Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com | Torakhong.org | GameRoom


    มารู้จักกรรมวิธีในการผลิตน้ำมันพืช อย่างไหนเรียกว่า virgin และ extra virgin

    กรรมวิธีผลิตน้ำมันพืช

    *** การผลิตน้ำมันโดยวิธีธรรมชาติ (Natural Vegetable Oil)

    1.กรรมวิธีพื้นบ้าน ไม่มีสิ่งใดเจือปนในน้ำมัน โดยนำเมล็ดพืชคั่วให้ร้อนแล้วนำไปคั้น การคั่วเมล็ดพืชให้ร้อนจะทำให้บีบคั้นนำมันออกจาเมล็ดได้ง่ายขึ้น เมื่อได้น้ำมันก็นำมากรอง แล้วปล่อยทิ้งไว้ให้น้ำมันตกตะกอนใส จึงนำไปบรรจุขวดออกจำหน่าย  วิธีนี้จะคั้นน้ำมันได้น้อยเพราะมีน้ำมันเหลือทิ้งในกากมากกว่าร้อยละ 10 จึงทำให้ต้นทุนการผลิตสูงและผลิตได้น้อยและช้า การคั้นด้วยวิธีนี้มีชื่อทางการค้าว่า  Extra Virgin Oil เพราะคั้นในอุณหภูมิที่ต่ำกว่า 50 C เรียกว่า cold pressed ซึ่งจะเป็นการถนอมวิตามินอี และ เอ็นไซม์ที่มีคุณค่าไว้

    2.เป็นการบีบน้ำมันออกจากเมล็ดพืชโดยใช้ความดันสูง วิธีทำในขั้นแรกคือ นำเมล็ดพืชที่ต้องการสกัดไปล้างให้สะอาด ปอกเปลือกออก แล้วนำไปบด ต่อจากนั้นนำไปผ่านความร้อนเพื่อให้ไขมันบางส่วนออกจากเซลล์ได้ง่ายขึ้น ต่อมาก็นำไปเข้าเครื่องบีบน้ำมัน ซึ่งมีความดันสูงเป็นตัวบีบบีบเซลล์ให้แตกจนมีน้ำมันไหลออกมา เมื่อน้ำมันหมดจึงแยกส่วนที่เป็นกากออก น้ำมันพืชที่ได้ผ่านกระบวนการผลิตทางธรรมชาตินี้มีชื่อทางการค้าว่า Virgin Oil

    *** น้ำมันพืชผ่านกรรมวิธี (Refined vegetable Oil) เป็นการสกัดน้ำมันออกจากพืชในระบบอุตสาหกรรม ที่ผลิตเป็นจำนวนมาก  การผลิตเริ่มจากนำเมล็ดพืชมาผ่านความร้อน บดละเอียดแล้วใช้ น้ำมันเฮกเซน (น้ำมันที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม) ละลายเอาน้ำมันพืชออกจากเมล็ดแล้วจึงคั้นเอากากออกไป ได้น้ำมันพืชปนกับน้ำมันเฮกเซน จากนั้นก็นำไประเหยแยกเอาน้ำมันเฮกเซนออกไป(เพื่อนำกลับไปใช้อีก)                                                                                                                                      
    น้ำมันพืชที่สกัดได้ก็นำไปใส่กรดฟอสฟอริก เพื่อกำจัดยางเหนียว แล้ใส่ด่างโซดาไฟ (NaOH) เพื่อกำจัดกรดไขมันอิสระบางตัว จากนั้นล้างด้วยน้ำ (น้ำที่ล้างสามารถนำไปเป็นผลิตผลพลอยได้สำหรับทำสบู่)                                          
    น้ำมันพืชที่ผ่านการล้างด้วยน้ำจะมีน้ำเจือปน จึงใช้เครื่องแยกเหวี่ยง เพื่อสกัดเอาน้ำออก แต่เนื่องจากยังมีความชื้นตกค้างในน้ำมัน จึงต้องต้มกลั่นเพื่อไล่ความชื้นที่ตกค้างด้วยอุณหภูมิ 220-230 C ภายใต้ภาวะสุญญากาศเพื่อป้องกันมิให้น้ำมันไหม้จนเกิดสีเหลืองคล้ำ  หลังจากต้มกลั่นแล้ว จะนำไปฟอกสีโดยต้มที่อุณหภูมิ 175-225 C โดยใช้ถ่านฟอกสีให้น้ำมันขาวใสแล้วจึงเติมก๊าซไนโตรเจน เพื่อป้องกันน้ำมันเหม็นหืน ทั้งยังเติมวิตามินอีสังเคราะห์ลงไปทดแทนวิตามินอีที่อยู่ในพืชที่สูญเสียไปในกระบวนการผลิต จากนั้นจึงนำมาบรรจุขวดจำหน่ายวางขายตามร้านค้าและซุปเปอร์มาร์เกตทั่วไป

    ข้อควรทราบ น้ำมันที่ผ่านความร้อนสูง หรือน้ำมันที่ใช้แล้วไม่ควรนำมาใช้อีก เพราะความร้อนที่ระดับอุณหภูมิ 220 C ได้เปลี่ยนโครงสร้างของกรดไขมันจาก ซิส (Cis fatty acid ) เป็น ทรานส์ (Trans fatty acid) ประมาณร้อยละ 3 - 6 ซึ่งไขมันทรานส์เป็นตัวร้าย นอกจากนี้น้ำมันที่ใช้ซ้ำ ๆ ยังก่อให้เกิดสารคาซิโนเจนซึ่งเป็นอนุมูลอิสระ

    เครดิต : Natura Cold Pressed

    จากคุณ : ต้นแมกโนเลีย - [ 29 ส.ค. 50 10:04:29 ]

 
 


ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com | Torakhong.org | GameRoom