดหรือการแยกหัว ต้นเท้ายายม่อมชาวจังหวัดระยองรู้จักกันดีในชื่อ ต้นนางนวล
ยังมีต้นไม้อีกชนิดหนึ่งเป็นไม้พุ่ม มีชื่อสามัญว่า ไม้เท้ายายม่อม และชื่อนี้ต่อมากร่อนเหลือเพียง เท้ายายม่อม ทำให้เกิดความสับสนและเข้าใจผิดว่าสามารถนำมาทำแป้งได้ พรรณไม้ชนิดนี้อยู่ในวงศ์ Verbenaceae มีชื่อพฤกษศาสตร์ว่า Clerodendrum petasites S.Moore สูง ๖๐-๑๕๐ เซนติเมตร ใบออกเดี่ยว ๆ วนรอบกิ่ง ดอกออกเป็นช่อใหญ่ที่ยอด กลีบดอกสีขาวเชื่อมติดกันคล้ายหลอดยาว ปลายบานเป็นรูปปากแตร ผลกลม สุกสีดำ ใบใช้สูบแทนกัญชา และรากใช้ทำยาแก้ไข้
พบทั่วไปในป่าโปร่ง หรือนำมาปลูกตามบ้าน ทั้งนี้เพราะใช้ทำยาได้ นอกจากชื่อไม้เท้ายายม่อมแล้ว ไม้ต้นนี้ยังมีชื่อว่า ไม้เท้าฤๅษี และ พญารากเดียว อีกด้วย.
ที่มา : จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๙, กันยายน ๒๕๓๒
จากคุณ :
เจซอง
- [
6 ก.ย. 49 21:45:12
]
|
|
|